รวมมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ปี 2564 ของทุกธนาคารในไทย ลงทะเบียนอย่างไร ใครร่วมได้บ้าง? | Techsauce

รวมมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ปี 2564 ของทุกธนาคารในไทย ลงทะเบียนอย่างไร ใครร่วมได้บ้าง?

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ ออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นระยะเวลา 2 เดือนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการโดยตรงและทางอ้อม เนื่องจากมาตรการของทางการ ทาง Techsauce ได้รวบรวมข้อมูลจากธนาคาร 17 แห่ง ที่ร่วมมาตรการพักหนี้ รวมถึงการลงทะเบียน และเงื่อนไขต่าง ๆ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564)  

ธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพ ออกมาตรการด่วนตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย พักชำระหนี้ 2 เดือน สำหรับลูกค้าในพื้นที่ควบคุม สำหรับลูกค้าที่ยังสามารถเปิดดำเนินกิจการ แต่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ที่ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ สามารถปรึกษาธนาคาร โดยธนาคารจะนำเสนอความช่วยเหลือตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป

ใครร่วมมาตราการได้บ้าง

  • ลูกค้าบัตรเครดิต 

  • ลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ 

  • สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน 

  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME

ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมฯ* และนอกพื้นที่ควบคุมฯ** ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมฯ ของทางการ

สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 ผ่าน 4 ช่องทาง ดังนี้

  1. สาขาและสำนักธุรกิจทั่วประเทศ

  2. บัวหลวงโฟน โทร 1333 หรือ 0 2645 5555

  3. ลงทะเบียนได้ทาง พักชำระหนี้ 2 เดือน

  4. Mobile Banking ธนาคารกรุงเทพ

หมายเหตุ

*พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด เป็นไปตามคำสั่ง ศบค. ที่ 10/2564 ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา

**กรณีนอกพื้นที่ควบคุม แสดงหลักฐาน เช่น ประกาศคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น

ระหว่างพักชำระหนี้ ธนาคารยังคงคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยปกติ โดยลูกค้ามีภาระที่จะต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในภายหลัง

ธนาคารสงวนสิทธิการพิจารณาตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ 

ธนาคารกรุงไทย

ธนาคารกรุงไทยออกมาตรการพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย เป็นเวลา 2 เดือน เริ่มตั้งแต่งวด เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป 

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • ลูกค้า SME 

  • ลูกค้ารายย่อย

สำหรับลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ

สามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 ผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้

  1. ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน

  2. www.krungthai.com/link/covid-19 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงไทย

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ธนาคารกรุงศรีอยุธยาออกมาตรการชะลอการชำระค่างวด สูงสุด 2 เดือน นับจากวันที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ โดยโปรแกรมสิ้นสุด 30 กันยายน 2564

ใครร่วมมาตรการได้บ้า 

  • ลูกค้าบุคคล (สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน)

  • ลูกค้าธุรกิจ (ธุรกิจรายย่อย, SME และ ธุรกิจขนาดใหญ่)

ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่ต้องปิดกิจการจากมาตราการของทางการ รวมถึงลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมฯ เช่น ร้านนวด-สปา ร้านเสริมความงาม ร้านขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ตามประกาศของ ศบค. ฉบับล่าสุด และต้องไม่เป็นลูกค้าหนี้ NPL ณ วันที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ 

สามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 ผ่าน 4 ช่องทาง ดังนี้

  1. ธุรกิจรายย่อย หรือ SME โทร. 02-296-6262, 02-626-2626

  2. ลูกค้าบุุคคล ติดต่อ Krungsri Call Center 1572  

  3. ติดต่อเจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ (RM) ที่ดูแลท่าน

  4. เว็บไซต์ www.krungsri.com

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 

ธนาคารกสิกรไทย 

ธนาคารกสิกรไทยช่วยแบ่งเบาภาระให้ลูกค้า SME และลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ ด้วยมาตรการพักชำระหนี้เป็นเวลา 2 เดือน

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง 

  • ลูกค้าทั้งที่เป็นนายจ้าง และลูกจ้างในสถานประกอบการที่ต้องปิดกิจการในพื้นที่ควบคุมฯ (10 จังหวัด) รวมถึงลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมฯ เช่น ร้านนวด-สปา ร้านเสริมความงาม ร้านขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น  

  • ลูกหนี้ไม่เป็น NPL ณ วันที่ลงทะเบียนมาตรการช่วยเหลือ 

สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2564 มีช่องทางการลงทะเบียน ดังนี้

  • ลูกค้า SME ติดต่อผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center 02-8888822

  • ลูกค้ารายย่อย ติดต่อ K-Contact Center 02-8888888 หรือ LINE KBank Live https://kbank.co/LINEfriend 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร

ธนาคารเกียรตินาคินภัทรออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน โดยธนาคารพร้อมพิจารณาให้ความช่วยเหลือให้สอดคล้องกับข้อจำกัดและผลกระทบของลูกค้าเป็นรายกรณี ตามสัญญาหรือข้อตกลงฉบับใหม่ระหว่างลูกค้าและธนาคาร

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • ลูกค้า SME 

  • ลูกค้ารายย่อย (สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้านสินเชื่อ SME รายย่อย)

สามารถยื่นความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฏาคม - 15 สิงหาคม 2564 ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. สาขาของธนาคารทั่วประเทศ 

  2. KKP Contact Center หมายเลข 02 165 5555 เวลา 07.00-20.00 น. ทุกวัน 

หมายเหตุ

  • สินเชื่อ SME และ รายย่อย หมายรวมถึงระหว่างการพิจารณาอนุมัติ โปรดดำเนินการชำระค่างวดตามสัญญาเดิม เพื่อรักษาสถานะของบัญชี จนกว่าจะได้รับแจ้งผลการอนุมัติจากธนาคาร

  • ลูกค้าจะต้องไม่มีสถานะเป็น NPL ณ วันที่ขอเข้าร่วมมาตรการ และ สามารถพิสูจน์ว่าได้รับผลกระทบจากคำสั่ง ศบค. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารกำหนด

  • การพิจารณาอนุมัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ออกมาตรการช่วยเหลืแลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงตามพื้นที่ควบคุม และสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมและนอกพื้นที่ควบคุมที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • สินเชื่อบุคคลเพอร์ซันนัลแคช พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน

  • สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อรายย่อยที่มีหลักประกัน พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน

  • สินเชื่อ SME พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน

 สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 ผ่านช่องทาง ดังนี้

  1. สินเชื่อบุคคลเพอร์ซันนัลแคช สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อรายย่อยที่มีหลักประกัน ลงทะเบียนผ่านทางไลน์ @CIMBTHAI 

  2. สินเชื่อ SME ลงทะเบียนผ่านพนักงานธนาคารที่ดูแลท่าน

 หมายเหตุ

  • ลูกค้าที่ยังไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือกับธนาคาร หรือลูกค้าที่อยู่ระหว่างได้รับการช่วยเหลือของธนาคารและมีความประสงค์จะสมัครเข้าร่วมมาตรการนี้แทนมาตรการให้ความช่วยเหลือเดิม

  • ลูกค้ารายย่อยต้องไม่เป็นหนี้เสีย หรือ NPL ณ วันที่สมัครหรือลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือโปรแกรมนี้

  • หลังจากที่ลงทะเบียน ลูกค้าจะต้องแสดงข้อมูลว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบ เช่น หลักฐานการทำงานหรือเปิดร้านอยู่ในห้างที่ได้รับคำสั่งให้ปิด เช่น ประกาศคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด และประกาศของห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

  • ในระหว่างการพักชำระหนี้ ธนาคารยังคงคิดดอกเบี้ยในอัตราปกติตามสัญญาเดิม อีกทั้งลูกค้ายังคงมีภาระหน้าที่ในการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในภายหลัง

 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

ธนาคารทิสโก้

ธนาคารทิสโก้ออกมาตรการพักชำระหนี้เป็นระยะเวลา 2 เดือน สำหรับลูกค้าได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการของทางการทั้งในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 13 จังหวัด (พื้นที่ควบคุม) หรือนอกพื้นที่ควบคุม ได้แก่ นายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวถูกคำสั่งปิดกิจการจนขาดรายได้ โดยในระหว่างพักชำระหนี้ยังคงมีดอกเบี้ยเกิดขึ้น ซึ่งคิดตามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในสัญญา

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • ลูกค้าสินเชื่อ SME

  • ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย

  • ไม่มีหนี้ค้างชำระ หรือค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ณ วันที่ยื่นคำขอ (ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด)

สามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่วันที่ 19 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. เว็บไซต์ www.tisco.co.th

  2. เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ (RM) ที่ดูแลท่าน

หมายเหตุ
มาตรการนี้ ไม่ได้เป็นการพักชำระหนี้อัตโนมัติ โดยธนาคารจะพิจารณาข้อมูลหรือหลักฐานว่าลูกค้าเป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้างต้นหรือไม่ รวมถึงพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขในการชำระหนี้หลังจากพักชำระหนี้ไปในคราวเดียวกัน ดังนั้น ลูกค้าจึงควรเตรียมข้อมูลหรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้กระทบจากคำสั่งปิดกิจการในหรือนอกพื้นที่ควบคุมให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการลงทะเบียน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารทิสโก้ 

ธนาคารทีเอ็มบีธนชาติ

ธนาคารทีเอ็มบีธนชาติขอเป็นส่วนหนึ่งช่วยแบ่งเบาภาระ  ด้วยมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการของทางการมาตรการของทางการ

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย 

  • ลูกค้าสินเชื่อ SME

ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 15 ส.ค. 64 ผ่านเว็บไซต์ www.ttbbank.com/tang-luk

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ธนาคารทีเอ็มบีธนชาติ 

ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาตรการช่วยเหลือพิเศษ พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการของ ธปท. 

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย (บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย)

  • ลูกค้าสินเชื่อ SME

สำหรับลูกค้าในเขตพื้นที่ควบคุมฯ ตามคำสั่ง ศบค. ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการที่ไม่สามารถเปิดกิจการได้ และลูกค้าที่อยู่นอกเขตพื้นที่ควบคุมฯ ที่ได้รับผลกระทบ ไม่สามารถเปิดกิจการได้ เช่น ร้านนวด-สปา ร้านเสริมความงาม ร้านขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดยลูกค้ามีหน้าที่พิสูจน์ว่าได้รับผลกระทบจากคำสั่ง ศบค. ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ธนาคารกำหนด

สามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. SCB EASY APP (เฉพาะลูกค้าบุคคล)

  2. SCB Call Center โทร. 02-777-7777 เลือกเมนูมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าจากสถานการณ์ COVID-19 (กด9)

หมายเหตุ

  • ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการฯ จะต้องค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ณ วันลงทะเบียนแจ้งความประสงค์

  • เงินต้น และดอกเบี้ย ที่คิดในช่วงพักการชำระหนี้ยังคงคำนวณในอัตราปกติ

  • การพิจารณาอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด ธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม และหลักเกณฑ์ของธนาคาร

อ่านรายระเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ 

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ธ.ก.ส. มีมาตรการเร่งด่วน พักชําระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ถึงกําหนดชําระอย่างน้อย 2 เดือน นับจากงวดชําระเดิม ทั้งนี้ แนวทางการช่วยเหลือขึ้นอยู่กับการได้รับผลกระทบและศักยภาพของลูกค้า 

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • ลูกค้าผู้ประกอบการและสถาบันเกษตรกร สามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 

  • ลูกค้าเกษตกรและบุคคล สามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 15 ธันวาคม 2564 

ลงทะเบียนผ่าน 4 ช่องทาง ได้แก่ 

  1. Line Official BAAC Family

  2. Call center 02 555 0555

  3. เว็บไซต์ https://restloan.baac.or.th/ 

  4. ธ.ก.ส. ทุกสาขา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 

ธนาคารยูโอบี

ธนาคารยูโอบีมีมาตรการ พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 2 เดือน

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • ลูกค้าทั้งนายจ้างและลูกจ้างของกิจการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปิดกิจการตามมาตรการของทางการ 

  • ลูกค้าที่กิจการยังเปิดทำการได้ แต่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมของทางการ ธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกค้า

สามารถแสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 มีช่องทางการลงทะเบียน ดังนี้

  1. สำหรับลูกค้ารายย่อย กรอกแบบฟอร์มขอรับมาตรการช่วยเหลือ https://forms.uob.com.sg/contact/th/covid19fap.html หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ UOB Call Centre โทร. 0 2285 1555

  2. สำหรับลูกค้าธุรกิจ SME สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ที่ดูแลท่านหรือ UOB Biz Call Centre โทร. 0 2343 3555

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารยูโอบี

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน สำหรับลูกค้าในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ 

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME 

  • ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย

สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้

  1. ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์

  2. ลูกค้าสินเชื่อ SME ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลบัญชีของท่าน

  3. LH Bank Call Center โทร. 1327

 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 

ธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสินพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน (งวดเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564) สำหรับลูกค้าที่ถูกสั่งปิดกิจการตามประกาศของรัฐ เช่น ร้านสปาและนวด สถานเสริมความงาม บริการเพื่อสุขภาพ ร้านค้าในห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ (ถ้ามีประกาศเพิ่มเติม)

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME 

  • ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย เมื่อครบกำหนดพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน 

สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.00 น. - วันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 16.30 น ผ่านเว็บไซต์ www.gsb.or.th 

 หมายเหตุ

  • ให้ลูกหนี้จ่ายชำระเงินงวดตามสัญญาเงินกู้เดิม โดยเงินต้นและดอกเบี้ยที่ตั้งพักไว้ ให้ชำระในงวดสุดท้ายของสัญญา

 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารออมสิน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธอส. ประกาศ 2 มาตรการเร่งด่วน พักชำระหนี้เงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยนาน 3 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2564 สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากการประกอบอาชีพ / ธุรกิจ / การค้า เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • M15 สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้หรือสถานะทางกฎหมาย

  • M16 สำหรับลูกหนี้ NPL (ค้างชำระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน) หรืออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ 

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม เวลา 09.00 น. - 29 สิงหาคม 2564 เวลา 20.00 น. ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้

  1. แอปพลิเคชัน GHB ALL

  2. เว็บไซต์ของธนาคารที่ https://apiplatform.ghbank.co.th/covid

  3. Line Official GHB Buddy

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยประกาศพักหนี้และกำไร 2 เดือน ได้แก่ เดือนสิงหาคมและกันยายน 2564 

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

  • สำหรับลูกค้าที่ยังเปิดกิจการได้ แต่ได้รับผลกระทบจากมาตราการดังกล่าว ธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกค้า

สามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่ 19 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 ผ่านช่องทาง ดังนี้

  1. ลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจ SMEs ติดต่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อของท่าน หรือสาขาธนาคาร

  2. ลูกหนี้สินเชื่อรายย่อย กรอกเอกสารคำขอ และส่งไปยังอีเมล [email protected]

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 

ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)

ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ออกมาตรการการพักชำระหนี้และดอกเบี้ย 2 เดือน สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการของทางการ

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • ลูกค้าธุรกิจ SME 

  • ลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคาร 

สามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564 ผ่านช่องทาง ดังนี้

  1. ICBC (Thai) Call Center 02 629 5588 

  2. สาขาของธนาคาร 

 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)

SME D BANK

SME D BANK ประกาศมาตรการพักชำระหนี้และดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 หรืองวดการชำระหนี้เดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นไป แล้วแต่กรณี

ใครร่วมมาตรการได้บ้าง

  • ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมฯ ของทางการ เช่น ปิดกิจการ หรือถูกจำกัดเวลาเปิด-ปิดกิจการ หรือเปิดกิจการแต่รายได้ลดลง หรือมีข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจจากมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ

สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. เว็บไซต์ SME D BANK

  2. สาขาของ SME D Bank ในพื้นที่ตั้งกิจการ

 หมายเหตุ

  • ลูกค้าปัจจุบันที่มีประวัติการชำระหนี้เป็นปกติและ/หรือหนี้ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากมาตรการทางการ 

  • สินเชื่อที่ให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ ไม่รวมสินเชื่อแฟคตอริ่ง สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อการนำเข้า และสินเชื่อเพื่อการส่งออก และสินเชื่อที่ธนาคารเป็นหน่วยงานร่วมดำเนินการ เช่น สินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เป็นต้น

 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SME D BANK

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Pink Tech ไทย กำลังมา! ศูนย์ AI มธ. ชี้ กรุงเทพฯ จ่อขึ้นแท่นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานล่าสุด "Unlocking the Power of Pink Tech in Thailand" โดยศูนย์ AI มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ Canvas Ventures International (CVI) เผยให้เห็นศักยภาพอันมหาศาลของประเทศไทยในกา...

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...