นักวิจัยพบโปรตีนจากข้าวโพด ช่วยให้แบตฯ EV ราคาถูกลง และใช้งานได้นานขึ้น

EV

ใครจะไปคิดว่า 'ข้าวโพด' จะช่วยยืดอายุแบตเตอรี่ได้ ?

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันค้นพบว่า โปรตีนจากข้าวโพดที่ชื่อว่า 'ซีอิน' (zein) สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลิเธียม-ซัลเฟอร์ได้ ซึ่งอาจเป็นทางเลือกใหม่ที่ ถูกกว่า เบากว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กว่าแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ลิเธียม-ซัลเฟอร์ แบตเตอรี่ที่น่าสนใจ แต่ยังมีข้อจำกัด

แบตเตอรี่ลิเธียม-ซัลเฟอร์เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ เพราะมีน้ำหนักเบา ราคาถูก และใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะซัลเฟอร์ไม่เป็นพิษและหาได้ง่ายในธรรมชาติ แต่ปัญหาใหญ่คืออายุการใช้งานที่สั้น และความไม่เสถียรเมื่อต้องชาร์จหรือจ่ายไฟ

ในระหว่างการใช้งาน ซัลเฟอร์จากขั้วลบอาจหลุดลอยไปในของเหลวภายใน แล้วไปทำปฏิกิริยากับลิเธียมฝั่งตรงข้าม ส่งผลให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วขึ้น อีกปัญหาคือ ลิเธียมสามารถรวมตัวเป็นเสี้ยนโลหะเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "เดนไดรต์" ซึ่งอาจแทงทะลุชั้นกั้นในแบตเตอรี่และทำให้เกิดลัดวงจรได้

โปรตีนจากข้าวโพดช่วยอย่างไร?

นักวิจัยทดลองนำโปรตีน 'ซีอิน' มาช่วยเคลือบบาง ๆ บนชั้นกั้นกลาง (separator) ซึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ที่คั่นระหว่างขั้วลบและขั้วบวกของแบตเตอรี่

ผลปรากฏว่า ชั้นโปรตีนนี้สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ซัลเฟอร์ไหลข้ามไปอีกฝั่งได้ อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสที่เดนไดรต์จะก่อตัวขึ้น ซึ่งช่วยให้แบตเตอรี่ทำงานได้เสถียรมากขึ้น

เพื่อให้ซีอินทำงานได้ดียิ่งขึ้น ทีมวิจัยยังเติมพลาสติกชนิดยืดหยุ่นลงไปเล็กน้อย เพื่อให้โครงสร้างของโปรตีนคลายตัว ทำให้กรดอะมิโนในโปรตีนสามารถโต้ตอบกับส่วนต่าง ๆ ภายในแบตเตอรี่ได้มากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มเสถียรภาพโดยรวมได้อย่างชัดเจน

ทดลองแล้ว ใช้งานได้นานขึ้นจริงไหม 

จากการทดลองในห้องแล็บ ทีมวิจัยสามารถผลิตแบตเตอรี่ขนาดเล็ก (แบบ coin cell) ที่ชาร์จและใช้งานได้ยาวนานถึง 500 รอบ ซึ่งมากกว่าแบตเตอรี่ลิเธียม-ซัลเฟอร์ทั่วไปหลายเท่า การทดลองนี้มีทั้งผลการทดสอบจริงและข้อมูลจากการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์มารองรับ

ใช้วัสดุจากธรรมชาติ ถูกกว่าและยั่งยืนกว่า

ข้อดีอีกอย่างคือวัสดุที่ใช้ล้วนยั่งยืนและหาได้ง่าย ซัลเฟอร์เป็นของเหลือจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ส่วนซีอินก็มาจากข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกได้ทั่วโลก ต่างจากแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนที่ต้องใช้แร่หายากอย่างโคบอลต์หรือนิกเกิล ซึ่งต้นทุนสูงและมักมาพร้อมปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงาน

ตัวแบตเตอรี่ที่ออกแบบใหม่นี้ยังมีน้ำหนักเบา แต่เก็บพลังงานได้มาก จึงเหมาะกับการใช้งานหลากหลาย ตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงระบบเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์

แม้ว่าตอนนี้จะยังอยู่ในขั้นทดลองกับแบตเตอรี่ขนาดเล็ก แต่ทีมนักวิจัยตั้งเป้าว่าจะร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้สามารถนำไปใช้งานได้จริงในอนาคต ทั้งในรถ EV หรือระบบกักเก็บพลังงานจากโซลาร์เซลล์

เพราะฉะนั้นข้าวโพดอาจไม่ใช่แค่พืชอาหารอีกต่อไป แต่อาจกลายเป็นกุญแจสำคัญของแบตเตอรี่ยุคใหม่ที่ ถูกลง เบาลง ใช้งานได้นานขึ้น และช่วยให้โลกเข้าสู่พลังงานสะอาดได้เร็วขึ้น

อ้างอิง: independent

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Virtual Bank ไทยประกาศอย่างเป็นทางการ เจาะลึก 3 กลุ่มทุนผู้คว้าใบอนุญาตธนาคารไร้สาขา

ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศรายชื่อ 3 กลุ่มธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต Virtual Bank อย่างเป็นทางการเมื่อ 19 มิ.ย. 2568 ชี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของระบบธนาคารไทย พร้อมเผยเกณฑ์คัดเลือกและเ...

Responsive image

Adobe ดึงตัวพ่อผู้สร้าง Computational Camera เปิดตัว Project Indigo เขย่าสมรภูมิกล้อง iPhone

Project Indigo แอปกล้องฟรีจาก Adobe ที่มี Marc Levoy ตำนานกล้อง Pixel อยู่เบื้องหลัง นี่คือกลยุทธ์เขย่าตลาดกล้อง iPhone และการสร้าง Ecosystem ครั้งสำคัญ...

Responsive image

Midjourney เปิดตัว V1 โมเดลสร้างวิดีโอด้วย AI รุ่นแรก

Midjourney ประกาศเปิดตัวโมเดลสร้างวิดีโอด้วย AI ครั้งแรกในชื่อ “V1” โมเดลนี้ให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนภาพนิ่ง ให้กลายเป็นวิดีโอความยาว 5 วินาทีได้ทันที...