บ้านปู พาวเวอร์ (BPP) กำไรสุทธิ 5,319 ล้านบาท ปัจจัยหลักคือ คุมต้นทุนพลังงานดี มีประสิทธิภาพ | Techsauce

บ้านปู พาวเวอร์ (BPP) กำไรสุทธิ 5,319 ล้านบาท ปัจจัยหลักคือ คุมต้นทุนพลังงานดี มีประสิทธิภาพ

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพระดับสากลที่ยึดมั่นในการส่งมอบพลังงานที่ยั่งยืน แจงผลประกอบการปี 2566 เติบโตขึ้นกว่าปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญสามารถรักษาประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าทุกแห่ง และรุดหน้าการเติบโตของธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน ชูทิศทางปี 2567 โดยเดินหน้าธุรกิจตามกลยุทธ์ Greener & Smarter เพื่อส่งมอบพลังงานไฟฟ้าคุณภาพสู่สังคม (Powering Society with Quality Megawatts) นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทมีมติแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ มีผล 2 เมษายนนี้

BANPU BPP

ผลการดำเนินงานปี 2566 BPP มีรายได้รวม 30,443 ล้านบาท โดยมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) รวม 12,262 ล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีกำไรสุทธิ 5,319 ล้านบาท ทั้งนี้ถ้าไม่รวมกำไรจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนใหม่และขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของอนุพันธ์ทางการเงิน BPP มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 74 เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิที่ไม่รวมกำไรจากการจำหน่าย เงินลงทุนและกำไรสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของอนุพันธ์ทางการเงินในปี 2565 สำหรับสถานะทางการเงินของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 มีสินทรัพย์รวมจำนวน 98,903 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21,238 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวมปีก่อน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

BANPU_BPP

นอกจากนี้ BPP ยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างเสถียรภาพด้านพลังงาน โดยยังคงมุ่งมั่นในการรักษาประสิทธิภาพ และความพร้อมของระบบการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าทุก ๆ แห่งให้สามารถจำหน่ายกระแสไฟฟ้าไปยังชุมชนและสังคมได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง อีกทั้งยังผลักดันการดำเนินงานในทุกกระบวนการให้สอดคล้องกับหลักความยั่งยืนหรือ ESG อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG Committee) ซึ่งทำหน้าที่ในการพิจารณาทิศทางและนโยบาย ESG ของบริษัทฯ และทำงานร่วมกับฝ่ายบริหาร

ในปี 2566 บริษัทฯ ได้เข้าลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple II ในรัฐเท็กซัส ซึ่งอยู่ติดกับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I ที่บริษัทฯ ได้เข้าไปลงทุนเมื่อปี 2564 และผลักดันการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจไฟฟ้าในสหรัฐฯ ที่มีอยู่ครบวงจรทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ไปจนถึงการขายไฟฟ้าในตลาดค้าส่ง (Wholesale) และตลาดค้าปลีก (Retail) รวมถึงร่วมลงทุนในโครงการ Cotton Cove ในแหล่งก๊าซธรรมชาติบาร์เนตต์ (Barnett) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่ธุรกิจดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ในสหรัฐฯ ซึ่งสามารถนำประสบการณ์ไปพัฒนาต่อยอดกับธุรกิจโรงไฟฟ้าได้ในอนาคต ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CHPs) ในจีนทั้ง 3 แห่ง มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากการปรับตัวลดลงของราคาเชื้อเพลิงและรายได้จาก การขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Emission Allowances - CEA)


BANPU_BPP

ยิ่งมีตลาดการค้าไฟฟ้าเสรี (Energy Trading) BPP ยิ่งมองเห็นโอกาสทางธุรกิจว่ายังมีอีกมหาศาล เช่นที่จีน มีมาตรการในการรักษาสิ่งแวดล้อม มีการสร้างตลาดคาร์บอนขึ้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว โดยรัฐบาลจีนตั้งระดับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนของ BPP ในจีนทำได้ต่ำกว่าที่รัฐบาลกำหนด 20-30% กลายเกิด Carbon Surpass บริษัทจึงขายไฟได้ในราคาสูงและมีรายได้จากการผลิตไฟขายให้จีนในปี 2023 มากกว่า 9.5 ล้านหยวน หรือราว 48.15 ล้านบาท 

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานผ่านการลงทุนในบ้านปู เน็กซ์ โดยในปีที่ผ่านมา มีการลงทุนใน บริษัท เอส โวลต์ เอเนอร์จี้ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (SVOLT Thailand) ธุรกิจกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ครบวงจรเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลงทุนในโอยิกะ (Oyika) สตาร์ทอัพสิงคโปร์ ผู้ให้บริการโซลูชันสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (Battery Swap Solutions) รวมถึงเดินหน้าโครงการแบตเตอรี่ฟาร์มขนาดใหญ่ที่เมืองโตโนะ (Tono) จังหวัดอิวาเตะ (Iwate) ในญี่ปุ่น เพื่อการต่อยอดในธุรกิจซื้อขายพลังงาน (Energy Trading) ในอนาคต 

นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา BPP สามารถบริหารจัดการการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าทุกแห่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเดินหน้าขยายพอร์ตธุรกิจผลิตไฟฟ้าได้ตามกลยุทธ์ที่วางไว้ โดยการเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple II ในสหรัฐอเมริกาถือเป็นผลสำเร็จที่ชัดเจน ทั้งหมดนี้ส่งผลให้บริษัทฯ สร้างกระแสเงินสดได้อย่างแข็งแกร่ง สำหรับในปี 2567 นี้ BPP ยังคงพัฒนาและขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งมอบพลังงานไฟฟ้าคุณภาพสู่สังคม หรือ Powering Society with Quality Megawatts ผ่าน 3 จุดแข็งในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ 

BANPU BPP

  • 1) ดำเนินงานด้วยคุณภาพระดับสากลจากความเชี่ยวชาญของทีมงานของ BPP เพื่อสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจและปรับตัวกับความท้าทายต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • 2) ผสานพลังร่วมในระบบนิเวศทางธุรกิจที่แข็งแกร่งใน 8 ประเทศยุทธศาสตร์ของ BPP และผนึกกำลังร่วมภายในกลุ่มบ้านปูผ่านการแบ่งปันองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพลังงานร่วมกัน เพื่อเพิ่มโอกาสและมูลค่าทางธุรกิจ และ 
  • 3) สร้างคุณค่าที่ยั่งยืนแก่สังคมทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่ไปกับการเป็นองค์กรพลเมืองที่ดี ผ่านการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับหลักความยั่งยืน

"ตอนนี้ความต้องการในการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ผมคิดว่า ธุรกิจพลังงานและธุรกิจกักเก็บพลังงานจะเติบโตอีกมหาศาล ขณะที่การผลิตไฟฟ้าจะลดการใช้ถ่านหินลง หันไปใช้ก๊าซธรรมชาติ ไอน้ำ พลังงานความร้อนมากขึ้น ส่วน Energy Trading การผลิตไฟขายให้ภาครัฐจะน้อยลงในอนาคต เพราะภาคเอกชนเริ่มมีความแข็งแกร่งด้านฐานการเงิน มีฐานการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ต่อไป P2P กันเองก็จะเพิ่มขึ้น เช่น การผลิตไฟและขายไฟให้บ้านข้างๆ" คุณกิรณกล่าวเสริม

ทั้งนี้ BPP ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรภายในผู้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนองค์กร และการดำเนินตามแนวทางการวางแผนและพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งสำคัญ (Succession planning and high potential management) ของกลุ่มบ้านปู โดยคณะกรรมการบริษัทมีมติให้ ายอิศรา นิโรภาส ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะมีผลในวันที่ 2 เมษายน 2567 โดยนายกิรณ ลิมปพยอม จะดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operation Officer: COO) ของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญในการบริหารจัดการการดำเนินงาน (Operation) ของธุรกิจแหล่งพลังงานและธุรกิจผลิตพลังงานในทุกประเทศ

นายอิศรา นิโรภาส ผู้อำนวยการสายอาวุโส – สายงานปฏิบัติการธุรกิจไฟฟ้า บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการได้รับแต่งตั้งเป็นผู้นำในการบริหาร BPP ว่า 

“ผมต้องขอขอบพระคุณคณะกรรมการบริษัทในความไว้วางใจให้ผมรับหน้าที่สำคัญนี้ต่อจากคุณกิรณ จากประสบการณ์การทำงานในสายปฏิบัติการในกลุ่มบ้านปูมาตั้งแต่ปี 2537 และการมีส่วนร่วมในการออกแบบทางวิศวกรรม การพัฒนาธุรกิจ และการจัดการงานด้านปฏิบัติการในโครงการสำคัญต่าง ๆ ผมมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสานต่อภารกิจของ BPP ในการเป็นผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และบริหารธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าใน 8 ประเทศ โดยยึดหลัก ESG ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ”

“ปัจจุบัน BPP มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 3,642 เมกะวัตต์ มุ่งสร้างการเติบโตด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจทั้งจากพลังงานความร้อนและพลังงานหมุนเวียน รวมถึงธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานที่ลงทุนผ่านบ้านปู เน็กซ์ บริษัทฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและทีมงานมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของ BPP โดยมีหลัก ESG เป็นแนวทางในทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอแก่ผู้ถือหุ้น และสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม” นายกิรณกล่าวปิดท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...