คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนพัฒนาสถาบันการเงินระยะ 3 “Digital Banking” สู่เป้าหมาย Anywhere-Anytime-Any Devices | Techsauce

คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนพัฒนาสถาบันการเงินระยะ 3 “Digital Banking” สู่เป้าหมาย Anywhere-Anytime-Any Devices

ดร.วิรไท สันติประภพ (กลาง) ผู้ว่าการ ธปท. และนางทองอุไร ลิ้มปิติ (ขวา) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.

เป็นข่าวดีที่กระตุ้น FinTech ไทยอีกครั้ง เมื่อคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ “แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2559-2563)” เป็น 1 ใน 3 แผนยุทธศาสตร์หลักของ ธปท. ได้แก่ แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน, แผนเงินทุนเคลื่อนย้าย, แผนพัฒนาระบบการชำระเงิน ซึ่งจะเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยแผนดังกล่าวกำหนดแนวคิดหรือเสาหลัก 4 เสา คือ แข่งได้, เข้าถึง, เชื่อมโยง และยั่งยืน

ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พูดถึงแผนพัฒนาสถาบันการเงิน ที่เพิ่งจะผ่านความเห็นชอบว่า “ในการที่เราทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 3 ปีนี้เป็นการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ของ ธปท. ที่อยากขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของทั้งของ ธปท. และหน่วยงานอื่นๆ ให้ไปในทิศทางเดียวกัน ให้พัฒนาระบบสถาบันการเงินไทยให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมเศรษฐกิจ พัฒนาการระบบการเงินโลก พัฒนาการตลาดเงินและตลาดทุน รวมทั้งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วย”

คุณทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวย้อนไปถึงกรอบการจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินว่า ระบบสถาบันการเงินจะต้องคำนึงใน 6 ประเด็นหลัก

  • ความลึกของระบบงาน (Depth)
  • ความมั่นคงเข้มแข็งและมีเสถียรภาพของสถาบันการเงิน (Stability)
  • ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)
  • ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
  • การเข้าถึงระบบการเงิน (Accessibility)
  • โครงสร้างพื้นฐานของระบบสถาบันการเงิน (Infrastructures)

กรอบนโยบายหลัก 4 ด้านที่จะเข้ามาสนับสนุนแนวคิด แข่งได้, เข้าถึง, เชื่อมโยง และยั่งยืน ได้แก่

  1. ส่งเสริมการใช้บริการทางการเงินและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ (Digitization & Efficiency) โดยสนับสนุนให้ผู้ให้บริการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดรับความต้องการของผู้ใช้บริการ ส่งเสริมการให้ความรู้และสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ และทบทวนกลไกราคาเพื่อกระตุ้นการใช้บริการทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ขณะเดียวกัน ธปท. จะสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ของภาครัฐ อีกทั้ง สนับสนุนให้พัฒนากระบวนการท างานภายในให้เป็นอัตโนมัติ และมีการเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมการใช้โครงสร้างพื้นฐานกลางร่วมกัน และมีระบบ ติดตามการทุจริตทางการเงิน (Fraud monitoring system) เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางไซเบอร์ (Cyber risk) นอกจากนี้ ในการส่งเสริมประสิทธิภาพและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ธปท. จะประเมินโครงสร้าง ระบบสถาบันการเงินและก าหนดภูมิทัศน์ (Landscape) ที่เหมาะสม เพื่อให้ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง มีเสถียรภาพ และรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศในระยะต่อไป
  2. สนับสนุนการเชื่อมต่อการค้าการลงทุนในภูมิภาค (Regionalization) เพื่อเพิ่มศักยภาพ ของระบบการเงินไทยในการสนับสนุนการขยายตัวของการค้าการลงทุนและการเชื่อมโยงของประเทศในภูมิภาค รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และการขยายตัว ของธุรกิจไทยไปยังกลุ่มภูมิภาคดังกล่าว โดยมีมาตรการที่ส าคัญ เช่น การเจรจาเปิดเสรีภาคการธนาคาร ในกลุ่มอาเซียน (Qualified ASEAN Banks: QABs) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินระหว่าง ประเทศ รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินให้เอื้อต่อการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง
  3. ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Access) เพื่อให้ประชาชนรายย่อย กลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ทั่วถึง และสอดคล้องกับความต้องการ โดยส่งเสริมให้ผู้ให้บริการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้สอดคล้องกับความต้องการ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพิ่มช่องทางการในการเข้าถึงในพื้นที่ต่าง ๆ ให้มากขึ้น รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลที่จ าเป็นของระบบสถาบันการเงินเพื่อเพิ่มโอกาสให้ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านสถาบันการเงินและช่องทางอื่น นอกจากนี้ ธปท. จะสนับสนุนการด าเนินการตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อส่งเสริมและพัฒนา สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการระดมทุนของภาคเอกชน
  4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Enablers) เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 3 จึงจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในระบบการเงินควบคู่กันไป ทั้งการพัฒนาบุคลากรทางการเงิน การส่งเสริมความรู้ทางการเงินและความคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน การสนับสนุนให้มีกฎหมายทางการเงิน ที่เอื้อต่อการบริหารความเสี่ยงและการด าเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน รวมทั้งการพัฒนาเกณฑ์การก ากับ ดูแลสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินให้เหมาะสมตามมาตรฐานสากลเพื่อรักษาเสถียรภาพ โดยรวมของระบบ

สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Intended Outcome) ของแนวคิดต่างๆ ได้แก่

  • การแข่งได้ สถาบันการเงินไทยดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีบริการและผลิตภัณฑ์ครบถ้วนหลากหลายด้วยราคาที่เหมาะสม และเอื้อต่อความสามารถในการแข่งขัน
  • การเข้าถึง ประชาชน ธุรกิจ SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวก
  • การเชื่อมโยง สถาบันการเงินไทยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และสามารถให้บริการระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุนของภาคธุรกิจไทยและตรงกับความต้องการของประเทศ
  • ความยั่งยืน ระบบสถาบันการเงินไทยมีความมั่นคง สามารถรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนความอยู่ดีกินดีของประชาชนอย่างยั่งยืน

ขณะที่ประโยชน์ในมุมของผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่

  • ระบบสถาบันการเงิน ซึ่งรวมทั้งธนาคารพาณิชย์และที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ จะมีความมั่นคงและมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี เปิดช่องให้ธนาคารพาณิชย์ไทยอย่างน้อย 1 แห่งมีขนาดใหญ่พอจะแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคและสามารถให้บริการทางการเงินได้ครบวงจร สถาบันการเงินต่างๆ มีการนำเทคโนโลยีให้บริการ Digital Banking แบบครบวงจร มีช่องทางการให้บริการที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของคนทุกระดับ เช่น อาจจะต้องไม่มีสาขาอีกต่อไป เป็นต้น สุดท้าย ธปท. จะต้องปรับปรุงการกำกับดูแลให้ได้มาตรฐานสากล
  • ประชาชนและภาคธุรกิจ ต้องการให้เกิด Banking Anywhere, Anytime, Any Devices สร้างความเท่าเทียมการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือธุรกิจ
  • เศรษฐกิจโดยรวมจะมีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำลง ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศมากขึ้น

“ถ้าให้สรุปในคำเดียว ไฮไลท์ของเราเลยคือ Digital Banking ต้องมา ถ้าไม่มาเราสู้ใครไม่ได้เลย แล้วถ้าทำได้มันจะมาหมดเลยที่พูดไป ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ การเข้าถึงระบบการเงิน และอื่นๆ ที่จะตามมาอีก” คุณทองอุไรได้พูดทิ้งท้ายไว้

InfoGraphic_final_180315-438x620

ที่มา: ThaiPublica, ธนาคารแห่งประเทศไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ GenAI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

หากต้องการใช้ศักยภาพจาก AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์กรควรปรับระบบการทำงาน โครงสร้างกำลังคน และเตรียมบุคลากรให้พร้อม ด้วยแนวคิด "Net Better Off" สนับสนุนให้บุคลากรได้เรียนรู้ ทำง...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...

Responsive image

ttb เปิดตัว 7 ผู้บริหารรุ่นใหม่นำทัพ ทรานส์ฟอร์มองค์กรรอบด้าน เร่งยกระดับประสบการณ์ด้านการเงินแบบไร้รอยต่อ

ทีทีบี (ttb) ปรับโครงสร้างองค์กรรอบด้าน ส่งคนรุ่นใหม่ 7 ผู้บริหารระดับสูง นำทัพขับเคลื่อนกลยุทธ์ มุ่งเจาะกลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน มนุษย์เงินเดือน และลูกค้า Wealth...