Social Listening เป็นการฟังเสียงและแนวโน้มต่างๆ บนโซเชียลมีเดียจากทุกแพลตฟอร์ม ที่ครอบคลุมข้อความทุกประเภททั้ง Facebook, Twitter, Instagram และอื่นๆ รวมทั้งการ Comment หรือ Reply บนโพสต์นั้นๆด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาเป็นข้อมูลเชิงลึกหรือว่า Insight ที่ภาคธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ จะสามารถนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ในเชิงการตลาดได้
โดย Computerlogy ได้ใช้เครื่องมือตัวนี้มาวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการเลือกตั้งในประเทศไทย ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2566 นี้ ว่าในโซเชียลมีเดียมีการพูดถึงแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี พรรคการเมือง หรือแม้กระทั่งนโยบายต่างๆ อย่างไรบ้าง
หน้านี้จะแสดงถึงอันดับการพูดถึงแคนดิเดนและพรรคการเมืองในเจาะลงในแต่ละพื้นที่จังหวัดของประเทศไทย โดยสามารถแยกถึงนโยบาย เพศและอายุที่กล่าวถึง
จำนวนการกล่าวถึงและความสนใจทั้งหมด
จำนวนการพูดถึงแบ่งตามเพศและอายุ
ทัศนคติเชิงบวกและลบ
จำนวนการพูดถึงนโยบายต่างๆ
ตัวเลือกเจาะลึกรายพรรคการเมือง
ตัวเลือกเจาะลึกรายจังหวัด
ตัวเลือกเจาะลึกช่วงเวลาที่สนใจ
จาก Social Listening มีการพูดถึงพรรคการเมืองสูงสุด 3 อันดับได้แก 1.พรรคก้าวไกล, 2. พรรครวมไทยสร้างชาติ และ 3.พรรคเพื่อไทย โดยช่วงกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีการกล่าวถึงนโยบายเศรษฐกิจมาเป็นอันดับหนึ่งและฝุ่น PM2.5 เป็นอันดับสองซึ่งสอดคล้องกับวิกฤติสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ การพูดถึงมาจากเพศชาย 62.3% และ เพศหญิง 37.6% โดยประมาณ อายุที่กล่าวถึงแตกต่างออกไปตามพื้นที่และนโยบายที่เกี่ยวข้อง เมื่อสังเกตุจากกลุ่มอายุการกระจายออกไปพอๆกันช่วงหว่าง 25 - 54 ปี แบ่งไปตามพื้นที่ที่กล่าวถึง
หน้านี้จะแสดงถึงอันดับการพูดถึงแคนดิเดนนายกแต่ละท่านที่มีกล่าวถึงเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพรรคการเมืองที่มีชื่อเสียง ซึ่งจะประกอบไปด้วยข้อมูลแง่มุมต่างๆ เช่น
จำนวนการกล่าวถึงรายวัน
สัดส่วนเปรียบเทียบการพูดแคนดิเดต
ทัศนคติเชิงบวกและลบต่อแคนดิเดต
อันดับและจำนวนการพูดถึงและความสนใจ จากแต่ละช่องทางโซเชี่ยลมีเดีย
เกาะติดสถานการณ์การเมืองก่อนเลือกตั้ง จาก Social Listening มีการพูดถึงนโยบายเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากจากเกือบจะทุกที่พื้นที่ในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่มาจากฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการพูดถึงเพียงแค่ 537 โพสต์แต่มีการมีค่าความสนใจถึง 156,700 หน่วยหรือ 300 เท่า โดยการพูดถึงกว่าครึ่งมาจากเพศชาย ช่วงอายุประมาณ 25-54 ปี ซึ่งทัศนคติต่อพรรคการเมืองในหัวข้อดังกล่าว มีการกล่าวถึงพรรคเพื่อไทยและไทยสร้างไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจมาจากเป็นพื้นที่ฐานเสียงของพรรคดังกล่าวจึงอาจมีเสียงจากประชาชนเรียกร้องช่วยให้หาทางออกสำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีการพูดถึงพรรคภูมิใจไทยรองลงมาซึ่งส่วนใหญ่อาจเกี่ยวข้องกับนโยบายกัญชาเพื่อเศรษฐกิจที่พรรคประกาศออกมา
สำหรับนโยบาย PM2.5 มีการพูดถึงเป็นจำนวนมากจากรองลงมาจากนโยบายเศรษฐกิจซึ่งสะท้อนสถานการณ์ปัจจุบันอย่างชัดเจน การกล่าวถึงส่วนมากมาจากภาคเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลางเรียงตามลำดับ โดยการกล่าวถึงเกือบทั้งหมดจากเพศชาย การกล่าวถึงพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องค่อนข้างชัดเจนว่าในไปทางที่ไม่ดีเนื่องจากประชาชนในพื้นที่อาจยังคงต้องการการจัดการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนกับพรรคที่เป็นฐานเสียงหรือรับผิดชอบในพื้นที่ดังกล่าวเป็นต้น
หน้านี้จะแสดงถึงอันดับการพูดถึงแคนดิเดนนายกแต่ละท่านที่มีกล่าวถึงเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพรรคการเมืองที่มีชื่อเสียง ซึ่งจะประกอบไปด้วยข้อมูลแง่มุมต่างๆ เช่น
จำนวนการกล่าวถึงรายวัน
สัดส่วนเปรียบเทียบการพูดแคนดิเดต
ทัศนคติเชิงบวกและลบต่อแคนดิเดต
อันดับและจำนวนการพูดถึงและความสนใจ จากแต่ละช่องทางโซเชี่ยลมีเดีย
จาก Social Listening มีการพูดถึงแคนดิเดตนายก 3 ท่านที่สูงสุดได้แก่ คุณประยุทธ์, คุณอนุทิน , คุณประวิตร และ คุณประวิตรเรียงตามลำดับ โดยมีการพูดถึงกระจายออกไปในรายวัน เสียงประชาชนต่อคุณอนุทินเชิงทัศนคติเป็นไปในทางที่น่าเป็นห่วง มีการกล่าวถึงในทางลบเป็นจำนวนมากซึ่งอาจพ่วงกับนโยบายที่เสนอออกมา ในเชิงช่องทางที่กล่าวถึงพบว่า คุณประยุทธ์มีการกล่าวถึงมากที่สุดจากทุกช่องทาง อาจเพราะเป็นตัวแปรสำคัญในช่วงการยุบสภาจึงทำให้มีประชาชนเข้ามาให้ความสนใจมากต่อ 1 โพสต์ที่เกิดขึ้นเฉลี่ยถึง 182 ความคิดเห็น หรือ อาจตีความได้ว่า 182 คน
หน้านี้จะแสดงถึงการเปรียบเทียบระหว่างความสำเร็จของแต่ละพรรคในการเลือกตั้งปี 62 เทียบแนวโน้มการเลือกตั้งในปี 66 ในระยะเวลาใกล้เคียงกันก่อนมีการการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ
สัดส่วนการกล่าวถึงพรรคการเมือง
สัดส่วนการกล่าวถึงตามช่องทางโซเชี่ยลดีมีเดียแนวโน้มการพูดถึงรายวัน
ผลการเลือกตั้งรายพรรค
ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ตัวอย่างข้อความที่กล่าวถึง
จำนวนการพูดถึงพรรคการเมือง
ตัวเลือกเจาะลึกพรรคและจังหวัด
ตัวเลือกเจาะลึกโซเชี่ยลมีเดีย
ตัวเลือกเจาะลึกทัศคนติ
ตัวเลือกช่วงเวลาที่สนใจ
สถานการณ์ก่อนยุบสภาจาก Social Listening เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งที่แล้วกับพรรคจัดตั้งรัฐบาลอย่างพรรคพลังประชารัฐ พบว่ามีการหาเสียงเป็นจำนวนมากบนสื่อ Twitter และ Facebook ซึ่งเป็นสื่อที่มีกลุ่มมีสิทธิ์เลือกตั้งเป็นจำนวนมากและหลายช่วงอายุ อาจส่งผลให้ได้รับความประสบความสำเร็จจากเสียงเลือกตั้งมากที่สุด อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าการกล่าวถึงจะมาจากข่าวมากขึ้น อาจเพราะช่วงเวลาดังกล่าวใกล้เคียงกับการยุบสภาจึงส่งผลให้สัดส่วนของสื่อที่กล่าวถึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
เกาะติดสถานการณ์การเมืองก่อนเลือกตั้ง จาก Social Listening เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งที่แล้วกับพรรคที่ได้รับความนิยมอันดับ 2 อย่างพรรคอนาคตใหม่ หรือ ก้าวไกลในปัจจุบัน ข้อมูลการเลือกตั้งจากปี 62 ค่อนข้างชัดเจนว่าพรรคมีการประชาสัมพันธ์หรือมีการพูดถึงบนสื่อ Twitter เป็นจำนวนมากซึ่งสอดคล้องกับฐานเสียงที่ค่อนข้างจะเป็นคนรุ่นใหม่ที่มักจะใช้เวลากันอยู่บนสื่อ Twitter อย่างไรก็ตามจากสถิติ ในปัจจุบันพรรคเริ่มประชาสัมพันธ์หรือถูกพูดถึงบนสื่อ Facebook มากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางใหม่ๆในการเลือกตั้งครั้งนี้
ซึ่งนับเป็นที่จับตามองเป็นอย่างมากในการเลือกตั้งครั้งนี้ที่เมื่อใช้เครื่องมืออย่าง Social Listening มาวิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ว่าเรื่องของการเลือกตั้งกำลังเป็นนิยมและถูกจับตามองบน Social media เป็นอย่างมาก นับเป็นแนวโน้มอันดีที่ผู้คนหันมาสนใจการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นนั่นเอง
หากสนใจใช้บริการข้อมูล Social Listening เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์เลือกตั้งประเทศไทย หรือเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ผ่านช่องทางดังนี้
Facebook page : SocialEnable
เบอรโทร : 080-808-9080
Website : www.socialenable.com
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด