Connect the Dots อย่างไรให้ไทยหลุดพ้นบ่วงวิกฤตเศรษฐกิจ กับคุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานหอการค้าไทย | Techsauce

Connect the Dots อย่างไรให้ไทยหลุดพ้นบ่วงวิกฤตเศรษฐกิจ กับคุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานหอการค้าไทย

เมื่อคืนวันที่ 30 มี.ค. 2564 ทางหอการค้าไทยได้จัดเสวนาบนแอปพลิเคชัน Clubhouse ภายใต้หัวข้อ รวมพล “คนรุ่นใหม่” ร่วมหอการค้าไทยพลิกฟื้นเศรษฐกิจ โดยมี คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานหอการค้าไทยคนที่ 25, คุณปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข กรรมการหอการค้าไทย, คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Techsauce และนายแพทย์ ศุภชัย ปาจริยานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RISE ร่วมพูดคุยและเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านนโยบาย ‘Connect the Dots’ ภารกิจฟื้นฟูเศรษบกิจไทยภายใน 99 วัน 

Connect the Dots

Connect the Dots รวมพลังคนในการเชื่อมต่อภาพเศรษฐกิจไทยที่ดีกว่าเดิม

เริ่มเปิดการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดย คุณสนั่น อังอุบลกุล ในฐานะประธานหอการค้าไทย ได้กล่าวถึงจุดแข็งในการทำงานที่มีร่วมกันมาอย่างยาวนานของหอการค้าไทย ซึ่งสรุปออกมาได้เป็นหลักการ 5E  ดังนี้ 

  1. Empathy ทุกคนมีความอ่อนน้อมและถ่อมตนในการเข้าหาซึ่งกันและกัน ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น 

  2. Empower เลือกความสามารถของบุคลากรให้ตรงกับงาน เน้นการกระจายหน้าที่การทำงานอย่างเป็นระบบ

  3. Enrichment กล้าที่จะชี้ปัญหาหรือช่องโหว่ทางเศรษฐกิจให้เห็น เพื่อที่จะได้ปรับปรุงพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น 

  4. Enable สรรหาวิธีในการปลดล็อกสิ่งที่เป็นปัญหาเรื้อรังได้ 

  5. Encouragement เน้นพลังของ Teamwork ในการส่งเสริมโครงการที่เป็นประโยชน์ 

ด้วยเหตุที่หอการค้าไทยได้มีเครือข่ายทั่วประเทศและเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ร่วมกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สภาอุตสาหกรรม หน่วยงานเศรษฐกิจทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงพร้อมเป็นตัวกลางหาวิธีดึงศักยภาพของคนกลุ่มนี้เพื่อหาทางออกให้กับเศรษฐกิจไทยร่วมกัน สร้างความเชื่อมั่นให้คนทั่วประเทศ และแก้ไขปัญหาในส่วนของการจ้างงานและผู้ประกอบการ SME

ภารกิจฟื้นเศรษฐกิจไทยใน 3 ประเด็นสำคัญ : วัคซีน, Digital Transformation, กฎระเบียบ

คุณสนั่น กล่าวต่อถึงภารกิจฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยใน 99 วัน ผ่านนโยบาย ‘Connect the Dots’ ว่ามีประเด็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมว่า

  1. เร่งฉีดวัคซีนคนให้ทั่วถึง ให้เมืองสำคัญสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ คุณสนั่นได้เสนอหลักการ RACI โดย R คือ Responsible เราจะแสดงให้รัฐบาลเห็นว่าเอกชนกล้าฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 A คือ Accountable มอบหมายให้คนที่มีอำนาจอย่างรัฐบาล ภาคสาธารณสุขร่วมมือกันหาวิธีฉีดวัคซีนที่เร็วและทั่วถึง C คือ Consulting การมอบหมายจะต้องผ่านการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และ I คือ Inform สร้างความมั่นใจให้กับบุคคลภายนอกด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และครอบคลุม

  1. เร่งฟื้นฟู SME ด้วยกระบวนการ Digital Transformation ต้องให้ธุรกิจรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการฟื้นฟูกิจการให้ได้มากที่สุด โดยทางสถาบันการเงินในไทยจะต้องให้ความร่วมมือในการจัดสรรแหล่งเงินทุน 

