3 รูปแบบธุรกิจที่เชื่อมต่อกับ Hardware startups | Techsauce

3 รูปแบบธุรกิจที่เชื่อมต่อกับ Hardware startups

workshop-66823_640

ถ้าให้พูดถึง Hardware Startups มันคือผลผลิตที่เกิดขึ้นจากตัว Startups เพียงแต่ว่ามันไม่ได้อยู่ในรูปแบบของ Tech Startups ที่พัฒนาออกมาเป็นแอปพลิเคชันหรือ Software แต่มันจะอยู่ในรูปแบบของอุปกรณ์หรือ Gadget ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ยกตัวอย่างอุปกรณ์ wearable เช่น Jawbone UP เป็นอุปกรณ์ที่ใส่ไว้ตรงข้อมือหลังจากนั้นตัวมันเองจะทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบการทำงานของร่างกายเรา

อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ Drivebot เจ้าตัวนี้เป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้เชื่อมต่อกับรถได้เหมือนเสียบสาย USB หลังจากนั้นตัว Drivebot จะทำหน้าที่คอยเช็คสภาพรถให้เราผ่านสมาร์ทโฟน ทั้งนี้เจ้าตัวอุปกรณ์เองเป็นผลงานจาก hardware startups เมืองไทยโดยคุณ อรรถพงศ์  ลิมศุภนาค หัวหน้าทีมของ Drivebot

การจะทำธุรกิจเกี่ยวกับ hardware startups มันไม่สามารถทำได้เหมือนกับ tech startups ความต่างมันอยู่ที่ว่า hardware startups ต้นทุนในการสร้างและพัฒนาสูง เมื่อสร้างอุปกรณ์จริงขึ้นมาแล้วมันยากที่จะกลับไปแก้ไขเมื่อมีข้อผิดพลาด ต่างกับ tech startups ตรงที่ว่า ต้นทุนในการทำและพัฒนาไม่สูงและเมื่อทำขึ้นมาแล้วอย่างเช่น แอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถกลับไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตลอด เพราะฉะนั้นแล้วการมีรูปแบบธุรกิจที่ดีย่อมสำคัญมากต่อ hardware startups

Hardware-as-a-Service

ในรูปแบบแรกจะเป็นในลักษณะของการที่ผู้ขายเอาตัว hardware เข้าไปอยู่ในบริการ กล่าวคือเมื่อไหร่ที่เราอยากจะใช้บริการอะไรสักอย่าง ผู้ให้บริการจะให้เราใช้ hardware ที่มาจากตัวผู้ให้บริการนั้นเอง ยกตัวอย่างเช่นเราไปใช้บริการอินเทอร์เน็ตไฮสปีดเจ้าหนึ่ง เราต้องการอินเทอร์เน็ตความเร็ว 15MB ซึ่งต้องเสียค่าบริการ 1000 บาท ต่อเดือน แต่ในกรณีที่เราจะใช้อินเทอร์เน็ตของเจ้านั้นได้ เราก็ต้องใช้ตัวโมเด็มของเขาด้วย กล่าวคือตัวโมเด็มนี้แหละก็คือ hardware ทั้งนี้เราจะสามารถได้เงินจากการขาย hardware ผ่านการให้บริการในรูปแบบต่างๆ รายได้ที่เราได้จะมาจากการเหมารวมอยู่ในค่าบริการรายเดือนแล้ว

Hardware-enabled Services

ข้อนี้จะคล้ายๆ กับกรณีแรกเพียงแต่จะแตกต่างออกไปนิดหน่อย ยกตัวอย่างว่าเราเป็นผู้ขายมือถือ iPhone ลูกค้าของเราอยากจะได้ iPhone พวกเขาเลยมาหาเราที่เป็นตัวแทนจำหน่ายของ Apple ตัว iPhone นี้เองก็ถือว่าเป็น hardware ตัวหนึ่ง เมื่อลูกค้าได้ซื้อสินค้าไปแล้ว เราก็บอกกับลูกค้าว่า ถ้าลูกค้าอยากจะใช้บริการด้านฟังเพลงหรือใช้แอปพลิเคชัน สามารถเข้าไปซื้อได้ใน iTunes หรือ App Store ทั้งนี้มันเป็นทางเลือกของลูกค้าว่าอยากจะใช้บริการหรือไม่ ผู้ให้บริการจะทำรายได้จากการขาย hardware แต่ในทางเดียวกันเราจะใช้หรือไม่ใช่บริการเสริมก็ได้

Consumables

รูปแบบธุรกิจนี้เป็นการขายผลิตภัณฑ์ผ่านผู้จัดจำหน่าย โดยผลิตภัณฑ์ที่ขายนั้นจะต้องผ่านผู้จัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาติ และในอีกทางเลือกหนึ่งก็สามารถซื้อได้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยพยามที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถขายออกได้เรื่อยๆโดยเป็นที่ต้องการอยู่ตลอด เป้าหมายก็คือทำให้เกิดประสิทธิภาพในการขายและความรวดเร็วให้การจัดจำหน่ายโดยเน้นผ่านตัวผู้แทนนั่นเอง

ที่มา: Medium

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Amity Solutions เข้าซื้อกิจการ Tollring ผู้นำด้านระบบวิเคราะห์การโทร เสริมแกร่งผู้นำ GenAI ไทยสู่เวทีโลก

Amity Solutions (ASOL) ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สร้างสรรค์ (GenAI) ชั้นนำของไทย ประกาศเข้าซื้อหุ้นใหญ่ใน Tollring บริษัทผู้ให้บริการชั้นนำด้านการวิเคราะห์การโทรและ...

Responsive image

เปิดคู่มือ CMO ยุค AI กับ 10 แนวทางที่ต้องโฟกัส พลิกโฉมสร้างกลยุทธ์การตลาด สู่ความสำเร็จที่เหนือกว่า

สรุปเนื้อหาจาก Session Future CMOs Guidebook: 10 priorities to focus in the age of AI 10 สิ่งที่ต้องคิดสำหรับ CMO ในยุคสมัยของ AI โดยคุณสโรจ เลาหศิริ จากเพจสโรจขบคิดการตลาด...

Responsive image

Microsoft ร่วม BlackRock ตั้งกองทุน AI มูลค่า 3 ล้านล้าน ลุยแผนพัฒนาเอไอเต็มกำลัง

Microsoft และ BlackRock สองผู้นำในวงการเทคโนโลยีและการเงิน ร่วมกันเปิดตัวกองทุน Global AI Infrastructure Investment Partnership (GAIIP) โดยตั้งเป้าระดมทุนสูงสุดถึง 1 แสนล้านดอลลาร์...