จุฬาฯ รับอาสาสมัคร ร่วมทดลองวัคซีน ChulaCov19 ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA

จุฬาฯ ประกาศรับสมัครอาสาสมัครสุขภาพดี ร่วมโครงการทดลองฉีดวัคซีนจุฬาคอฟ 19 (ChulaCov19) จำนวน 2 เข็ม เพื่อหาปริมาณวัคซีนที่เหมาะสมและประเมินความปลอดภัยในการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

chulacov19 สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ อาสาสมัครสุขภาพดี กลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 18-55 ปี และกลุ่มผู้สูงวัย อายุ 65-75 ปี การศึกษาทดลองครั้งนี้เป็นการศึกษาระยะที่ 1 ต่อเนื่องระยะที่ 2 เพื่อหาขนาดปริมาณวัคซีนที่เหมาะสม และประเมินความปลอดภัยในการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนจุฬาคอฟ 19 ของกลุ่มผู้ใหญ่สุขภาพดี

โดยอาสาสมัครต้องฉีดวัคซีนทั้งหมด 2 เข็ม  เมื่อฉีดเข็มแรกแล้ว จะฉีดเข็มที่ 2 โดยเว้นระยะห่างกัน 21 วัน หลังจากนั้นจะมีการติดตามอาการผ่านทางโทรศัพท์ 4 ครั้ง และติดตามผ่านการมาพบที่ศูนย์วิจัยจุฬาฯ 8 ครั้ง รวมระยะเวลา  1 ปี วัคซีน ChulaCov19 เป็นวัคซีนต้านไวรัส COVID-19  ด้วยเทคโนโลยี mRNA ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับ Pfizer-BioNtech และ Moderna ของสหรัฐอเมริกาที่ได้มีการทยอยฉีดให้กับประชากรทั่วโลก สำหรับของประเทศไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาโดยทีมคนไทยเอง ล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้ประสบความสำเร็จในการทดลองในหนู โดยวัคซีนสามารถป้องกันโรค COVID-19 และลดจำนวนเชื้อได้อย่างมากในหนูทดลอง อีกทั้งวัคซีน ChulaCov19 สามารถเก็บได้ในอุณหภูมิตู้เย็นปกติ  2-8 องศาเซลเซียส อย่างน้อยหนึ่งเดือน 

สำหรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีน mRNA ของจุฬาฯในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันวัคซีนแห่งชาติ, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนศตวรรษที่สอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคจากสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ กองทุนบริจาควิจัยวัคซีน สภากาชาดไทย

ท่านใดที่สนใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครสามารถสมัครได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย หากผ่านเกณฑ์ทางจุฬาจะติดต่อกลับไปอีกครั้ง



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เริ่มแล้ว! Amazon ปล่อยดาวเทียมสู่อวกาศ ลุยตลาดอินเทอร์เน็ต แข่ง Starlink ของ Elon Musk

โปรเจกต์ Kuiper ถือเป็นความพยายามครั้งใหญ่ของ Amazon ในการสร้างเครือข่ายดาวเทียมสำหรับให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยจะเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Starlink ของ Elon Musk ปัจจุบันมีดาวเที...

Responsive image

เปิดตัว Biomass ดาวเทียมช่วยวัดคาร์บอนในป่าแม้มีเมฆบัง

ดาวเทียม Biomass ถูกออกแบบมาเพื่อภารกิจสำคัญ นั่นคือการ 'มองทะลุเมฆและยอดต้นไม้' เพื่อวัดว่าต้นไม้สามารถกักเก็บคาร์บอนในป่าได้มากแค่ไหน ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์เข้าใจบทบาทของป่าไม้ในการ...

Responsive image

ซีอีโอ Anthropic ตั้งเป้า ต้องเข้าใจ "สมองของ AI" ให้ได้ภายในปี 2027

Anthropic ตั้งเป้าเข้าใจวิธีคิดของ AI ให้ได้ภายในปี 2027 หวัง "ถอดรหัสสมอง AI" เพื่อความปลอดภัยของสังคมและการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ...