Carbon-neutral คือเทรนด์ใหม่ที่บริษัทหลายแห่งในปัจจุบันให้คำมั่นที่จะจัดการเรื่อง carbon neutral, net-zero หรือแม้กระทั่ง climate positive อย่างเช่นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ที่อ้างว่าเป็นบริษัทแรกที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะได้ยินคำว่า carbon-neutrality, net-zero หรือ climate positive
มาระยะหนึ่ง ทั้งนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาตั้งแต่บริษัทสตาร์ทอัพขนาดเล็ก ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ ได้รวมคำเหล่านี้ไว้กับวัตถุประสงค์ทางการตลาดเสียมากกว่า จนทำให้ผู้บริโภคอาจเกิดความเข้าใจผิดได้ อย่างไรก็ตามหากองค์กรสื่อสารอย่างกระตือรือร้น และชัดเจนจะช่วยสร้างความตระหนัก และการเข้าใจถึงสิ่งที่จะสื่อได้มากขึ้น
ตามเป้าหมายของข้อตกลงปารีส (Paris Climate Agreement) ขณะนี้มีเวลาเหลือเพียง 29 ปี ที่จะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นศูนย์ โดยการกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเราจึงควรมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยาม carbon neutrality ว่าคืออะไร และเพื่อตรวจสอบว่าบริษัทเต็มใจที่จะลดหรือกำจัด carbon footprints จริงหรือไม่ เมื่อพูดถึง carbon neutral ซึ่งทำให้บริษัทจำเป็นต้องเข้าใจคำจำกัดความเหล่านี้
Carbon neutral เป็นศัพท์แห่งปีของ New Oxford American Dictionary ในปี 2006 และได้กลายเป็นคำในกระแสหลักตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตามคำนิยามแล้ว Carbon neutral คือ ความสมดุลระหว่างการปล่อยคาร์บอนและการดูดซับจากแหล่งกักเก็บ หรือเพียงแค่กำจัดการปล่อยคาร์บอนทั้งหมด ซึ่งแหล่งกักเก็บที่ดูดซับคาร์บอนคือ ป่าไม้ พื้นดิน และมหาสมุทรนั่นเอง ตามรายงานของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป แหล่งกักเก็บคาร์บอนทางธรรมชาติได้กำจัด CO2 ระหว่าง 9.5 ถึง 11 Gt ต่อปี แต่จนถึงปัจจุบันไม่มีแหล่งกักเก็บคาร์บอนเทียมใดที่สามารถขจัดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศในระดับที่จำเป็นในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนได้ ดังนั้น เพื่อให้เป็นเกิดความเป็นกลางของคาร์บอน บริษัทต่าง ๆ จึงมีทางเลือกสองทางคือ ลดการปล่อยคาร์บอนลงจนเป็นศูนย์ หรือสร้างสมดุลการปล่อยมลพิษผ่านการชดเชยและการซื้อคาร์บอนเครดิต
Carbon-neutral เปรียบเสมือนมนต์ใหม่ของ Wall Street และบริษัททั่วโลก แต่จะทำให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร อันดับแรกแนะนำให้บริษัทคำนวณ carbon footprint ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยซอฟต์แวร์การจัดการคาร์บอน และเมื่อ carbon footprint ถูกคำนวณ บริษัทจะรู้สึกได้ว่าบริษัทต้องรับมือมากแค่ไหน จากนั้น ลดการปล่อยคาร์บอนโดยการวิเคราะห์ตัวบ่งชี้คาร์บอนที่เลวร้ายที่สุดที่บริษัทปล่อยมลพิษออกมาและดำเนินการตามนั้น และสุดท้ายชดเชยสิ่งที่เหลืออยู่
ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ ดังนั้นการชดเชยจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการทำให้คาร์บอนเป็นกลาง ซึ่งการชดเชยการปล่อยคาร์บอนของบริษัทจะส่งข้อความที่ชัดเจนถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่าบริษัทมุ่งมั่นที่จะปูทางไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน เงินทุนจากการทำให้ carbon footprint เป็นกลางจะมอบเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำให้กับชุมชนที่เสี่ยงต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด อย่างไรก็ตามต้องแน่ใจว่าโครงการชดเชยเหล่านี้มีความโปร่งใสและเกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่นมากน้อยเพียงใด
ตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ carbon-neutral และ net-zero เป็นคำสองคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน ในทั้งสองกรณี บริษัทต่างๆ กำลังทำงานเพื่อลด carbon footprint ให้สมดุลเพราะ carbon-neutral หมายถึงการปรับสมดุลปริมาณการปล่อยคาร์บอนทั้งหมด Net-zero หมายความว่าไม่มีการปล่อยคาร์บอนออกจากจุดเริ่มต้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องดักจับหรือชดเชยคาร์บอนฯ ตัวอย่างเช่น อาคารของบริษัทที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด และการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นศูนย์สามารถระบุว่าพลังงานของบริษัทนั้นเป็น 'คาร์บอนเป็นศูนย์'
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึง ‘net-zero’ จำเป็นต้องระบุเรื่องคาร์บอนเป็นศูนย์ แต่ในทางตรงกันข้าม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ กลับหมายถึงความสมดุลโดยรวมของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ที่ปล่อย GHG ออกจากชั้นบรรยากาศ แม้ว่าแนวคิดทางวิทยาศาสตร์มักใช้กับประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน แต่ก็สามารถนำมาใช้สำหรับองค์กรได้เช่นกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง net-zero อธิบายจุดที่มนุษย์หยุดเพิ่มภาระของก๊าซความร้อนจากสภาพอากาศในชั้นบรรยากาศ
Carbon Negative และ Climate positive เป็นคำสองคำที่คล้ายคลึงกันอีกเช่นกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อบริษัทกำจัดหรือดักจับ CO2 จากชั้นบรรยากาศมากกว่าที่ปล่อยออกมา จากนั้นบริษัทต้องมีการปล่อยคาร์บอนในเชิงลบและส่งผลดีต่อสภาพอากาศ
เมื่อมองให้ลึกลงไป เพื่อให้เกิด Climate Positive บริษัทจำเป็นต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า Carbon Footprint คืออะไรเสียก่อน ตัวอย่างเช่น North Face ต้องการเปิดตัวหมวกที่มี Carbon-positive พวกเขาจะต้องคำนวณปริมาณ Carbon footprint ทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่พลังงานที่จำเป็นในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาและการผลิต จนสิ้นสุด บริษัทจะต้องจัดการกับมาตรการเพิ่มเติมเพื่อดักจับคาร์บอนมากขึ้น ในการทำเช่นนั้น มีทางเดียวเท่านั้นคือ คำนวณการปล่อยคาร์บอนฯ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่างๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้อย่างมาก
ในขณะที่การกลายเป็นองค์กร Carbon-neutral หรือ Climate poistive ที่กลายเป็นเทรนด์ใหม่ บางบริษัทก็มองเห็นและมีแนวโน้มที่จะลบอดีตทั้งหมดทิ้งไป ดังเช่น Microsoft เป็นหนึ่งในบริษัทใหญ่รายแรก ๆ ที่ประกาศ ตามด้วย Google เนื่องจากสหภาพยุโรปมีเป้าหมายที่จะเป็นทวีปแรกที่เป็นกลางทางคาร์บอน บริษัทต่างๆ จึงต้องดำเนินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน
ดังนั้นในตอนนี้ หลายบริษัทอาจจะคุ้นเคยกับคำศัพท์อย่าง Carbon neutral, Climate positive และ Net-zero กันมาบ้างแล้ว จึงถึงเวลาแล้วที่จะบรรลุขั้นตอนที่ยั่งยืนต่อไป ด้วยการคำนวณและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของบริษัทอย่างเป็นรูปธรรม
อ้างอิง Plan A
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด