ผลตรวจสอบแบรนด์ยืนยัน Coca-Cola สร้างขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก | Techsauce

ผลตรวจสอบแบรนด์ยืนยัน Coca-Cola สร้างขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก

ท่ามกลางกระแสการตื่นตัวเรื่องความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมที่กำลังเข้ามามีส่วนสำคัญตั้งแต่กิจวัตรประจำวันของคนทั่วไปจนไปถึงการดำเนินธุรกิจขององค์กรยักษ์ใหญ่ เราได้เห็นองค์กรใหญ่หลายเจ้าออกมาประกาศความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อความยั่งยืน แต่ก็ยังเป็นที่กังขาว่าองค์กรมีความเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหา และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้จริงๆ สักเท่าใด

จากการตรวจสอบขยะพลาสติกของแบรนด์ล่าสุดของ Break Free From Plastic พบว่า Coca-Cola คือแบรนด์ที่สร้างมลพิษจากขยะมากที่สุดในโลก โดยการตรวจสอบครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทำความสะอาดพื้นที่กว่า 848 แห่งใน 51 ประเทศ 6 ทวีป และมีอาสาสมัครกว่า 72,541 คน ที่เข้าไปเก็บขยะพลาสติกตามพื้นที่ชายหาด, ถนน, แม่น้ำ ไปจนถึงบริเวณรอบๆ บ้านของพวกเขา

อันดับแบรนด์ที่สร้างขยะพลาสติกมากที่สุดจากการสำรวจของ Break Free From Plastic / Source: BREAKFREEFROMPLASTIC.ORG 

อาสาสมัครแนวร่วมของ Break Free From Plastic สามารถเก็บขยะพลาสติกได้กว่า 475,000 ชิ้น ทั่วโลก โดยในจำนวนขยะพลาสติกทั้งหมดมาจากแบรนด์ Coca-Cola 11,732 ชิ้น โดยมี Nestle และ PepsiCo เป็นลำดับถัดมา แต่หากจะดูแค่ในส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา ลิสต์ลำดับของแบรนด์ก็จะต่างออกไป โดยอันดับหนึ่งคือ Nestle ตามมาด้วย Solo Cup Company และ Starbucks 

จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมทำความสะอาดลักษณะนี้นอกจากจะช่วยลดมลพิษที่เกิดจากขยะพลาสติก ก็ยังสามารถบ่งชี้ได้ถึงขีดความรับผิดชอบขององค์กรต่างๆ ที่มีต่อปัญหามลพิษขยะ ซึ่งผลการศึกษาในระดับโลกบ่งชี้ว่าขวดพลาสติกกว่าล้านชิ้นถูกซื้อในทุกๆ 1 นาที และกว่า 91 เปอร์เซ็นต์ ไม่ถูกนำกลับเข้ากระบวนการรีไซเคิล

นอกจากนี้แนวโน้มของตัวเลขประเมินยังชี้ไปในทิศทางที่เลวร้ายกว่าเดิม มีการประมาณการว่าในปี 2020 จะมีการขายขวดพลาสติกมากกว่าห้าแสนล้านขวด และประมาณ 455,000 ล้านขวดจะไม่ถูกนำกลับมารีไซเคิล แต่จะไปอยู่ในหลุมขยะฝังกลบ, ถูกกำจัดด้วยการเผา หรือตามแท่น้ำกระทั่งลงสู่มหาสมุทร

สำหรับข้อเสนอกลยุทธ์ในการลดมลพิษขยะ single-use plastic ที่จะให้ผลลัพธ์ที่เด่นชัด ต้องเน้นในสามเรื่องดังนี้

  • สอนให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในปัญหา และฝึกการรีไซเคิล single-use plastics
  • วางโครงสร้างพื้นฐานให้ง่ายต่อการรีไซเคิลสำหรับผู้บริโภค และปฏิบัติได้จริงในทางเศรษฐกิจ
  • สนับสนุนให้ผู้ผลิตใช้วัสดุอื่นทดแทนพลาสติก เปลี่ยน mindset ของผู้ผลิตในการพึ่งพาแต่การใช้บรรจุภัณฑ์จาก plastic single-use เป็นหลัก

ในปัจจุบันองค์กรใหญ่จำนวนมากออกมาประกาศความตื่นตัวและบทบาทความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งพวกเขาถือเป็นส่วนสำคัญของปัญหา แต่คนจำนวนมากยังไม่มีความเชื่อมั่นว่าองค์กรเหล่านั้นได้รับผิดชอบอย่างเพียงพอเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งแนวทางในการลดมลพิษขยะพลาสติกอาจจะเป็นไปได้ยากเพราะพลาสติกยังคงเป็นวัสดุที่ราคาถูกและใช้งานได้ค่อนข้างดี ดังนั้นนโยบายทางการเมือง และการกดดันจากนักสิ่งแวดล้อมจะเป็นแรงขับเคลื่อนเริ่มต้นที่สำคัญในการกระตุ้นให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้จริง

Source : Forbes






ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Techsauce ร่วมมือกระทรวงการต่างประเทศ ผลักดัน ‘Startup ไทย’ สู่สากล

Techsauce จับมือกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ส่งเสริมระบบนิเวศเทคสตาร์ทอัพไทย พร้อมขยายตลาดสู่ระดับโลก เสริมศักยภาพการแข่งขันและสร้างเครือข่ายระดับสากล...

Responsive image

BGRIM แต่งตั้ง “ทวีศักดิ์” ร่วมบอร์ด “พีรเดช” คุมรีนิวเอเบิล “นพเดช” ดูแลธุรกิจไทย “ศิริวงศ์” นั่ง CFO

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 12/2567 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ได้มีมติเห็นช...

Responsive image

iNT Accelerate Platform ม.มหิดล รุกหนักก้าวกระโดด ตั้งเป้าขับเคลื่อนงานวิจั นวัตกรรมที่ใช้ได้จริง

หากจะโฟกัสวงการสตาร์ทอัพบ้านเรา ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ถือว่าเติบโตพร้อมพัฒนาอย่างก้าวกระโดดขึ้นเป็นอย่างมาก นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ ก่อให้เกิดสตาร์ทอัพที่มีความหลากหลาย มาพ...