โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มต้นทดลองฉีดวัคซีน ChulaCov19 ให้กับอาสาสมัครสุขภาพดี กลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 18-55 ปี จำนวน 36 คน และกลุ่มผู้สูงวัย อายุ 65-75 ปี จำนวน 36 คน รวมทั้งสิ้นทดลองกับอาสาสมัคร 72 คน เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 เป็นวันแรก
ในการทดลองฉีดระยะแรกนี้ จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยในการรับวัคซีน 10 ไมโครกรัม, 25 ไมโครกรัม และ 50 ไมโครกรัม เพื่อดูว่าวัคซีน ChulaCov19 มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ปริมาณเท่าไร เนื่องมาจากปัจจุบัน Moderna มีการใช้วัคซีนปริมาณ 100 ไมโครกรัม และ Pfizer-BioNtech ใช้ 30 ไมโครกรัม ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับ ChulaCov19 หลังจากทราบปริมาณที่เหมาะสมกับคนไทยแล้ว จึงจะเข้าสู่การทดสอบทางคลินิกระยะที่ 2
โดยการทดลองในครั้งนี้ เป็นทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 ที่ทดสอบกับมนุษย์ หลังประสผลสำเร็จในการทดลอง โดยสามารถยับยั้งเชื้อ และสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง ส่วนระยะที่ 2 จะทำการทดสอบกับคนจำนวน 150-300 คน โดยคาดว่าเริ่มต้นฉีดได้ประมาณเดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นไป
สำหรับการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ เอกชน พร้อมด้วยภาคประชาชน ทั้ง สถาบันวัคซีนแห่งชาติ, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), ทุนศตวรรษที่สอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคจากสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ กองทุนบริจาควิจัยวัคซีน สภากาชาดไทย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด