ธปท. เตรียมนำ Blockchain มาใช้ในการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ภายในปลายปี 2562 | Techsauce

ธปท. เตรียมนำ Blockchain มาใช้ในการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ภายในปลายปี 2562

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายละเอียดโครงการ DLT Scripless Bond นำ Blockchain มาใช้ในการออกพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาล ระบุลดเวลาการออกพันธบัตรจาก 15 วันเหลือเพียง 2 วัน ไร้ข้อจำกัดโควตารายธนาคาร เริ่มใช้จริงช่วงปลายปี 2562 Photo: Techsauce

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ร่วมมือกับ สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ, บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด, สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย และธนาคารตัวแทนจําหน่ายทั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เริ่มโครงการ DLT Scripless Bond เพื่อทดลองนําร่องการใช้เทคโนโลยี Blockchain หรือ Distributed Ledger Technology (DLT) มาใช้ปรับกระบวนงาน เพื่อสร้างมาตรฐาน ลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และลดต้นทุนการดําเนินงานของทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องในการจําหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาล

"โดยในภาพรวมโครงการ DLT Scripless Bond ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความโปร่งใส ความปลอดภัย และลดต้นทุนการดําเนินงานโดยรวม ของทั้งระบบ" ธปท. กล่าวในแถลงการณ์

นอกจากนี้ระบุว่าโครงการดังกล่าวยังระบุว่ามีการนำกระบวนการทํางานแบบ Design Thinking และ Agile Development รวมถึงยังระบุว่าว่าเป็นหน่วยงานแรกๆ ของโลกที่นำ Blockchain มาใช้ในงานจําหน่ายพันธบัตรอีกด้วย

ซึ่งผลจากการทํา Proof of Concept (POC) พบว่าโครงการ DLT Scripless Bond สามารถพัฒนาระบบต้นแบบได้สําเร็จเป็นอย่างดี ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจในทุกขั้นตอนหลัก ธปท. ระบุว่าก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  1. ประชาชนสามารถได้รับพันธบัตรภายใน 2 วันจากเดิม 15 วัน และยัง สามารถซื้อพันธบัตรได้เต็มสิทธิที่ธนาคารเดียวโดยไม่มีโควตารายธนาคารเช่นในปัจจุบัน
  2. ธนาคารตัวแทนจําหน่าย, ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ และธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถลดความซับซ้อนและขั้นตอนการทํางานได้
  3. ผู้ออกพันธบัตรสามารถติดตามดูแลการจําหน่ายพันธบัตรได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้บริหารจัดการ วงเงินได้เร็วขึ้น และส่งเสริมการแข่งขันของธนาคารตัวแทนจําหน่ายได้ดียิ่งขึ้น

ในระยะถัดไป โครงการดังกล่าวจะจะขยายผลการพัฒนาระบบสู่การใช้งานจริง เพื่อยกระดับเป็นโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ของประเทศไทย โดยในระยะแรกจะครอบคลุมพันธบัตรออมทรัพย์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2562 และจะขยายผลให้รองรับพันธบัตรทุกประเภทต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ส่องแผน UK ปั้นประเทศอย่างไร ให้กลายเป็นมหาอำนาจ AI โลก

Keir Starmer นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออกมาประกาศถึงความต้องการที่จะทำให้ UK กลายเป็น ‘มหาอำนาจ’ ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคั่ง และทำให้ A...

Responsive image

Xiaohongshu คือแอปฯ อะไร? ทำไมชาวเมกันถึงหันไปใช้ หลัง TikTok ส่อแววโดนแบนในสหรัฐ

ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการแบน TikTok ในอเมริกาวันที่ 19 มกราคมนี้ ทำให้แอปวีดีสั้นจากจีนที่ชื่อว่า Xiaohongshu หรือที่รู้จักกันในชื่อ RedNote ได้รับความนิยมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ...

Responsive image

Krungthai COMPASS คาด ปี 2568 จะเป็นปีแห่งจุดพลิกผันสำคัญของไทย แม้ GDP จะโตขึ้น มี 5 เรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัว

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ออกรายงานประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2568 โดยคาดการณ์ว่า GDP จะเติบโตขึ้น 2.7% จากปัจจัยด้านการลงทุนของภาคเอกชน มาตรการของรัฐ รวมถึงการท่องเที่ยวที่กำลังจะกลั...