ปัญหา App Retention แอปพลิเคชันไม่ถูกใช้งานเกิดจากอะไรได้บ้าง? | Techsauce

ปัญหา App Retention แอปพลิเคชันไม่ถูกใช้งานเกิดจากอะไรได้บ้าง?

600px-8-UX-Pitfalls-To-Avoid-In-Mobile-App-Design

เคยรู้สึกบ้างไหมว่าแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เราดาวน์โหลดกันมามากมาย จนบางทีก็เต็มพื้นที่เครื่องไปหมด นานวันเข้าเริ่มรู้สึกว่าไม่ต้องการแอปพวกนี้แล้ว แถมยังเปลืองเนื้อที่ เปลืองความจุอีกต่างหาก อะไรคือทางออกที่จะคืนชีพแอปพลิเคชันที่ถูกลืมเหล่านั้นให้เป็นที่รู้จักและถูกใช้อย่างสม่ำเสมอ? เลยเป็นที่มาของงานวิจัยในบทความนี้

จากการวิจัยของ Nielsen research เห็นได้ว่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนในสหรัฐฯ เฉลี่ยประมาณ 30 ชั่วโมงต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงเลยทีเดียว อีกทั้งจะเห็นได้ว่าจากผลเฉลี่ยของผู้ใช้กลุ่มนี้ พวกเขาเล่นเพียง 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 41 แอปพลิเคชันที่ถูกดาวน์โหลดและเก็บไว้ในเครื่อง และเป็นไปได้สูงที่แอปพลิเคชันบางตัวอาจจะถูกลบออกไปเพราะไม่ค่อยได้ใช้

nielsen_state-of-the-appnation-2012

เป้าหมายหลักของเราคือ ทำอย่างไรให้แอปพลิเคชันของเราขึ้นไปเป็น 1 ใน 4 แอปพลิเคชันที่คนใช้บ่อยที่สุด เพราะยิ่งคนใช้แอปพลิเคชันของเราเยอะขึ้น นั่นก็หมายความว่าแอปพลิเคชันของเรายังปลอดภัย ไม่ถูกลบออกจากเครื่อง อย่างแน่นอนและ

ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลให้คนตัดสินใจลบแอปพลิเคชันออกจากสมาร์ทโฟน ซึ่งจากการสำรวจของ Entrepreneur infographic พบว่า ร้อยละ 48 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน ลบแอปพลิเคชัน เพราะความล่าช้าในการใช้งานแอปพลิเคชันนั้นๆ และในเวลาเดียวกัน อีกร้อยละ 32 ที่กำลังมองหาแอปพลิเคชันอื่นที่สามารถตอบสนองการใช้งานเหมือนกัน แต่มีประสิทธิภาพดีกว่าและเร็วกว่า

1434144787-info

นักพัฒนาหลายท่านได้กล่าวไว้ว่า เป็นไปได้ยากมากที่จะทำให้แอปพลิเคชันใช้งานได้ดีและเร็วตลอดเวลา เพราะยังมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบให้แอปพลิเคชันทำงานได้ช้าลง เช่น คลื่นสัญญาณติดขัด หรือแบตเตอรี่ต่ำ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแอปพลิเคชันลดลงได้เช่นกัน และทางฝ่ายพัฒนาไม่สามารถแก้ไขได้ด้วย แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงทำให้ผู้ใช้ยังคงเก็บและใช้งานแอปพลิเคชันนั้นอยู่ ก็คือประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับนั่นเอง

คำถามที่ตามมาก็คือ จะหลีกเลี่ยงอย่างไรไม่ให้แอปพลิเคชันถูกลบออกจากสมาร์ทโฟน? สิ่งที่สามารถตอบได้ก็คือทำให้ผู้ใช้งานเห็นถึงประโยชน์ที่พวกเค้าได้รับจากแอปพลิเคชันของเรามากที่สุด สร้างความโดดเด่นและความแตกต่างที่จะแสดงให้เห็นถึงเหตุผลว่า ทำไมพวกเขาต้องการแอปพลิเคชันนี้

Ben Leventhal CEO ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันของ “Resy” แอปพลิเคชันที่ช่วยเรื่องของการจองโต๊ะในร้านอาหารชื่อดัง ได้ให้สัมภาษณ์และตอบคำถามว่า ทำไมเขาสามารถรักษาแอปพลิเคชันบางตัวให้ใช้เป็นประจำได้ ซึ่งเขาบอกว่า “แอปพลิเคชันที่เขาใช้คือส่ิงที่ทำให้เขารู้สึกว่ามีเวทมนต์ เพราะไม่ว่าจะเสกให้มีรถมารับ หรือสามารถจองโต๊ะอาหารในร้านที่มีคิวยาวเหยียดได้ภายในครึ่งนาที หรือไม่ว่าจะติดตามข่าวจากอีกฟากของโลกที่กำลังเกิดขึ้น ณ เวลานั้น ก็ไม่ใช่ปัญหา ดังนั้นแอปพลิเคชันคือส่ิงที่ทั้งมีประโยชน์อย่างมากและเชื่อมต่อโลกเข้าไว้ในที่เดียว”

อีกตัวอย่างที่จะยกขึ้นมาก็คือ Born2invest เป็นแอปพลิเคชันที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารธุรกิจและการเงิน ที่มีเนื้อหาสั้นและได้ใจความ Dom Einhorn ผู้ก่อตั้งและ CEO รู้ว่า กลุ่มนักอ่านที่สนใจในเรื่องธุรกิจและการเงินคือกลุ่มเป้าหมายหลักของเขา และเขาก็ทำแอปนี้ให้ตรงตามความต้องการที่แน่นอนของผู้อ่าน และ Dom ก็ได้กล่าวไว้ว่า “คู่แข่งของเราทุกๆ คนดูเหมือนว่าจะพยายามเกาะติดอยู่กับแค่ข่าวสารที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ในขณะเดียวกัน เราสร้างเนื้อหาที่เจาะจง กระจ่าง และง่ายต่อการทำความเข้าใจ มากไปกว่านั้นเรายังสามารถแปลเนื้อหาได้มากกว่า 50 ภาษาทั่วโลก”

จากบทความนี้แล้ว เราสามารถบอกได้คร่าวๆ ว่า Startup มือใหม่หรือนักพัฒนาที่กำลังพยายามพัฒนาแอปเพื่อให้มียอดดาวน์โหลดเยอะขึ้น เป็นเรื่องดีที่ควรจะตั้งเป้าเอาไว้สูง ทว่าสิ่งนี้ยังไม่ใช่เป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายสำหรับพวกคุณ แต่มันคือการที่จะทำยังไงให้แอปพลิเคชันของเราเป็นที่ต้องการและถูกใช้อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

ที่มา: Tech In Asia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สะเทือนวงการดนตรี Nvidia เปิดตัว Fugatto AI สร้างเสียงครบวงจรแค่เขียน Prompt

Nvidia ลงสนามเครื่องมือสร้างเสียงด้วย AI เปิดตัว Fugatto โมเดล AI ที่สามารถสร้างสรรค์และปรับแต่งเสียงได้อย่างเหนือชั้น เพียงแค่เขียน prompt พร้อมปฏิวัติอุตสาหกรรมหลากหลาย ตั้งแต่วง...

Responsive image

คืนชีพการบินไทย แผนฟื้นฟูการบินไทยสำเร็จ เตรียมเข้าตลาดหุ้นไตรมาส 2 ปี 68

การบินไทยประกาศความสำเร็จในการปรับโครงสร้างทุน พร้อมแผนเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิมและพนักงาน มุ่งคืนสู่ตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 2 ปี 2568...

Responsive image

SCB EIC เผยผลกระทบจาก Trump 2.0 ฉุดเศรษฐกิจไทยปี 2568 เผชิญความท้าทายด้านการค้า การผลิต และการลงทุน

ในปี 2568 โลกจะเริ่มเผชิญกับความท้าทายจากผลของนโยบายเศรษฐกิจภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เรียกว่า “Trump 2.0” ซึ่งถือเป็นการกลับมาใหม่ในเวอร์ชันที่มีอำนาจบริหารที่แข...