จากสถานการณ์โรคระบาดไวรัส COVID-19 ที่ยังคงลุกลามอย่างหนักและแพร่ระบาดไปหลายพื้นที่ทั่วโลก แม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อในจีนจะทรงตัว แต่ในประเทศอื่นยังคงเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และสังคมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ขณะที่ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบโดยตรงในด้านของการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยส่งออกประเทศคู่ค้าทั่วโลกได้รับผลกระทบเช่นกัน ส่วนท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวกว่า 60% ทำให้ทางคณะกรรมการนโนบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าในปี 2563 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มหดตัว 5.3% และคาดว่าจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ 3% ในปี 2564
ทั้งนี้แนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศไทยถือว่ายังคงมีความไม่แน่นอนสูงมาก โดยขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาและขอบเขตในการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรการสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ และการพัฒนาวัคซีนและยารักษา รวมถึงความสามารถในการรองรับ shock และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการการเงินการคลังของประเทศ
คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยมองว่าการระบาดของไวรัส COVID-19 จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบ แต่ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ ตลาดการเงินได้เริ่มกลับมาทำงานปกติ
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการระบาดของ COVID-19 ในระยะข้างหน้ายังมีความรุนแรง รวมทั้งจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งในภาวะเช่นนี้ คณะกรรมการฯ สนับสนุนมาตรการดูแลผู้ได้รับผลกระทบอย่างตรงจุดของรัฐบาลที่ได้ประกาศไปแล้ว รวมทั้งจะต้องดำเนินการช่วยบรรเทาปัญหาสภาพคล่องและเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ โดยเฉพาะครัวเรือนและธุรกิจ SMEs ให้เกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรมเพิ่มเติมจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนัดพิเศษที่ผ่านมา
คณะกรรมการฯ เห็นพ้องว่าต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสภาพคล่องให้ตรงจุด กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด