สรุปกำไรสุทธิปี 2563 ของ 6 ธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ในไทย | Techsauce

สรุปกำไรสุทธิปี 2563 ของ 6 ธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ในไทย


ผ่านไปแล้วสำหรับปี 2563 ช่วงเวลาถัดไปคือการประกาศผลประกอบการประจำปี แน่นอนว่ากลุ่มแรกที่ต้องออกมาโชว์ผลงานก่อนใครเพื่อนก็คือกลุ่มธนาคารพาณิชย์นั้นเอง วันนี้ Techsauce จึงขอรวบรวมผลประกอบการในปีที่ผ่านมาของ 6 ธนาคารใหญ่ว่าจะเป็นอย่างไรกันบ้าง

ธนาคารกรุงเทพ 

ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ ปี 2563 จำนวน  17,181ล้านบาท ปรับตัวลดลง 52.03% จากปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 35,816 ล้านบาท สาเหตุหลักเกิดจากธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 31,196ล้านบาท ส่งผลให้อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ที่ร้อยละ 181.6  เป็นการเตรียมความพร้อมตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจที่หดตวัจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 

ขณะที่ในปี 2563 ธนาคารกรุงเทพและบริษทัย่อยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ8.4จากปี 2562 มามาอยู่ที่ 77,047 ล้านบาท เป็นผลจากการรวมรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารเพอร์มาตา โดยมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิและรายได้จากการดำเนินงานอื่นลดลง สาเหตุหลักจากค่าธรรมเนียมจากการอำนวยสินเชื่อและรายได้จากเงินลงทุน จากการนำมาตรฐานกลุ่มเครื่องมือทางการเงินฉบับใหม่(ฉบับที่9) มาถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2563

ธนาคารกรุงไทย 

ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานในปี 2563 เท่ากับ 68,783 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิอยู่ในระดับเดียวกันกับปี 2562 ท่ามกลางสภาวะดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้ดอกเบี้ยพิเศษที่เพิ่มขึ้น (“รายได้ดอกเบี้ยพิเศษ” จากเงินให้สินเชื่อจากการได้รับเงินบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนอง)

อย่างไรก็ตาม ธนาคารและบริษัทย่อยได้ทยอยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่สูง จำนวน 44,903 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.6จากหนี้สูญหนี้สงสัยจะสูญฯ ในปี2562โดยพิจารณาอย่างรอบคอบถึงปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและมีความไม่แน่นอนสูงที่อาจส่งผลต่อคุณภาพสินเชื่อ ทำให้อัตราส่วน Coverage Ratio ณ 31 ธันวาคม 2563 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 147.3 จากร้อยละ 131.8 ณ วันที่ 31ธันวาคม 2562 ควบคู่กับการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารโดยมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อรวม (NPLsRatio-Gross) เท่ากับร้อยละ 3.81 ลดลงจากร้อยละ 4.33 ณ 31 ธันวาคม 2562

จากผลประกอบการดังกล่าวและการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับสูงส่งผลให้ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 16,732 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ธนาคารกรุงศรี 

ธนาคารมีกำไรสุทธิปี 2563 จำนวน  23,040 ล้านบาท ลดลงจํานวน 3,901 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.5 จากปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 32,748  ล้านบาท โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของการตั้งสํารองตามค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) และ ManagementOverlay ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 จากการหดตัวอย่างรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 

ทั้งนี้หากรวมรายการพิเศษในปี 2562 (การบันทึกกําไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นของ บริษัท เงินติดล้อ จํากัด (มหาชน) และค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับประมาณการหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจากกการชดเชยกรณีพนักงานเกษียณและเลิกจ้างตามการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน) กําไรสุทธิลดลงจํานวน 9,709 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.6 จากปี 2562

ในฐานะธนาคารพาณิชย์ที่มีความสําคัญเชิงระบบ ในปี 2563 กรุงศรีดําเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อบรรเทาภาระทางการเงินสําหรับลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายย่อยที่ประสบปัญหาทางการเงินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเงินให้สินเชื่อตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของลูกค้า นอกจากนั้นธนาคารได้มีมาตรการเชิงรุกในการให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งการพักชําระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ย การปรับลดดอกเบี้ย การขยายระยะเวลาผ่อนชําระ การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ การเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน และการปรับโครงสร้างหนี้สําหรับลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบ 

ธนาคารกสิกรไทย 

ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิสำหรับปี 2563จำนวน 29,487ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนจำนวน 9,240 ล้านบาทหรือ 23.86% ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ธนาคารและบริษัทย่อยใช้หลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่องในการพิจารณาสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 9,536 ล้านบาท หรือ 28.04% ซึ่งเป็นการตั้งสำรอง ฯ ตั้งแต่ในครึ่งแรกของปีเป็น จำนวนรวม 32,064 ล้านบาท เนื่องจาก ความไม่แน่นอนในระดับสูงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควดิ-19 ที่มีผลกระทบที่รุนแรงทั้งในและต่างประเทศอันเป็นวกิฤตการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในลักษณะนี้มาก่อนรวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากมาตรการของทางการที่ให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกค้า 

อย่างไรก็ดี แม้ว่าในครึ่งปีหลังที่มาตรการช่วยเหลือลูกค้าทยอยสิ้นสุดลงลูกค้ายังสามารถผ่อนชำระได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้รวมทั้งในปลายไตรมาส 4 มีการแพร่ระบาดของโควิด-19ระลอกใหม่ก็ตาม 

ธนาคารได้มีการทบทวนประเมินความเพียงพอของสำรองฯ พบว่าการตั้งสำรองฯในสามไตรมาสที่ผ่านมาอยุ่ในระดับที่เพียงพอแล้ว ธนาคารจึงพิจารณาตั้งสำรองฯในไตรมาส 4 ในระดับที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงสามไตรมาสของปีโดยเมื่อรวมการตั้งสำรองในปี 2563 จำนวนทั้งสิ้น 43,548 ล้านบาท ท ซึ่งถือเป็นระดับที่สามารถรองรับความเสียหายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน

ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น จำนวน 6,334 ล้านบาท หรือ 6.17%  ส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยซึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยและการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.27%

ธนาคารทหารไทย

ธนาคารทหารไทยประกาศกำไรสุทธิปี 2563 อยู่ที่ 10,112 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.0 จากปี 2562  ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่  7,222 ล้านบาท ถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 จพหดตัวอย่างรุนแรงท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของ COVID-19โดยมีการฟื้นตัวยังคงเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ธนาคารยังคงมีการเติบโตของสินเชื่อและเงินฝากอย่างระมัดระวังเพื่อมั่นใจในคุณภาพของพอร์ตจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ในประเทศและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง ขณะที่ เงินฝากเพื่อออมหลักที่มีคุณภาพเติบโตได้เป็นอย่างดีในสภาวะอัตราดอกเบี้ยขาลง รายได้ดอกเบี้ยและส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยปรับตัวดีขึ้นสอดคล้องกับกลยุทธ์ของธนาคารในการปรับโครงสร้างงบดุลให้เหมาะสมจากการรวมกิจการกับธนาคารธนชาต การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและการรับรู้ประโยชน์ด้านต้นทุนสะท้อน PPOP ที่ปรับตัวดีขึ้นการปรับปรุงพอร์ตสินเชื่อยังคงเป็นหนึ่งในเป้าหมายของธนาคารภายหลังรวมกิจการ ทีเอ็มบียังคงความรอบคอบและตั้งสำรองฯ ในระดับสูง เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต ขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.50

ทั้งนี้ ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิรอบ 12 เดือนปี 2563 เป็นจ นวน 53,805 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.3 เมื่อเทียบกีบปี 2562 เป็นผลจากการปรับโครงสร้างงบดุลให้มีความเหมาะสมด้วยการลดสัดส่วนเงินฝากต้นทุนสูงส่งผลให้ต้นทุนเงินฝากของธนาคารภายหลังรวมกิจการลดลง

*งบการเงินดังกล่าวได้รวมผลประกอบการของธนาคารธนชาตแล้ว

ธนาคารไทยพาณิชย์  

ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศผลกำไรสุทธิประจำปี 2563 จำนวน 27,218 ล้านบาท ลดลง 33% จากปีก่อน เป็นผลจากการตั้งสำรองที่สูงขึ้น โดยในปี 2563 ธนาคารได้ตั้งสำรองจำนวน 46,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จากปีก่อน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจของการแพร่ระบาดของโควิด-19

ทั้งนี้ กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองมีจำนวน 80,437 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อน (ไม่รวมกำไรพิเศษครั้งเดียวจากการขายหุ้นในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตในปีก่อน) ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่แข็งแกร่งและการควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ 

ด้าน รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปี 2563 มีจำนวน 96,899 ล้านบาท ลดลง 3% จากปีก่อน สาเหตุหลักมาจากผลกระทบของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี ในขณะที่สินเชื่อโดยรวมขยายตัว 7% จากปีก่อน จากความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจขนาดใหญ่และการสนับสนุนสินเชื่อซอฟท์โลนให้กับลูกค้าธุรกิจ

ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 47,869 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อน (ไม่รวมกำไรพิเศษครั้งเดียวจากการขายหุ้นในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตในปี 2562) โดยรายได้จากธุรกิจการขายผลิตภัณฑ์ประกันผ่านธนาคารและธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองในช่วงปลายเดือนมิถุนายน


ข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Willow ชิปควอนตัมจาก Google แรงทะลุจักรวาล ประมวลผลเรื่องยากได้ในเวลา 5 นาที เร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ล้านล้านเท่า

Willow คือชื่อชิปควอนตัมใหม่ที่ Google พัฒนาสำเร็จ โดยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวติ้ง ชิปตัวนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้เร็ว...

Responsive image

ไทยตื่นตัวเซมิคอนดักเตอร์ ปิดดีลไปแล้วกว่า 22,000 ล้าน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนสิ้นปี

ไทยก้าวสู่ยุคเซมิคอนดักเตอร์เต็มตัว! 4 เดือนก่อนสิ้นปี ปิดดีลลงทุนไปกว่า 22,000 ล้านบาท เสริมฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมผลักดันบุคลากรสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต...

Responsive image

ลิซ่า ซู จาก AMD คว้า CEO แห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME

ลิซ่า ซู ซีอีโอ AMD ได้รับเลือกให้เป็นซีอีโอแห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME โดยได้รับการยกย่องในวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำที่สามารถพลิกฟื้น AMD จากการเกือบล้มละลายเมื่อ 10 ปีก่อน กลายเ...