หนึ่งในหัวข้อสนทนาที่ได้รับความนิยมในปี 2019 คือการขยายตัวของการใช้เทคโนโลยี Blockchain ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการนำบล็อกเชนเข้าพลิกโฉมธุรกิจต่างๆ มากที่สุดในโลก ตั้งแต่การนำบล็อกเชนเข้าลดความซับซ้อนของการทำธุรกรรมหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee) ร่นกระบวนการและระยะเวลาการออกพันธบัตรรัฐบาลจาก 15 วันเหลือ 2 วัน หรือการที่กรมศุลกากรนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้เพื่อพัฒนาการค้าระหว่างประเทศของไทย ให้การติดตามระบบขนส่งมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากการร่วมงานกับลูกค้าทั้งในไทยและต่างประเทศนับร้อยรายในปีที่ผ่านมา ทำให้ไอบีเอ็มเข้าใจถึงความต้องการและทิศทางการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน และได้คาดการณ์ทิศทางของเทคโนโลยีบล็อกเชนในปี 2020 ไว้ดังนี้
เมื่อเครือข่ายบล็อกเชนต่างๆ อาทิ TradeLens เริ่มเติบโตขึ้นถึงระดับหนึ่ง ปริมาณข้อมูลก็เติบโตขึ้นตามไปด้วยจนถึงระดับหลายล้านดาต้าพอยท์ นำไปสู่ความต้องการความสามารถใหม่ๆ
เทคโนโลยีก้าวล้ำอย่าง IoT, 5G, AIและ Edge Computing จะถูกนำมาใช้ร่วมกับบล็อกเชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรที่อยู่ในแต่ละเครือข่าย ตัวอย่างเช่น โซลูชันบล็อกเชนที่เชื่อมกับ IoT และ AI จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้บริการออนไลน์ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนมีการเติบโตสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ
การใช้เทคโนโลยีก้าวล้ำต่างๆ ร่วมกับบล็อกเชนจะนำสู่ความสามารถที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากบล็อกเชนจะช่วยให้อัลกอริธึมที่รองรับอยู่มีความแม่นยำยิ่งขึ้น บล็อกเชนจะช่วยให้ข้อมูลมีความปลอดภัย และช่วยตรวจสอบข้อมูลทุกชิ้นในทุกขั้นตอนของกระบวนการการตัดสินใจ ซึ่งจะนำสู่มุมมองเชิงลึกที่เฉียบคมขึ้น ที่มาจากแหล่งข้อมูลที่สมาชิกของแต่ละเครือข่ายเชื่อถือ
การทำงานแบบกระจายศูนย์ทำให้เกิดความท้าทายในแง่การกำกับดูแล โดยในปี 2020 นี้ เราจะเริ่มเห็นโมเดลใหม่ๆ ที่มีความครอบคลุมและหลากหลาย ที่ทาง Consortium จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ การกำหนดแบบแผนในการให้สิทธิ์ หรือแม้แต่การชำระเงินโมเดลเหล่านี้จะช่วยสร้างมาตรฐานให้กับข้อมูลที่มาจากหลายแหล่ง สร้างให้เกิดชุดข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือขึ้น
การจะทำให้ทุกฝ่ายเห็นร่วมในโมเดลการกำกับดูแลต่างๆ จะต้องอาศัยความร่วมมือและแรงผลักดันจากผู้เล่นอื่นๆ โดยในปีนี้ สมาชิกของเครือข่ายต่างๆ อาจเริ่มสนับสนุนให้ผู้เล่นสำคัญๆ ของวงการเข้ามาร่วมเครือข่าย ผ่านกลไกการสนับสนุนด้านการเงิน ตัวอย่างเช่น Consortium ของกลุ่มซัพพลายเชนระดับโลกอาจช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมเครือข่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐ เพราะมองเห็นประโยชน์จากการเข้าร่วมขององค์กรเหล่านั้น
เมื่อองค์กรผ่านขั้นตอน Proofs of Concept และการทำโครงการนำร่องแล้ว ก็จะหันมาเน้นเรื่องความสามารถในการทำงานข้ามระหว่างกัน เพื่อให้เครือข่ายบล็อกเชนที่มีอยู่สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับระบบเดิมและเครือข่ายบล็อกเชนอื่นๆ ได้ ซึ่งในที่สุดแล้วก็จะช่วยให้เกิดการเปิดรับเทคโนโลยีนี้เร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง
โซลูชันบล็อกเชนจะใช้เครื่องมือตรวจสอบความถูกต้องต่างๆ อย่าง Crypto-anchor เพื่อรับมือกับการส่งข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ประสงค์ร้ายหรือไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเทคโนโลยีนี้ โดยในฝั่งขาเข้าจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลผ่านแหล่งข้อมูลหลักมากยิ่งขึ้น โดยใช้เซ็นเซอร์บีคอนแบบ IoT ที่รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ตั้งแต่จำนวนลูกค้าที่เดินเข้าร้านจนถึงความเร็วบนท้องถนน
Token สกุลเงินดิจิทัล และสกุลเงินดิจิทัลที่สนับสนุนโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies หรือ CBDC) กำลังกลายเป็นหัวข้อที่เป็นที่สนใจในกลุ่มตลาดเงิน โดยรูปแบบของการแปลงสินทรัพย์และหลักทรัพย์ให้เป็น digital token การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล กำลังสร้างมาตรฐานความปลอดภัยใหม่และประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นให้กับตลาดเงิน
จากที่เราได้เริ่มเห็นประเทศในเอเชีย ตะวันออกกลาง และแคริบเบียน ทำการทดลอง CBDC แบบเรียลไทม์ ทำให้มั่นใจได้ว่า CBDC จะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นในปีนี้ และจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการชำระเงินในหลายมิติ โดย CBDC จะยังคงเติบโตต่อเนื่องในตลาด wholesale แต่ก็จะเริ่มปรากฏให้เห็นในตลาด retail เช่นกัน นอกจากนี้เรายังจะได้เห็นรูปแบบอื่นๆ ของการแปลงสินทรัพย์และหลักทรัพย์ให้เป็น token และสกุลเงินดิจิทัล เช่น หุ้นกู้กลางสำหรับพันธบัตรรัฐบาลเป็นต้น
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด