Cisco เผย ‘แผนปฏิบัติการสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต’ เร่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ใน ASEAN | Techsauce

Cisco เผย ‘แผนปฏิบัติการสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต’ เร่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ใน ASEAN

  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่ออุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก และทำให้ภูมิภาคอาเซียนต้องเสี่ยงต่อการสูญเสียด้านการแข่งขันในเรื่องแรงงานราคาถูก
  • ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยสร้างมูลค่าราว 670 พันล้านดอลลาร์ หรือ 21 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีของภูมิภาค และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2571
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็น “ประตูสู่โอกาสที่สำคัญ” สำหรับผู้ผลิตระดับภูมิภาคที่สามารถใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม
  • ผู้ผลิตจะต้องปรับใช้แนวทางแบบรอบด้าน เริ่มจากการวินิจฉัยปัญหาในแต่ละจุด การระบุกรณีการใช้งานเทคโนโลยี 4IR ที่เหมาะสม  การดำเนินโครงการนำร่องโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพให้แก่องค์กร

ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) โดยสร้างมูลค่าราว 670 พันล้านดอลลาร์ หรือ 21 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีของภูมิภาคนี้ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2571

นอกจากนี้ ภูมิภาคอาเซียนยังอาจสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกราว 250 พันล้านดอลลาร์ถึง 275 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2571 โดยเป็นการเพิ่มขึ้น 35 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเพิ่มในการผลิต ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และการสร้างช่องทางรายได้เพิ่มเติม เช่น การผลิตสินค้าใหม่ๆ และการปรับปรุงคุณภาพ ด้วยการปรับใช้เทคโนโลยียุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution หรือ 4IR)

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็น “ประตูสู่โอกาสที่สำคัญ” ของภูมิภาค ASEAN

ความแพร่หลายของเทคโนโลยี 4IR ก่อให้เกิดภัยคุกคามที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตของภูมิภาคนี้ รวมถึงศักยภาพในการเติบโต โดย 5 เทคโนโลยีที่หลักที่ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในห่วงโซ่มูลค่าด้านการผลิตคือ Internet of Things (IoT), ปัญญาประดิษฐ์ (AI), ระบบการพิมพ์ 3 มิติ, หุ่นยนต์, อุปกรณ์สวมใส่

ข้อได้เปรียบจากต้นทุนต่ำของผู้ผลิตในอาเซียนค่อยๆ ถูกทำลายลง เนื่องจากคู่แข่งในประเทศพัฒนาแล้วใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อลดต้นทุน เพิ่มความรวดเร็ว ปรับปรุงคุณภาพ และรองรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ถือเป็น “ประตูสู่โอกาสที่สำคัญ” สำหรับผู้ผลิตระดับภูมิภาคที่ได้ใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติดิจิทัลอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตในอาเซียน สามารถพัฒนาอย่างก้าวกระโดดสู่อุตสาหกรรมการผลิตระดับโลก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตในอาเซียน จะต้องเร่งการปรับใช้เทคโนโลยี 4IR ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถก้าวตามคู่แข่งได้ทัน

นอกจากนี้ ภาครัฐนับว่ามีบทบาทสำคัญในการผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิต อย่างไรก็ตามประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียน รวมถึงรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น ยังไม่พร้อมสำหรับการปฏิวัติทางด้านดิจิทัล โดยยังขาดมาตรการที่ชัดเจนในการสนับสนุนโครงการด้านเทคโนโลยีสำหรับภาคการผลิต

ความท้าทายสำคัญที่ผู้ผลิตชั้นนำในภูมิภาคนี้ต้องเผชิญก็คือ จะทำอย่างไรเพื่อเร่งการปรับใช้เทคโนโลยีที่มีโครงสร้างชัดเจนและสามารถสร้างมูลค่าที่เป็นรูปธรรมได้?

3 คำถามที่สำคัญ สำหรับการดำเนินการด้าน 4IR ให้ประสบผลสำเร็จ

  1. มีโอกาสทางด้าน 4IR ระยะสั้นอะไรบ้างที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับบริษัท?
  2. จะสามารถปรับใช้โซลูชั่นในลักษณะที่เป็นโครงสร้างและมีความยั่งยืนได้อย่างไร?
  3. จะสามารถจัดการกับปัญหาการดำเนินงานที่หยุดชะงักเพื่อรักษาความต่อเนื่องของธุรกิจได้อย่างไร?

เพื่อตอบคำถามเหล่านี้และรองรับการดำเนินการด้าน 4IR ให้ประสบผลสำเร็จ ผู้ผลิตจะต้องปรับใช้แนวทางที่รอบด้านซึ่งผสานรวมการดำเนินการระยะสั้นเข้ากับแผนพัฒนาระยะยาว โดยจะต้องใช้แนวทางที่มุ่งเน้นปัญหา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เฉพาะเจาะจง และดำเนินการตามวิสัยทัศน์ “เป้าหมายสูงสุด” เพื่อชี้นำการพัฒนาระบบนิเวศน์คู่ค้าที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง และเครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพให้กับองค์กร

แนวทาง 6 ข้อในการพัฒนาเพื่อรองรับ 4IR สำหรับผู้ผลิตใน ASEAN

  1. มุ่งเน้นปัญหาสำคัญ: ระบุปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข โดยพิจารณาจากปัจจัยขับเคลื่อนมูลค่าที่สำคัญสำหรับแต่ละรูปแบบการผลิต: สินค้าโภคภัณฑ์ สินค้าชนิดพิเศษ สินค้าสำหรับคอนซูมเมอร์
  2. ระบุกรณีการใช้งานเทคโนโลยีที่เหมาะสม: เข้าใจวิธีการแก้ไขปัญหาและกรณีการใช้งานสำหรับ 4IR ทีสามารถเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่น ไม่ตื่นเต้นไปกับเทคโนโลยีใหม่ๆ โซลูชั่นที่ไม่เหมาะสมและฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น
  3. ดำเนินโครงการนำร่องโดยอาศัยการทำงานร่วมกัน: พัฒนาโซลูชั่นร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีโดยทดสอบและเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการนำร่อง อาศัยการกำกับดูแลที่เหมาะกับเป้าหมาย
  4. สร้าง Partner Ecosystem ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว: เลือกกลยุทธ์ความร่วมมือที่เหมาะสม เช่น เลือกใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด บริษัทคู่ค้ารายสำคัญ หรือผู้ให้บริการติดตั้งระบบที่ให้บริการเพียงอย่างเดียว โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร  ปัจจัยภายในองค์กร เช่น ความมุ่งหวังขององค์กร ความสามารถที่องค์กรมีอยู่ และขีดความสามารถในการจัดการคู่ค้า ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น แพลตฟอร์มของผู้ขายเทคโนโลยี และความสามารถในการใช้งานร่วมกับโซลูชั่นสำคัญๆ
  5. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น: ออกแบบสถาปัตยกรรมระหว่างองค์กร (Enterprise-to-Enterprise หรือ E2E) เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมุ่งเน้นการตัดสินใจ 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพและปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น, ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ E2E แบบอัจฉริยะ, แพลตฟอร์ม Internet of Things (IoT) แบบอเนกประสงค์ และระบบวางแผนด้านทรัพยากรและการผลิตแบบครบวงจร
  6. รองรับการปรับเปลี่ยนอย่างยั่งยืน: ติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพให้กับองค์กร รวมถึงกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โครงสร้างองค์กร ความสามารถและดัชนีชี้วัด และการปรับเปลี่ยนกระบวนการโดยมุ่งเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับเครื่องจักร และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ท้ายที่สุดแล้ว การใช้แนวทางเชิงทดลองที่มีโครงสร้างชัดเจนสำหรับการปรับเปลี่ยนด้าน 4IR ไม่ใช่ภารกิจที่จะทำได้โดยลำพัง  พันธมิตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีส่วนปฏิบัติการ (OT) ในระบบนิเวศน์ด้านการผลิตของอาเซียน รวมถึงภาครัฐ ล้วนมีบทบาทสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น:

  • รัฐบาลจะต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความสามารถและทักษะที่เฉพาะเจาะจงด้านการผลิต ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านการผลิต
  • ผู้ผลิตจะต้องรีบลงมือดำเนินการในทันทีเพื่อเริ่มการเปลี่ยนผ่านสู่ 4IR
  • ผู้จัดหาโซลูชั่นและเทคโนโลยีจะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญ รวมทั้งให้ความรู้แก่ตลาดเกี่ยวกับความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐาน และพูดคุยเรื่องการตัดสินใจที่สำคัญๆ ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน โดยนำเสนอแนวทางการใช้งานจริงที่เป็นรูปธรรม
  • ผู้จัดหาแอพพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มด้านการผลิตจะต้องเสริมสร้างคุณประโยชน์ ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นแบบครบวงจรที่รองรับการใช้งานร่วมกัน
  • ผู้จัดหาแอพพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มด้านไอทีสำหรับองค์กรจะต้องมุ่งเน้นเรื่องความยืดหยุ่น และใช้ประโยชน์จากระบบ ERP เพื่อขยายไปสู่ตลาดเทคโนโลยีส่วนปฏิบัติการ (OT)
  • ผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีส่วนปฏิบัติการควรจะผสานรวมธุรกิจส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน และเพิ่มโอกาสในขยายธุรกิจไปสู่บริการเสริมที่มีมูลค่าสูงกว่า

โครงสร้างพื้นฐาน ที่แข็งแกร่งและเครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพให้แก่องค์กรก็มีส่วนสําคัญในการเร่งการปรับใช้เทคโนโลยี 4IR ท่ามกลางสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนสําหรับการพัฒนาสู่ยุคสมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ตอนนี้ถึงเวลา แล้วที่ผู้ผลิตในอาเซียนจะต้องไขว่คว้าโอกาสครั้งสําคัญในการพัฒนาสู่ระบบการผลิตดิจิทัล และก้าวเข้า สู่เวทีโลก การดําเนินการดังกล่าวนอกจะช่วยปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตของอาเซียนซึ่งคาดว่าจะ เติบโตสองเท่าจนมีมูลค่าเกือบ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิต 35 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2571 อีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...