Mark Zuckerberg จาก Facebook, Jack Dorsey จาก Twitter และ Sundar Pichai จาก Alphabet ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Google เตรียมให้ปากคำต่อสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ในประเด็น fake news ที่มีการเผยแพร่บนแพลตฟอร์ม รวมถึงจะมีการพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อคุ้มครองบริษัทเทคจากการที่มีผู้ใช้ปล่อย fake news บนแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน
ก่อนหน้านี้ CEO ทั้ง 3 คนนั้นได้มีการยื่นคำให้การแบบลายลักษณ์อักษรไปให้แก่คณะกรรมาธิการพลังงานและพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา โดยฝั่งของ Facebook และ Twitter นั้นได้ยื่นไปในประเด็นที่ว่า แพลตฟอร์มออนไลน์ของพวกเขาส่งผลต่อสังคมในวงกว้างอย่างไรบ้าง
สำหรัยการเข้าให้ปากคำต่อสภาคองเกรสในครั้งไม่ใช่ครั้งแรกของเหล่าผู้บริหารจากบริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่ เพราะถ้าหากนับแค่ Mark Zuckerberg คนเดียวนั้นก็ถือเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ส่วน Jack Dorsey และ Sundar Pichai เป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่กรกฎาคมปีที่แล้ว เรามาดูกันว่าในครั้งนี้ทั้ง 3 บริษัทเทคได้ยื่นคำให้การอะไรให้กับสภาคองเกรสในการพิจารณาประเด็น fake news
สำหรับ Mark Zuckerberg เขาต้องการจะชี้แจงว่าพวกข้อมูลเท็จต่าง ๆ ที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Facebook จะมีเพียงแค่ 6% เท่านั้นที่ผู้ใช้งานในสหรัฐจะเห็นในกระดานข่าว และในส่วนของข้อมูลที่มีเนื้อความเกี่ยวกับความเกลียดชังมีจำนวนเพียง 0.08% เท่านั้น ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก ๆ บนกระดานข่าวของ Facebook
โดยทาง Facebook ได้ร่วมมือกับสำนักข่าวท้องถิ่น และหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ในการเผยแพร่ข่าวสารสำคัญ ๆ อย่างการเลือกตั้ง และ COVID-19 อีกทั้งยังมีการใช้งาน fact-checkers ในการตรวจจับโพสต์ เพจ หรือกลุ่มที่ให้ข้อมูลเป็นเท็จอีกด้วย
นอกจากนี้ Zuckerberg ยังมีแผนที่จะอธิบายการลบข้อมูลที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเกลียดชังออกจากแพลตฟอร์ม Facebook ซึ่งมี 250 กลุ่มเกี่ยวกับกลุ่มชาตินิยมขวาจัดอย่าง กลุ่ม White supremacist และลบ 890 คอนเท้นต์ที่เกี่ยวข้องกับการทหาร รวมถึงกลุ่ม Proud Boys
ท้ายที่สุด Zuckerberg จะมีการเสนอให้สภาคองเกรสพิจารณาเปลี่ยนแปลงกฎหมายคุ้มครองบริษัทโซเชียลมีเดีย ที่บริษัทโซเชียลมีเดียที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่โพสต์โดยผู้ใช้งาน โดยจะต้องมาโฟกัสที่ความโปร่งใส และเอื้อให้บริษัทในการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ และผิดกฎหมายมากกว่า
ในฟากของ Twitter ทาง Jack Dorsey ก็เตรียมที่พูดในประเด็นของ ความไว้ใจต่อแพลตฟอร์ม (Trust deficit) ในคำให้การแบบลายลักษณ์อักษรทาง Dorsey ได้แจ้งว่าทาง Twitter จะสนับสนุนเรื่องความโปร่งใส่ และยุติธรรม อีกทั้งจะให้ผู้ใช้งานเป็นคนจัดการเรื่องความปลอดภัยส่วนบุคคลได้เอง
และตอนนี้ Twitter ก็กำลังทำโปรเจกต์ที่จะเข้ามาช่วยเรื่องการจัดการข้อมูลเท็จบนแพลตฟอร์ม โดยมี Birdwatch ที่เป็นโปรแกรมนำร่อง โดยผู้ใช้งานสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้บนทวีตที่พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ หรือเป็นข้อมูลที่ผิด และมีโปรเจกต์ Bluesky ที่จะเปิดให้ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียทุกคนมี Decentralized standards ในการใช้งานแพลตฟอร์มต่าง ๆ
ส่วน Google นั้น ทาง Pichai ได้มีการลงทุนกับทางนักข่าว แหล่งข้อมูล รวมทั้งองค์กรต่าง ๆ ให้มานำเสนอข่าว ทั้งเรื่องการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 และเรื่องของ COVID-19 เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
สำหรับการปรับปรุงกฎหมายความเหมาะสมด้านการสื่อสาร (Communications Decency Act) มาตรา 230 ที่ทั้ง Pichai และ Zuckerberg ให้ความสำคัญนั้น ทาง Google มองว่าการเปลี่ยนแปลงที่ได้เสนอไปก่อนหน้านี้นั้นมันอาจจะส่งผลกระทบด้านลบ จะทำให้แพลตฟอร์มขาดความรับผิดชอบ และไม่สามารถควบคุมดูแลข้อมูลเท็จต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มได้
ทั้งนี้ Pichai ได้เสนอว่า แพลตฟอร์มต่าง ๆ ควรจะโฟกัสเรื่องความโปร่งใส่ และความเป็นธรรมกับนโยบายของตัวเอง และยังกล่าวว่า สำหรับ Google เองก็ให้ความสำคัญเรื่องความโปร่งใส่ในการให้บริการ และต้องการจะให้ทั้งอุตสาหกรรมนี้ทำแบบนี้เช่นกัน
อ้างอิง: CNBC
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด