Bill Gates ลงทุนสตาร์ทอัพออสซี่ ผลิตอาหารสังเคราะห์เลียนแบบสาหร่ายทะเล ลดก๊าซมีเทนจากวัวได้ 85 % | Techsauce

Bill Gates ลงทุนสตาร์ทอัพออสซี่ ผลิตอาหารสังเคราะห์เลียนแบบสาหร่ายทะเล ลดก๊าซมีเทนจากวัวได้ 85 %

ผู้ก่อตั้ง Microsoft อย่าง Bill Gates บุคคลที่ออกมาพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและปัญหาโลกร้อนอยู่บ่อย ๆ ได้เข้าลงทุนในบริษัท Rumin8 สตาร์ทอัพสัญชาติออสเตรเลียที่ตั้งเป้าว่าจะลดปริมาณก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นจากวัวด้วยการผลิตอาหารสังเคราะห์เลียนแบบสาหร่ายทะเล 

โดย Gates ลงทุนเป็นจำนวนเงิน 12 ล้านดอลลาร์ ผ่านกองทุน Breakthrough Energy Ventures กองทุนไม่แสวงหาผลกำไรขึ้นที่เขาตั้งขึ้นในปี 2015 เพื่อลงทุนใน Startup ช่วง Early stage ที่ทำนวัตกรรมพลังงานสะอาด 

ก๊าซมีเทนร้ายแรงยังไง แล้ววัวเกี่ยวอะไรด้วย 

ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่มีปริมาณเยอะที่สุดรองลงมาจากคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ถึงแม้สัดส่วนของมีเทนจะดูไม่เยอะเมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด แต่ในแง่ของการทำให้โลกร้อน มีเทนส่งผลกระทบมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 28 เท่า ในปี 2019 ปริมาณมีเทนในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นแซงสถิติเดิมและสูงกว่าตอนยุคก่อนอุตสาหกรรมถึง 2.5 เท่า

ก๊าซมีเทนมีแหล่งกำเนิดทั้งจากธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ กระบวนการย่อยอาหารของสัตว์ การผลิตน้ำมันและก๊าซ หลุมฝังกลบขยะมูลฝอย และการทำเหมืองถ่านหิน เป็นต้น  

โดยภาคส่วนเกษตรกรรมและปศุสัตว์มีส่วนกับการปล่อยก๊าซมีเทนมากถึง 1 ใน 4 ของทั้งหมด สัตว์เคี้ยวเอื้องอย่าง วัว แพะ หรือกวางที่จะมีการผลิตมีเทนในระหว่างกระบวนการย่อยไฟเบอร์หรือหญ้าที่มันกินเข้าไป 

อย่างที่ทราบกันว่าวัวเป็นสัตว์ที่มีหลายกระเพาะ ซึ่งกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมีเทนเรียกว่า กระบวนการหมักในระบบย่อยอาหาร (Enteric Fermentation) ซึ่งเกิดขึ้นในกระเพาะส่วนแรกอย่าง rumen กระบวนการหมักนี้ผลิตก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก วัวหนึ่งตัว สามารถผลิตก๊าซมีเทนได้ถึง 70-120 กิโลกรัมต่อปี 


Source: OurWorldinData.org


Source: Let’s Talk Science

สาหร่ายทะเลแดงช่วยลดการผลิตมีเทนได้ 

งานวิจัยจาก College of Agricultural and Environmental Sciences ชี้ว่าการให้สาหร่ายทะเลเป็นอาหารวัวสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนได้ถึง 80% แต่การจะเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลจำนวนที่เพียงพอต่อทั้งอุตสาหกรรมจะต้องใช้งบประมาณสูงและมีความซับซ้อน 

ทำให้ Rumin8 สตาร์ทอัพจากออสเตรเลียเลือกใช้วิธีสร้างอาหารสังเคราะห์ลอกเลียนแบบสาหร่ายทะเลแดง ทำให้สามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรในการเพาะสาหร่ายเหล่านี้ในจำนวนมาก โดยจากการทดลองพบว่าสามารถลดก๊าซมีเทนได้มากกว่า 85% 

“เรารู้สึกปลาบปลื้มใจมากที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน climate ทั่วโลก ซึ่งเป็นความตั้งใจที่ต้องการจะลดปริมาณมีเทนและเทคโนโลยีของ Rumin8 ก็ตอบโจทย์นั้น” - Rumin8's MD. David Messina

Source: Rumin8

อ้างอิงข้อมูลจาก

Climate change: Bill Gates backs Australian start-up targeting cow burps

Can We Grow Enough Seaweed to Help Cows Fight Climate Change?

Cows, Methane, and Climate Change

Greenhouse gas emissions

Is there more to methane than cow farts?










RELATED ARTICLE

Responsive image

CyberAgent Capital, Winvestment และ อ่างแก้วโฮลดิ้ง ลงทุนใน Horganice รอบ Series A

CyberAgent Capital ร่วมกับ Winvestment และ อ่างแก้วโฮลดิ้ง ประกาศร่วมลงทุนใน Horganice ดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทยกว่า 35 ล้านบาทในรอบ Series A...

Responsive image

รู้จัก ‘ARCHAX’ หุ่นยนต์แบบกันดั้มที่ขับขี่ได้จริง ผลงานจากสตาร์ทอัพญี่ปุ่น ที่ CEO อายุเพียง 25 ปี

ไปทำความรู้จักกับ ‘ARCHAX’ หุ่นยนต์กันดั้มที่เราขับขี่ได้จริง ผลงานจาก Tsubame Industries บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่น ที่มี CEO อายุเพียง 25 ปี...

Responsive image

depa พานวัตกรรม 'Re-fill City' คว้ารางวัลชนะเลิศ ที่ไต้หวัน

depa คว้าตำแหน่งชนะเลิศจาก Presidential Hackathon International Track 2023 ด้วยนวัตกรรม Re-fill City พร้อมรับรางวัลจาก ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ผู้นำไต้หวัน ​...