  2. แก้ไขเรื่องระเบียบและกฏหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการลดต้นทุน ทำธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและคล่องตัว 

ทั้งนี้ ถ้าหากทำภารกิจทั้งสามประการได้สำเร็จตามที่คาดการณ์ไว้ ก็จะสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้ภายในองค์กรของหอการค้าไทยได้ และรัฐบาลก็อาจสนับสนุนร่วมขับเคลื่อนให้หอการค้าไทยสร้างโครงการอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต

มุมมองคนรุ่นใหม่ มุ่งเน้นการใช้ Digital ช่วยเหลือ SME  ไทย

อย่างไรก็ตามในการนำเสนอมุมมองของคนรุ่นใหม่ต่อหอการค้าไทยในการร่วมแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทย เริ่มที่คุณปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ได้ให้มุมมองสนับสนุนนโยบายด้านการเร่งกระจายวัคซีน พร้อมทั้งได้เสนอในเรื่องของความชัดเจนของความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่ทำให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้น โดยถ้าประเทศไทยยิ่งฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมประชากรรวดเร็วเท่าไหร่ก็จะเป็นผลดีกับการฟื้นฟูเศรษฐเร็วมากขึ้นเท่านั้น  

ด้านคุณ อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ได้นำเสนอในมุมของการช่วยเหลือธุรกิจ SME ว่า ปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเป็นจำนวนมาก จะทำอย่างไรให้ SME ไทยมีโอกาสและสามารถแข่งขันกับสินค้าต่างชาติบนแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เราควรมีสัดส่วนที่ชัดเจนในการขายของต่างประเทศบนแพลตฟอร์มเหล่านี้หรือไม่ และในขณะเดียวกันอยากให้มีนโยบายสนับสนุนให้สินค้าของ SME ไทย สามารถไปขายที่ต่างประเทศได้มากขึ้น มองแค่ตลาดไทยอย่างเดียวไม่ได้แล้ว

อีกหนึ่งส่วนที่ควรสนับสนุนคือ ไทยช่วยไทย key stakeholder อีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศคือกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสตาร์ทอัพ มีหลายแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเรื่อง Digital Transformation ให้กับธุรกิจ SME อาทิ CRM platform, ระบบบัญชี, ระบบ logistic เป็นต้น ถ้ามีนโยบายที่สนับสนุนให้ Incentive กับ SME ที่ใช้บริการของธุรกิจเทคโนโลยีสตาร์ทอัพด้วยกันก็จะเป็นการกระตุ้นทั้ง 2 ทางไปในตัว

นอกจากนี้ยังมีมุมมองการพัฒนาคนเพื่อให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยนายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ กล่าวว่า การพัฒนาคนในองค์กรไม่ว่าจะเป็นการ Reskill, Upskill ก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นรากฐานสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้อย่างเต็มที่ ในต่างประเทศมีการให้ทุนสนับสนุนจากภาครัฐฯ อย่างชัดเจนในเรื่องนี้

นอกจากนี้ยังมีผู้ทรงคุณวุฒิคุณปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งในแง่มุมของ Digital Transformation และการพัฒนาทักษะบุคคลเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สยาม เอไอฯ ได้รับ NVIDIA DGX Blackwell B200 รายแรกในอาเซียน

NVIDIA DGX Blackwell B200 เป็นหน่วยประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ของ Siam.AI Cloud ทำให้สามารถรองรับการประมว...

Responsive image

Infineon เสริมแกร่งและกระจายฐานการผลิต ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ในประเทศไทย

Infineon Technologies AG ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (Backend Production) แห่งใหม่ในจังหวัดสมุทรปราการ การลงทุนในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพื่อเพิ่มประ...

Responsive image

Techsauce จับมือ KUMPUL เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย-อินโดฯ สู่เวทีโลก

Techsauce และ KUMPUL ได้ร่วมลงนาม MOU อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสตาร์ทอัพข้ามพรมแดนและนวัตกรรมระดับโลก ผนึกกำลังสร้างระบบนิเวศท...