ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งในวาระเดียวกันประเทศไทยยังรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพครั้งสำคัญในการจัดประชุม ‘APEC CEO Summit 2022’ ระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 ภายใต้แนวคิด ‘Embrace Engage Enable’ เวทีสำคัญระดับโลกในการส่งเสริมความมั่งคั่งและการเติบโตของประชาชนและสังคมในเอเชียแปซิฟิกสู่การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางด้านการค้า การลงทุน ตลอดจนการแบ่งปันแง่มุมทางนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างการเติบโตร่วมกัน โดยบทความนี้จะพาไปเจาะลึกความสำคัญของการประชุมครั้งนี้ด้วยกัน
เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) คือเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1989 โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค
สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก หรือ APEC Business Advisory Council : ABAC หน่วยงานภาคเอกชนของเอเปกที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำ แก่ผู้นำและเจ้าหน้าที่เอเปกด้านเศรษฐกิจ และในส่วนของไทยอยู่ภายใต้ความร่วมมือของ ‘คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน’ (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย APEC CEO Summit เป็นการประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชนของเอเปค ระดับภูมิภาคและระดับโลกจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ในการพบปะ อภิปราย แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และมีส่วนร่วมกับผู้นำโลก เพื่อร่วมกันพิจารณาทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องและประเด็นที่เร่งด่วนในการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเป้าหมายของการประชุม คือการแสวงหาแนวทางการแก้ไขในประเด็นสำคัญระดับโลก ตลอดจนการจัดการกับความท้าทายที่ธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั้งโลกกำลังเผชิญทั้งในยุคปัจจุบันและอนาคต
ทั้งนี้ในรายการ Secret Sauce ได้มีการสัมภาษณ์ คุณเกษมสิทธิ์ ปฐมศักดิ์ และคุณทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการประชุมครั้งนี้ ถึงประเด็นสำคัญในการประชุมและผลลัพธ์ที่ต้องการ โดย Techsauce ได้สรุปเนื้อหามาดังนี้
สภาธุรกิจเอเปค หรือ ABAC คือผู้รวบรวมเสียงจากภาคธุรกิจเพื่อเข้าสู่โต๊ะการประชุม ให้มีการพูดคุยกัน โดย ABAC ต้องการที่จะสื่อสารถึง 5 ประเด็นด้วยกันได้แก่
การบูรณาการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Regional Economic integration) คือการทำอย่างไรให้การค้าการลงทุนมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น
ซึ่งแต่ละปีจะมีวาระที่แตกต่างกันไปโดยปีนี้จะเป็นวาระเรื่องของการการฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 ว่าจะทำอย่างไรให้ภาคธุรกิจเดินต่อไปได้
คือต้องการเข้าถึง access ตลาดในการทำธุรกิจ อำนวยความสะดวกสบายในการทำธุรกิจข้ามเขตเศรษฐกิจ การที่มีการค้าการลงทุนจะสร้างความเจริญให้กับทุกฝ่าย ทั้งในเรื่อง Globalization และ Multilateral System (สนธิสัญญาที่มีคู่ค้าหลายฝ่าย) และ ประเด็นการบูรณาการทางเศรษฐกิจที่ ABAC ต้องการให้ WTO มีการปรับกฎระเบียบ ที่เอื้ออำนวยต่อภาคธุรกิจมากขึ้น
หากในอนาคตเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ ABAC หวังว่า หน่วยงานต่างๆจะทำให้การค้าดำเนินไปได้อย่างปกติ โดย ABAC มีหน้าที่นำเสนอ ความต้องการของเอกชนให้กับภาครัฐเพราะอาจมีลำดับความสำคัญที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของภาครัฐและภาคเอกชนเข้าด้วยกัน โดยสิ่งที่น่าสนในในงาน APEC CEO Summit 2022 คือการมี Distinguished Speakers ผู้นำภาคธุรกิจจากหลายภาคส่วนมาพูดคุยกัน ซึ่่งไฮท์ไลท์บุคคลสำคัญได้แก่
และนอกจากนี้งาน APEC CEO Summit 2022 ยังมีประเด็นหลักของการพูดคุยที่จะเกิดขึ้นกันถึง 5 เรื่อง
แนวโน้มการประชุมในแต่ละประเด็นจะเป็นเรื่องของโลกที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของคนไทยอีกต่อไป และจะมีการหาข้อตกลงนโยบายการเงิน-การคลังของกลุ่มประเทศ APEC อีกทั้งในเรื่องของ Sustainability ในเรื่องของ BCG ธุรกิจไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจการดำเนินงานภายใต้กรอบของความยั่งยืน ที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องกรอบความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจเช่นกัน ซึ่งหากปล่อยให้แต่ละประเทศจัดการกันเองจะเกิดเป็นข้อตกลงทางการค้าที่เป็นเรื่องได้เปรียบ-เสียเปรียบ ทำให้การพูดคุยของผู้นำเป็นการกระตุ้นให้แต่ละฝ่ายหาวิธีเตรียมความพร้อมรับมือ
Embrace เปิดให้เห้นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
Engage ทำให้แต่ละภาคส่วนร่วมมือกันมากขึ้น
Enable ใช้เครื่องมือทางธุรกิจเพื่อเปิดโอกาสให้มากขึ้น
นับเป็นความสำคัญที่ผู้นำของภาคธุรกิจต้องเตรียมตัว
เพราะเรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบ VUCA ที่เปลี่ยนเร็ว เปลี่ยนทันที เปลี่ยนแรง สิ่งที่ต้องทำคือจะทำอย่างไรให้ความได้เปรียบของประเทศกลายเป็นจุดเด่นในการแข่งขัน และการท่องเที่ยวก็เป็นอีกหนึ่งความโดดเด่นของประเทศไทย ซึ่งการท่องเที่ยวสามารถเป็นโมเดลการฟื้นฟูให้กับกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกได้ อีกทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องเอนเกจร่วมมือกันมากขึ้นนั่นคือการปรับตัว ที่จะทำให้ประชาชนทุกคนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ซึ่งกระบวนการเชื่อมต่อทุกภาคส่วนจะเป็นสิ่งสำคัญ
อ้างอิง
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด