ไม่ได้ก็ไม่เอา จีนเลิกพึ่งชิปจากสหรัฐฯ จีบญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หาซัพพลายเออร์ใหม่ | Techsauce

ไม่ได้ก็ไม่เอา ชิปจีนเลิกพึ่งสหรัฐฯ จีบญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หาซัพพลายเออร์ใหม่

อุตสาหกรรมชิปจีนจะไม่พึ่งพาอเมริกาอีกต่อไป เพราะล่าสุดบริษัทชิปชั้นนำของจีนอย่าง SMIC และ CXMT ประกาศเดินหน้าเต็มกำลังในการหาซัพพลายเออร์ท้องถิ่นเพื่อซื้อขายส่วนประกอบที่ใช้ผลิตชิป ลดการพึ่งพาสหรัฐอเมริกา พร้อมเร่งหารือพันธมิตรใหม่อย่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น

อุตสาหกรรมชิปจีนจะพึ่งพาตัวเอง

ย้อนไปเมื่อปี 2020 บริษัท SMIC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในจีนถูกเพิ่มเข้าไปใน U.S. Entity List ซึ่งเป็นบัญชีดำด้านการค้า ที่ดูแลโดยกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา บริษัทที่มีชื่อติดในบัญชีเหล่านี้จะถูกจำกัดการซื้อขายผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และซอฟต์แวร์ที่ผลิตในสหรัฐฯ

ทำให้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว SMIC เร่งดำเนินการเพื่อหาซัพพลายเออร์รายใหม่ในท้องถิ่น โดยค้นหาผ่านการขอให้ลูกค้าที่ใช้บริการการผลิตชิปของบริษัทช่วยตรวจสอบและแนะนำซัพพลายเออร์ให้ 

ในฝั่ง CXMT บริษัทชั้นนำของจีนที่ผลิต DRAM (หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง) ก็เร่งมือค้นหาและใช้ซัพพลายเออร์ในท้องถิ่น แทนการพึ่งพาซัพพลายเออร์จากต่างประเทศด้วยเช่นกัน

โดยส่วนประกอบสำคัญที่บริษัทชิปจีนต้องหาใหม่ ได้แก่ แผ่นเวเฟอร์, และส่วนผสมทางเคมี อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่ากังวลคือ หากเปลี่ยนซัพพลายเออร์ใหม่ก็เท่ากับว่าต้องเปลี่ยนสูตรทางเคมีใหม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อจำนวนชิปที่จะผลิตได้น้อยลง 

หารือพันธมิตรใหม่ในประเทศเอเชีย?

แม้ด้านสหรัฐฯ หวังว่าพันธมิตรของตน เช่น ญี่ปุ่น จะจำกัดการเข้าถึงส่วนประกอบชิปขั้นสูงกับจีนด้วยเช่นเดียวกัน แต่เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 จีนได้เข้าหารือด้าน Supply Chain กับพันธมิตรสหรัฐฯ อย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อีกครั้งในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปี 2019

ในการประชุมสุดยอดผู้นำของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน มี Yoon Suk Yeol ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้, Li Qiang นายกรัฐมนตรีของจีน, และ Fumio Kishida นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ร่วมพูดคุยกันถึงการวางแผนการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ต่อทั้งสามประเทศ 

ครั้งหนึ่งข้อตกลงการค้าเสรีเคยมีการพูดคุยกันไปแล้วเมื่อปี 2012 แต่ต้องหยุดชะงักไปในปี 2019 จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปีนี้จีนจึงจะมาสานต่อ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศจีนอ่อนแอมาก 

ในปัจจุบัน ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการค้าที่เรียกว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่เริ่มเอาไว้ในปี 2022 และข้อตกลงการค้าเสรีใหม่ที่พูดคุยกันจะถูกเรียกว่า RCEP Plus ซึ่งมีผลประโยชน์ทางการค้าที่เหนือกว่าเดิม

ด้านญี่ปุ่นขอให้จีนลดการอัดจีนเงินและให้สิทธิพิเศษแก่รัฐวิสาหกิจ เพราะอาจนำไปสู่การผลิตสินค้ามากเกินไปซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในตลาดได้ รวมถึงลดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดในธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ทำให้การเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างประเทศให้ปลอดภัยเป็นเรื่องยาก เช่น ยกเลิกให้บริษัทต่างชาติเปิดเผยซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์ของบริษัท เป็นต้น

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น Fumio Kishida เชื่อว่าขณะนี้จีนเต็มใจที่จะแก้ไขปัญหาที่สำคัญและเดินหน้าการเจรจาต่อไป 

ในช่วงนี้ประเทศตะวันตกมีความกังวลเกี่ยวกับการที่จีนที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแผงโซลาร์เซลล์มากเกินไป เพราะการสนับสนุนของรัฐบาล ทำให้เกิดปัญหากับญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าสินค้าราคาถูกเหล่านี้กำลังส่งผลกระทบต่อตลาดโลก

จึงถือเป็นการเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองอย่างมาของเศรษฐกิจโลกในปี เนื่องจากกับเปลี่ยนแปลง Supply Chain ครั้งใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ในจีนจะต้องส่งผลต่อธุรกิจอื่นๆ ในตลาดโลกอย่างแน่นอน รวมถึงพันธมิตรใหม่ในข้อตกลงการค้าเสรี อาจเป็นโอกาสสำหรับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่จะขอให้จีนปฏิบัติตามกฎการค้าที่เป็นธรรมมากขึ้น

อ้างอิง: asia.nikkei [1], asia.nikkei [2], asia.nikkei [3]

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

LINE MAN ประกาศจุดยืนทางธุรกิจใหม่ "ถูกสุดทุกวัน" พร้อมตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดฟู้ดเดลิเวอรีไทย

LINE MAN Wongnai ผู้นำในวงการฟู้ดเดลิเวอรีของไทย จัดงานแถลงทิศทางธุรกิจครั้งใหญ่ในวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ณ Quartier Avenue ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ โดยประกาศ Positioning ใหม่ "ถู...

Responsive image

’การบินไทย‘ กางไทม์ไลน์ฟื้นฟูกิจการ เตรียมสยายปีกกลับตลาด SET

การบินไทย ก้าวข้ามวิกฤตเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ และดำเนินการตามแผนโดยไม่เกิดเหตุผิดนัด สเต็ปต่อจากนี้ บริษัทวางกลยุทธ์ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการอย่างไร เพื่อพาการบินไทยกลับเข้ามาซื้อขายหุ...

Responsive image

SME ไทยรับมือกับความยั่งยืนอย่างไรดี ? รู้จัก UOB Sustainability Compass ตัวช่วย SMEs เริ่มต้นเส้นทางแห่งความยั่งยืน

ยุคนี้ธุรกิจต้องคำนึงถึงความยั่งยืน หรือ ESG (Environmental, Social, Governance) ไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่เป็นสิ่งที่ลูกค้า คู่ค้า และนักลงทุน ก็ให้ความสำคัญ จากผลสำรวจ UOB Business Outl...