AstraZeneca จับมือ Siam Bioscience ดันไทยสู่ฐานการผลิตวัคซีนโควิด-19 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Techsauce

AstraZeneca จับมือ Siam Bioscience ดันไทยสู่ฐานการผลิตวัคซีนโควิด-19 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คุณเจมส์ ทีก  
ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด

เป้าหมายของแอสตร้าเซนเนก้าในฐานะผู้ผลิตวัคซีน

  • การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นับเป็นวิกฤติด้านสุขภาพครั้งใหญ่ที่สุด แอสตร้าเซนเนก้ายึดมั่นต่อภารกิจสำคัญในการผลิตและส่งมอบวัคซีนเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพให้ได้เร็วที่สุดโดยความร่วมมือกับรัฐบาลไทยเพื่อบรรลุเป้าหมาย
  • แอสตร้าเซนเนก้าได้รวบรวมพันธมิตรจากทั่วโลกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ รัฐบาล และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อประสานงาน, พัฒนาและผลิตวัคซีน
    โควิด-19 เพื่อส่งมอบให้ประเทศต่างๆทั่วโลก
  • แอสตร้าเซนเนก้าและพันธมิตรผู้ผลิตได้ทำการส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว กว่า 2 พันล้านโดสให้แก่ประเทศต่างๆ มากกว่า 170 ประเทศทั่วโลก และ ประมาณ 2 ใน 3 ของจำนวนวัคซีนจำนวนดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ และมากกว่า 175 ล้านโดสถูกส่งให้กว่า 130 ประเทศ ผ่านโครงการ COVAX

ในปัจจุบัน มีการใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าช่วยป้องกันผู้ป่วยโควิดไปประมาณ 50ล้านราย ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลประมาณ 5 ล้านราย และช่วยชีวิตคนมากกว่าหนึ่งล้านชีวิต จากการศึกษาค้นคว้าในระยะทดลองในคลินิก และข้อมูลการใช้งานจริงแสดงให้เห็นได้ว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19ของแอสตร้าเซนเนก้าปลอดภัย 

  • ความร่วมมือกับรัฐบาลไทย สยามซีเมนต์กรุ๊ปและสยามไบโอไซเอนซ์ นำมาซึ่งความมั่นใจต่อการเดินหน้าขยายกำลังการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อส่งมอบให้แก่ประเทศต่างๆ ในอาเซียน 
  • สิ่งสำคัญคือการที่ทุกคนในไทยได้รับการฉีดวัคซีน เราผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพในการรับมือกับไวรัส นั่นคือภารกิจที่สำคัญสำหรับแอสตร้าเซนเนก้า
  • เรามุ่งมั่นที่จะเสริมความแข็งแกร่งของ Supply Chain ในระดับภูมิภาค รวมถึงใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านอุตสาหกรรมที่เรามี ประกอบกันความร่วมมือกับพันธมิตรการผลิตของเรามากกว่า 25 ราย ที่ตั้งอยู่ใน 15 ประเทศ
  • ทุกๆ ล็อตการผลิตวัคซีนยังผ่านกระบวนการทดสอบคุณภาพอย่างเข้มข้น ซึ่งใช้มาตรฐานเดียวกันทุกโรงงานการผลิตทั่วโลก โดยต้องทดสอบถึง 60 รายการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัคซีนทุกโดสจะได้รับมาตรฐานสูงสุด และเท่าเทียมกัน 

การส่งมอบวัคซีนให้ประเทศไทย

  • ขณะนี้เราได้ส่งมอบวัคซีนให้กับประเทศไทยไปแล้วมากกว่า 35 ล้านโดส และสัปดาห์หน้าเราจะประกาศจำนวนที่ส่งมอบในเดือนพฤศจิกายน

เป้าหมายในปี 2022

  • ความสำคัญลำดับแรกสุดของเราก็คือ เราสามารถส่งมอบวัคซีน 61 ล้านโดสให้กับประเทศไทยได้ตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ เราจะไม่หยุดจนกว่าทุกคนในไทยจะได้รับวัคซีน
  • เรามุ่งมั่นที่จะทำหน้าที่เพื่อคนไทยอย่างต่อเนื่อง แอสตร้าเซนเนก้า และ รัฐบาลไทย ร่วมลงนามในสัญญาการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มอีก 60 ล้านโดสสำหรับการทยอยส่งมอบภายใน
    ไตรมาสที่สาม ของปี 2565 เพื่อสนับสนุนแผนการฉีดวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข
  • สำหรับการผลิตวัคซีนรุ่น 2 รหัส AZD2816 โดยใช้เทคโนโลยีไวรัล เวกเตอร์ (Viral Vector) เช่นเดิม แต่มีการพัฒนาเพื่อให้รับมือกับสายพันธุ์ไวรัสที่หลากหลายมากขึ้น โดยจะเห็นผลของการพัฒนานี้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 อย่างไรก็ตาม วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (AZD1222) ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ก็มีประสิทธิผลสูงมากเช่นกัน ในการศึกษาทางคลินิกสามารถป้องกันการป่วยรุนแรงได้ 80-90%
  • ในปีหน้าแอสตร้าเซนเนก้ายังคงมีเป้าหมายที่จะสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้คนในการเข้าถึงยา เข้าถึงวัคซีน การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคร้ายแรงโดยเฉพาะกลุ่ม NCDs และรวมถึงรักษากระบวนการทำงานที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน นอกจากนี้แอสตร้าเซนเนก้ายังมีเป้าที่จะขยายความร่วมมือกับองค์กรสาธารณสุขมากขึ้นในอนาคต
  • เรามีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามปณิธานของบริษัทโดยการนำความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ทำประโยชน์เพื่อสังคม เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้สามารถต่อสู้กับวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แอสตร้าเซนเนก้าขอยืนยันว่าเราทำทุกวิถีทาง เพื่อที่จะเร่งกระบวนการผลิตให้สามารถนำวัคซีนมาใช้รับมือกับ
    โรคระบาดได้โดยเร็วที่สุด โดยที่ยังคงรักษาคุณภาพและมาตรฐานอย่างเข้มงวด
  • สำหรับแนวคิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยขยายฐานการผลิตไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็วโดยที่เรายังคงรักษามาตรฐานการผลิตไว้ได้ 

ชีนา เบน  
รองประธานฝ่าย Supply Chain วัคซีน รองประธานฝ่ายเวชภัณฑ์ยาในกลุ่มโรคมะเร็งวิทยา และผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง แอสตร้าเซนเนก้า

  • ทุกๆ ครั้งก่อนการส่งมอบวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้าได้ทำการทดสอบคุณภาพโดยใช้มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก สำหรับการผลิตวัคซีนในแต่ละรอบจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน โดยเวลาประมาณ 60 วันจะถูกใช้ไปกับการทดสอบ ซึ่งกระบวนการนี้เกิดขึ้นในทุกโรงงานทั้งในสหรัฐ อังกฤษ รวมถึงประเทศไทยเพื่อให้มั่นใจว่าวัคซีนทุกรอบการผลิตมีมาตรฐานเดียวกัน
  • วัคซีนในแต่ละรุ่นการผลิตที่ผลิตจากทั่วโลกจะต้องผ่านการตรวจสอบด้านมาตรฐานคุณภาพที่เข้มงวดตลอดกระบวนการผลิต รวมถึงข้อมูลและระดับปริมาณการผลิตจะถูกติดตามอย่างต่อเนื่องโดยแอสตร้าเซนเนก้า ทั้งนี้พันธมิตรผู้ผลิตวัคซีนทุกรายของแอสตร้าเซนเนก้ารวมถึงสยามไบโอไซเอนซ์ได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพตามขั้นตอนดังกล่าวด้วยเช่นกัน
  • แอสตร้าเซนเนก้าร่วมกับสยามไบโอไซเอนซ์ได้เริ่มดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมาและสามารถดำเนินการได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ 

คุณนวลพรรณ ล่ำซำ  
ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรกิตติมศักดิ์ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด

  • บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นมากว่า 12 ปี ตามพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อเป็นโรงงานผลิตยาชีววัตถุ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพชั้นสูงในการผลิต เช่น ยาเพิ่มเม็ดเลือดแดง (EPO) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไตวายเรื้อรัง และยาเพิ่มเม็ดเลือดขาว (GCSF) ให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด โดยยาทั้ง 2 ตัว สามารถบำบัดรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยชาวไทยลดการพึ่งพายาจากต่างชาติ สร้างความมั่นคงทางยาแก่สาธารณสุขของไทย
  • ในกระบวนการผลิตของโรงงานสยามไบโอไซเอนซ์ นับเป็นพระวิสัยทัศน์อันยาวไกลของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงตั้งโรงงานมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี แต่ตอบโจทย์ของประเทศในวันนี้ ทั้งเรื่องการแพทย์ และโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ (BCG Model) เป็นการยกระดับสู่เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ที่โรงงาน และมีการเสริมหลักการ Circular Economy ที่นำของเสียจากโรงงานมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร โดยได้นำไปใช้ในโครงการหลายโครงการ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประเทศไทย และGreen Economy ด้วยการสร้างโรงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเทคโนโลยีชีวภาพชั้นสูงที่ใช้ในการผลิตยา ยังมีความใกล้เคียงกับเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตวัคซีนแบบไวรัล เวกเตอร์ (Viral Vector) ของแอสตร้าเซนเนก้า จึงทำให้มีศักยภาพในการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีน และได้รับเลือกเป็นโรงงานผู้ผลิตในเวลาต่อมา
  • กว่าที่สยามไบโอไซเอนซ์จะได้รับเลือกเป็นโรงงานผู้ผลิตวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า เราได้ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกหลายขั้นตอน และทางแอสตร้าเซนเนก้าก็เล็งเห็นว่า โรงงานของเรามีความพร้อมมากที่สุด เพราะได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตระดับสากล มีศักยภาพที่จะผลิตวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าได้ทุกขั้นตอนจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ และเป็นโรงงานที่มีขนาดใหญ่ สามารถรองรับการขยายกำลังการผลิตได้ในอนาคต แอสตร้าเซนเนก้าจึงเลือกสยามไบโอไซเอนซ์เป็นหนึ่งในฐานการผลิต เพื่อร่วมต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19
  • นับเป็นความภาคภูมิใจที่เราได้ร่วมงานกับบริษัทระดับโลกอย่างแอสตร้าเซนเนก้า ทั้งแอสตร้า
    เซนเนก้าและสยามไบโอไซเอนซ์ ได้ร่วมงานกันในลักษณะของพันธมิตร เราจับมือเพื่อเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการมุ่งมั่นทำงาน “เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า” โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา สยามไบโอ
    ไซเอนซ์ได้ปรับแผนการผลิตยาชีววัตถุเดิม เพื่อทุ่มสรรพกำลังในการผลิตวัคซีนที่ได้ตรงตามมาตรฐานของแอสตร้าเซเนก้าในเวลารวดเร็วที่สุด เพื่อส่งมอบวัคซีนคุณภาพให้กับคนไทย และประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อที่ทุกคนจะได้กลับมาใช้ชีวิตปกติในเวลาเร็วที่สุด นับเป็นความร่วมมือกันแบบ “From Bench to Bedside” หรือตาม concept งานวันนี้ “FROM LAB JAB” อย่างแท้จริง

ดร.ทรงพล ดีจงกิจ 
กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด

  • สยามไบโอไซเอนซ์ สั่งสมประสบการณ์ในการผลิตชีววัตถุมาเเล้วกว่า 10 ปีผ่านมา โดยเทคโนโลยีที่เราใช้เป็นเทคโนโลยีเดียวกับกระบวนการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ดังนั้นเมื่อมีโอกาส
    ได้ทำงานร่วมกับทางแอสตร้าเซนเนก้า เราจึงได้มีการเตรียมความพร้อมด้านมาตรฐานและคุณภาพ 4 ข้อ ตามหลัก 4M ดังนี้
    • โรงงาน (Manufacturing Facility) นับเป็นจังหวะดีที่เรามีการสร้างโรงงานสยามไบโอไซเอนซ์โรงที่สามแล้วเสร็จในช่วงก่อนการเกิดโควิด-19 โดยรวมตลอดที่ 12 ปีแรกของบริษัทได้ใช้งบประมาณไปกว่า 5 พันล้านบาทในการพัฒนา สร้างโรงงาน และเสริมศักยภาพต่างๆ ด้านเทคโนโลยีชีววัตถุ ซึ่งโรงงานที่สามนี้ มีเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ตรงกับที่แอสตร้าเซนเนก้าต้องการ
    • บุคลากร (Manpower) เมื่อได้รับเลือกจากทางแอสตร้าเซนเนก้าให้เป็นฐานการผลิตวัคซีน เราได้เตรียมพร้อมด้านบุคลากรหลายด้านทั้งการคัดเลือกบุคลากรใหม่ที่เพียบพร้อมด้วยความรู้และคุณภาพ รวมถึงต่อยอดความรู้ให้แก่บุคลากรเดิมเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการผลิตวัคซีน
    • วัตถุดิบ (Materials) การเตรียมพร้อมด้านวัตถุดิบต่างๆ โดยการพัฒนาระบบซัพพลายเชนเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ
    • การถ่ายทอดกระบวนการผลิต (Method transfer) สยามไบโอไซเอนซ์มีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความร่วมมือกับแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งหลังการส่งมอบองค์ความรู้ในเทคโนโลยีการผลิตและมีการทดสอบกระบวนการภายในตอนต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 หลังจากนั้นประมาณ 6 เดือนในช่วงเดือนมิถุนายนเราได้ทำการส่งมอบวัคซีนล็อตแรกให้แก่คนไทยอย่างสมบูรณ์ตามสัญญาที่ให้ไว้
  • ในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของวัคซีนนั้นเป็นไปอย่างเข้มงวด ทั้งเรื่องของเอกสารจำนวนมากกว่าหมื่นหน้าที่ต้องตรวจสอบโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคุณภาพที่ได้รับการรับรองจากยุโรป หรือที่เรียกว่า EU Qualified Person เป็นผู้ตรวจสอบเอกสารทั้งหมด และในขั้นตอนก่อนการส่งมอบทางโรงงานได้ทำการตรวจสอบวัคซีนทุกล็อตอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้มั่นใจว่าวัคซีนทุกหลอดที่เดินทางไปถึงผู้บริโภคมีคุณภาพตามมาตรฐานของแอสตร้าเซนเนก้าอย่างแน่นอน
  • มีไม่กี่ประเทศบนโลกที่สามารถผลิตวัคซีนได้ในระดับนี้และสยามไบโอไซเอนซ์ในฐานะตัวแทนของโรงงานไทยเรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดความรุนแรงของการระบาดของโรค
    โควิด-19 ทั้งในประเทศไทย และในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ความร่วมมือระหว่างแอสตร้าเซนเนก้า และสยามไบโอไซเอนซ์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนเริ่มต้นเมื่อเดือนตุลาคม 2563 นับถึงปัจจุบันถือได้ว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่สำหรับวงการยาชีววัตถุและวงการวัคซีนของประเทศไทย
  • ประสบการณ์ที่เราได้รับการจากผลิตวัคซีนนี้เป็นสิ่งที่ประมวลค่าไม่ได้ อีกทั้งวัคซีนที่ส่งออกไปนั้นเป็นสิ่งที่ทำโดยคนไทย 100% ในโรงงานของเรากว่า 400-500 คน โดยเทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากแอสตร้าเซนเนก้า ถือว่าเป็น Change Agent ที่จะช่วยต่อยอดองค์ความรู้ ให้กับวงการวัคซีนของไทยต่อไปในอนาคต
  • สยามไบโอไซเอนซ์มีความภาคภูมิใจที่ได้รับเลือกจากแอสตร้าเซนเนก้าให้เป็นฐานการผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของสยามไบโอไซเอนซ์ทุกคน เร่งทำงานแข่งกับเวลาแต่รักษาไว้ซึ่งคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อผลิตวัคซีนให้ได้ตรงตามมาตรฐานของแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อการส่งมอบตามกำหนด และเพื่อให้คนไทยและผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถต่อสู้กับวิกฤติโควิด-19 ได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

แผนงานในอนาคตของสยามไบโอไซเอนซ์

คุณนวลพรรณ ล่ำซำ
ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรกิตติมศักดิ์ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด

  • เรามองไปที่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ยังมีฐานการผลิตไม่มาก เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงของประเทศในแง่ของสุขภาพ และเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิมตามสายการผลิตที่มีรวมถึงการมุ่งเน้นผลิตยาในกลุ่มโรคเลือดและโรคมะเร็ง รวมถึงชุดตรวจโรค โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่ประชาชนไทยเป็นกันมาก เรามองว่าการต่อยอดการผลิตยาด้านนี้ จะเป็นประโยชน์กับสาธารณสุขและคนไทยได้ตามจุดประสงค์ของการก่อตั้งบริษัท
  • สังคมไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาระยะหนึ่งแล้ว ส่งผลในอนาคตอันใกล้นี้อาจเกิดวิกฤติการขาดแคลนกลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศ ดังนั้นการส่งเสริมการดูแลสุขภาพจึงเป็นภารกิจสำคัญของสยามไบโอไซเอนซ์ เพื่อช่วยให้สุขภาพของคนในชาติสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งเป็นการเพิ่มทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพให้กับประเทศไทย เพราะเราเชื่อว่าไม่มีอะไรสำคัญไปมากกว่า “คน”


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...