แบงก์ชาติเผยแผนให้ Digital Payment เป็นทางเลือกหลักการชำระเงิน

ก้าวต่อไปของ Digital Payment เมื่อแบงก์ชาติเผยแผนมุ่งสร้าง Ecosystem ให้ Digital Payment เป็นทางเลือกหลักของการชำระเงิน

ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธานในงานแถลงข่าวแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 และร่วมเสวนาในหัวข้อ “ก้าวต่อไปของ Digital Payment” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน คุณปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย คุณสุธีรา ศรีไพบูลย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) และคุณวราวุธ นาถประดิษฐ์ รองผู้จัดการทั่วไปสายงานการค้า บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย)

โดยการเสวนา “ก้าวต่อไปของ Digital Payment” ครอบคลุมสาระสำคัญของแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 ซึ่งมุ่งสร้างระบบนิเวศน์ หรือ Ecosystem ให้ Digital Payment เป็นทางเลือกหลักของการชำระเงิน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินและบริการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ราคาถูก และตรงความต้องการของผู้ใช้ทั้งประชาชน ธุรกิจ e-Commerce และ Social Commerce ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงธุรกิจ SME และธุรกิจขนาดใหญ่ ตลอดจนขยายการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศผ่านกรอบการพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่

  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินให้ได้มาตรฐานพร้อมเชื่อมโยง (Interoperable Infrastructure) โดยเพิ่มขีดความสามารถและความมั่นคงปลอดภัยของระบบการชำระเงินสำคัญให้ได้มาตรฐานสากล ยกระดับการใช้ ISO20022 เพื่อรองรับการส่งข้อมูลทางธุรกิจและการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ
  • การส่งเสริมนวัตกรรมและบริการชำระเงิน (Innovation) โดยพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
  • การส่งเสริมการเข้าถึงและใช้บริการชำระเงิน (Inclusion) โดยขยายการใช้ Digital Payment และความรู้ความเข้าใจในทุกภาคส่วน
  • การกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง (Immunity) สร้างภูมิคุ้นกันพร้อมรับมือภัยไซเบอร์และคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม
  • การพัฒนาข้อมูลชำระเงิน (Information) โดยเชื่อมโยงข้อมูลการชำระเงินอย่างบูรณาการและพัฒนา การวิเคราะห์เชิงลึก

ทั้งนี้การขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ฯ ฉบับนี้ มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี 2562 – 2564 โดย ธปท. จะร่วมกับสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการชำระเงิน และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันมาตรการต่างๆ ให้บรรลุผล ซึ่งจะช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินให้มีความมั่นคง ปลอดภัย รองรับการพัฒนานวัตกรรม เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน

ขณะที่การขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 3 ที่ผ่านมา ช่วยให้การใช้ Digital Payment โดยรวม 5,868 ล้านรายการ ต่อปี (ณ 31 ธ.ค. 61)เพิ่มขึ้น 83% จากปี 2559 เฉลี่ย 89 ครั้ง/คน/ปี

โดยการใช้พร้อมเพย์มีการลงทะเบียนรวม 46.5 ล้านเลขหมาย (ณ 31 ธ.ค. 2561) เฉลี่ย 4.5 ล้านรายการต่อวัน มูลค่าเฉลี่ย 5,000 บาทต่อรายการ ในปี 2561 เติบโตเฉลี่ย 20% ต่อเดือน สำหรับการใช้ Mobile Payment มีจำนวน 47 ล้านบัญชี (ณ 31 ธ.ค. 2561) เพิ่มขึ้นจาก 21 ล้านบัญชีในปี 2559 และ Internet Banking มีจำนวน 27.8 ล้านบัญชี (ณ 31 ธ.ค. 2561) เพิ่มขึ้นจาก 14.6 ล้านบัญชีในปี 2559  นอกจากนี้ การใช้บัตรเดบิตและเครดิตขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะทาง Online ที่จำนวนการทำรายการเพิ่มขึ้น 155%

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...