CENTEL ครึ่งปีแรก 2563 ขาดทุนกว่า 500 ล้านบาท หลังเจอพิษ COVID-19 กระทบหนัก | Techsauce

CENTEL ครึ่งปีแรก 2563 ขาดทุนกว่า 500 ล้านบาท หลังเจอพิษ COVID-19 กระทบหนัก

บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่า จำกัด (มหาชน) หรือ  CENTEL รายงานผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2563 โดยบริษัทฯมีรายได้รวม 6,937.6 ล้านบาท ลดลง 3,931.0 ล้านบาท หรือ 36.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้อยู่ที่ 10,868.6 ล้านบาท โดยสัดส่วนของรายได้จากธุรกิจโรงแรมต่อรายได้จากธุรกิจอาหาร อยู่ที่ 28% : 72% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจะอยู่ที่ 44% : 56%

centel

ทั้งนี้ใน 6 เดือนแรกของปี 2563 บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิ 510.6 ล้านบาท ลดลง 1,568.9 ล้านบาท หรือ 148.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากไม่รวมรายการพิเศษการตั้งสํารองด้อยค่าของสินทรัพย์, เงินชดเชยความเสียหายจากประกัน (สุทธิจากภาษี เงินได้), ผลกระทบการตั้งสํารองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานตามกฎหมายแรงงานใหม่ และไม่รวมผลของการ เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี บริษัทฯจะมีขาดทุนสุทธิจากการดําเนินงานปกติ 518.2 ล้านบาท ลดลง 1,554 ล้าน บาท หรือลดลง 150.0%

วิเคราะห์ผลการดำเนินงานรายธุรกิจ

ธุรกิจโรงแรม 

มาตรการปิดเมืองปิดประเทศในช่วงต้นไตรมาส 2 ส่งผลต่อธุรกิจท่องเที่ยวอย่างมาก เนื่องจากการท่องเที่ยว และการโรงแรมไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่าวชาติเป็นหลัก ทั้งนี้โรงแรมในเครือเซ็นทาราที่บริษัทลงทุนเองได้เริ่มทยอยปิดชั่วคราวในเดือนเมษายนทั้ง 16 โรงแรม คงเหลือไว้แต่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอก คอนเวนชันเซ็น เตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อรองรับบุคคลากรทางการแพทย์ และโรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวน ชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ได้เปิดให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าบริษัทเอกชนเป็นหลัก

อย่างไรก็ดี จากมาตรการที่เข้มงวดของภาครัฐในการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 สามารถควบคุมสถานการณ์ การแพร่ระบาดได้ตามลําดับ และต้นเดือนพฤษภาคม 2563 รัฐบาลเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองต่าง ๆ ในเดือน มิถุนายน 2563 บริษัทฯ ได้เริ่มทยอยเปิดดําเนินการโรงแรมที่ลงทุนเอง โดยเปิดโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รี สอร์ท พัทยา เป็นแห่งแรก

โดยธุรกิจโรงแรมในช่วง 6 เดือนแรกของปี  2563 มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,935.7 ล้านบาท ลดลง 2,820.7 ล้านบาท หรือลดลง 59.3% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราการเข้าพัก (OCC) ลดลง จาก 78.1% เป็น 31.4% ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) เพิ่มขึ้น 5.3% เทียบปีก่อนอยู่ที่ 5,100 บาท ส่งผลให้รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) ลดลง 57.7% เทียบปีก่อนอยู่ที่ 1,600 บาท

กรุงเทพฯ : รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) ลดลง 72.0% อยู่ที่ 681 บาท เนื่องจากการลดลงของอัตราการเข้าพัก (OCC) จาก 78.6% เป็น 26.5% ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ย อยู่ที่ 2,570 บาท ลดลง 16.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ต่างจังหวัด: รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) ลดลง 53.8% เป็น 1,555 บาท เป็นผลจากอัตราการเข้าพัก (OCC) ลดลง 17.1% เป็น 33.4% ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) เพิ่มขึ้น 6.5% เป็น 4,648 บาท 

มัลดีฟส์: รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) ลดลง 55.0% เทียบกับปีก่อนโดยอัตราการ เข้าพัก (OCC) ลดลงจาก 85.9% เป็น 35.5% แต่ราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) เพิ่มขึ้น 8.9% เทียบกับปีก่อน เป็น 18,979 บาท ทั้งนี้ หากพิจารณาในสกุลดอลลาร์สหรัฐ รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) ลดลง 54.2% เทียบกับปีที่ผ่านมา

ธุรกิจอาหาร 

บริษัทฯ มีรายได้จากธุรกิจอาหารรวม 5,001.8 ล้านบาท ลดลง 1,110.4 ล้านบาท หรือลดลง 18.2% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2562 การลดลงจากรายได้เป็นผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ในไตรมาส 2 เป็นหลัก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลดลงของยอดขายของสาขาเดิม (Same-Store-Sales : SSS) ซึ่งมีอัตราการลดลงเฉลี่ย 23% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ -2.8% โดยยอดขายรวมของ 4 แบรนด์หลัก (Total-System Sales: TSS) มีอัตราการลดลงอยู่ที่ 16% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

รายงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า (TFRS 16) บริษัทฯ มีกําไรก่อน ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจําหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (EBITDA) อยู่ที่ 1,120.8 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนต่อรายได้รวม (% EBITDA) อยู่ที่ 22.4% และ มีขาดทุนสุทธิจากการดําเนินงาน 5.8 ล้านบาท โดยในภาพรวมผลกระทบจากการรายงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า (TFRS 16) ทําให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิ ลดลง ทั้งสิ้น 61.9 ล้านบาท

ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการดําเนินงานปี 2563

การบริหารจัดการสภาพคล่อง 

บริษัทฯ ได้ดําเนินการขอวงเงินสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ ทั้งวงเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาวรวม 5.5 พันล้านบาท โดยมีวงเงินที่ยังไม่เบิกรวมประมาณ 4.0 พันล้านบาท ประกอบกับเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่สามารถใช้ได้ประมาณ 2.9 พันล้านบาท ณ 30 มิถุนายน 2563 ซึ่งเพียงพอในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายสําหรับกิจกรรมในการดําเนินงานกรณีสถานการณ์การแพร่ ระบาดยังคงไม่คลี่คลายไปจนถึงกลางปีหน้า

ธุรกิจโรงแรม 

ได้รับการต่อสัญญาเช่าที่ดิน อาคาร และทรัพย์สินของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์บีชรีสอร์ทและวิลลา หัวหินกับการรถไฟแห่งประเทศไทยภายหลังสิ้นสุดสัญญาวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 อีก 2 ปี สิ้นสุด 15 พฤษภาคม 2565 โดยอัตราค่าเช่าใหม่ปรับเพิ่มขึ้น 5% ต่อปีจากอัตราเดิม และมีเงื่อนไขส่วนลดค่าเช่า หากผลการดําเนินงานของโรงแรมสะสมยังคงติดลบ โดยส่วนลดค่าเช่าสูงสุด 50% ภายในระยะเวลา 1 ปีแรก และส่วนลดค่าเช่าสูงสุด 30% ในอีก 6 เดือนถัดไป 

การปิดปรับปรุงโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บีชรีสอร์ท สมุย คาดว่าจะเปิดดําเนินการในไตรมาส 1 ปี 2554 หลังปิดปรับปรุงตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2562 ปัจจุบันความคืบหน้างานก่อสร้างประมาณ 50% โดยมี ปรับเปลี่ยนจากเดิมโรงแรมระดับ Upper Upscale เป็นโรงแรมระดับ Luxury ด้วยจํานวนห้องลดลงจากเดิม 203 ห้องเป็น 184 ห้อง เนื่องจากการปรับเพิ่มขนาดห้องพักให้ใหญ่ขึ้น 

ทยอยปิดปรับปรุงห้องพักโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอก คอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ จํานวน 512 ห้อง ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562 ปัจจุบันความคืบหน้างานก่อสร้างประมาณ 56% โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในภายในสิ้นปี 2563 

บริษัทได้เริ่มทยอยเปิดดําเนินการโรงแรมตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ตามที่ได้กล่าวข้างต้น โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดูจากจํานวนการจองห้องพักล่วงหน้า ประกอบกับประมาณการกําไรขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งหากเปิดดําเนินการแล้วโรงแรมนั้นจะต้องมีผลการดําเนินงานที่ไม่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุน หรืออย่างน้อยต้องขาดทุนน้อยกว่ากรณีปิดดําเนินการ 

อย่างไรก็ดี แม้โรงแรมที่กลับมาเปิดดําเนินการแล้ว ก็ยังคงต้องใช้มาตรการลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริหารจัดการพนักงานเท่าที่จําเป็นเพื่อให้เหมาะสมกับปริมาณงาน

ธุรกิจอาหาร 

การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งเริ่มในประเทศจีนตั้งแต่ปลายปี 2562 เป็นต้นมา และมีการระบาดไปทั่วโลก จนถึงปัจจุบันนั้น ได้ส่งผลกระทบกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และรายได้ของธุรกิจอาหารของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก จากการประมาณการโดยสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีการคาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ (-6.0) - (-5.0)

ถึงแม้ปัจจุบัน สถานการณ์ระบาดในประเทศไทยจะเริ่มคลี่คลาย และรัฐบาลได้มีมาตรการผ่อนปรน หรือ คลายล็อคดาวน์เป็นระยะแล้วนั้น ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังไม่ได้กลับมาอยู่ในระดับก่อนการเกิดโรคระบาด ดังจะเห็นได้ว่า ธุรกิจอาหารโดยเฉพาะในส่วนของการรับประทานในร้าน ยังไม่ได้กลับมาในภาวะปกติอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ดีแนวโน้มยอดขายในเดือน มิถุนายน และ กรกฎาคม ที่ผ่านมามีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลําดับ

จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ผ่านมา และสถานการณ์การระบาดในหลายประเทศ ทําให้บริษัทฯ มีการเตรียมตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเพื่อที่จะบริหารจัดการกระแสเงินสดของบริษัทฯ ได้อย่างเหมาะสม โดยบริษัทฯ จะเน้นใน 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่ การสร้างรายได้ ลดต้นทุน และระมัดระวังในการลงทุนขยายธุรกิจ 

สําหรับแผนสําหรับการสร้างรายได้ นั้น บริษัทฯ ยังคงเน้นการขยายช่องทางการขายอาหารและพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางการจําหน่าย และทางเลือกให้ผู้บริโภคเพิ่มขึ้น โดยช่องทางที่บริษัทฯคาดว่ายังคงจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การ ขายผ่านช่องทาง delivery ทั้งผ่านช่องทาง “1312 Food Hunt” ซึ่งเป็น on-line delivery application ของบริษัทฯเอง และ ผ่านทาง food aggregators อื่นๆ 

ในส่วนของการบริหารจัดการต้นทุน บริษัทฯ ได้มีการปรับโครงสร้างพนักงานโดยเพิ่มสัดส่วนพนักงานชั่วคราวต่อพนักงานประจํา เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการต้นทุน สําหรับการลงทุนขยายสาขาในปีนี้จะเป็นการเน้นขยายสาขาในแบรนด์หลัก โดยจะเน้นการขยายสาขานอกห้างและพัฒนาธุรกิจโมเดลใหม่ ๆ ได้แก่ cloud kitchen

แนวโน้มธุรกิจปี 2563 

ธุรกิจโรงแรม

การฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรมหลังจากทยอยเปิดดําเนินการอีกครั้งจะค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากยังต้องพึ่งอุปสงค์จากนักท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งสถานที่เที่ยวที่นิยมจะไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก เช่น พัทยาและหัวหิน จะมีอัตราการเข้าพักสูงในช่วงสุดสัปดาห์และช่วงวันหยุดยาว แต่ช่วงระหว่างสัปดาห์อัตราการเข้าพักไม่สูงมากนัก 

ส่วนโรงแรมในกรุงเทพฯ จะต้องอาศัยการฟื้นตัวของการจัดงานประชุมสัมมนาเป็นสําคัญ สําหรับโรงแรมในต่างจังหวัดที่ห่างไกลกรุงเทพฯ เช่น ภูเก็ต สมุย ซึ่งพึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก เช่นเดียวกับโรงแรมที่มัลดีฟส์จะเริ่มทยอยเปิดในช่วง ท้ายไตรมาส 3 และอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับอัตราการจองห้องพักล่วงหน้า ดังนั้น ภาพรวมรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) ปี 2563 (ไม่รวมโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บีชรีสอร์ท สมุยและโรงแรม โคซี่ พัทยา วงศ์อมาตย์ บีช) คาดว่าจะลดลงประมาณ 60% เทียบปีก่อน อัตราการเข้าพักเฉลี่ย (OCC) ประมาณ 30%-35% 

ธุรกิจอาหาร

บริษัทฯ คาดว่าในปี 2563 อัตราการเติบโตจากสาขาเดิม (Same-Store-Sales: SSS) และอัตราการเติบโตของยอดขายรวมทุกสาขา (Total-System-Sales: TSS) จะลดลงประมาณ 16%-18% และ 12% ตามลําดับ เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา สําหรับการเติบโตของจํานวนสาขา บริษัทฯ คาดว่าจะมีจํานวน สาขาเพิ่มขึ้นสุทธิ 50-70 สาขา



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

WHA Group ผนึก ’Green Mobility‘ กลุ่มธุรกิจที่ 5 ตั้งธง 5 ปี รายได้ 1.5 แสนล้าน

WHA Group เปิดเผยว่า ปี 2568 มุ่งเน้นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งใน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ครอบคลุมธุรกิจล่าสุดอย่าง Mobility โดยพัฒนาเป็นโซลูชันกรีนโลจิสติกส์ครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ภายใต้...

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

‘HoriXon T8' ธุรกิจใหม่ใต้ปีก TIPH x BE8 สู่ฮับ AI-Powered Insurance ภูมิภาค

TIPH จับมือ BE8 เปิดตัว HoriXon T8 หรือ 'T8' บริษัท ฮอไรซอน ที 8 จำกัด เพื่อปฏิวัติ Insurance Ecosystem ให้อุตสาหกรรมประกันภัย ด้วย AI-Powered Digital Transformation...