จาก เราไม่ทิ้งกัน สู่ เราชนะ ตั้งแต่เกิดวิกฤต COVID-19 รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือ เยียวยาอะไรมาแล้วบ้าง | Techsauce

จาก เราไม่ทิ้งกัน สู่ เราชนะ ตั้งแต่เกิดวิกฤต COVID-19 รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือ เยียวยาอะไรมาแล้วบ้าง


นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มาตั้งแต่ต้นปี 2562ก็ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนตั้งแต่ระดับรากหญ้าไปจนถึงระดับผู้ประกอบการทั้งรายเล็กรายใหญ่ ความหวังเดียวของประชาชนคือรัฐบาลที่ไม่เพียงต้องออกมาตรการเพื่อจัดการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไม่ให้แพร่กระจายเพิ่มขึ้นภายในประเทศเท่านั้น แต่รัฐบาลยังต้องมีมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับกระทบจาก COVID-19 ออกมาอย่างต่อเนื่อง และวันนี้ทาง Techsauce จะขอรวบรวมโครงการรวมถึงแอปพลิเคชั่นของทางภาครัฐตั้งแต่  เราไม่ทิ้งกัน สู่  เราชนะ 


1. โครงการ เราไม่ทิ้งกัน 

มาตรการเยียวยาลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ นอกระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยได้รับเงินสนับสนุนรายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งผู้ที่ได้รับสิทธิ์จะต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com 

2. โครงการ เราเที่ยวด้วยกัน 

เป็นโครงการที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวหลังได้รับผลกระทบจาก COVID-19  ซึ่งโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน เป็นการเปลี่ยนชื่อใหม่จากการรวมโครงการ เราไปเที่ยวกัน และ เที่ยวปันสุข ให้อยู่ภายในโครงการเดียว โดยมีระยะเวลาโครงการ 4 เดือน นับตั้งแต่ 1 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม 2563 ซึ่งมี 3 รายการย่อย ได้แก่

สิทธิที่ 1 ส่วนลดค่าที่ 40% สุงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อห้องต่อคืน

สิทธิที่ 2  รับคูปองมูลค่าสูงสุด 900 บาทต่อวัน เพื่อใช่เป็นส่วนลดค่าอาหารและค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยวที่ร่วมโครงการ โดยชำระเพียง 60% อีก 40% จะตัดจากคูปอง

สิทธิที่ 3 คืนตั๋วค่าเครื่องบิน 40% แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อผู้โดยสาร(เฉพาะจังหวัดท่องเที่ยวที่กำหนด) จำกัดห้องพักละ 2 ที่นั่งตามจำนวนที่เข้าพักจริง แต่รวมไม่เกิน 30 ที่นั่ง 

3. โครงการ คนละครึ่ง 

เป็นโครงการที่รัฐบาลช่วยผู้ซื้อจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่มและสินค้า 50% ของราคาสินค้านั้นๆจากร้านที่เข้าร่วม ตลอดระยะเวลาโครงการ โดยผู้ที่ได้รับสิทธิ์จะต้องไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิ์โครงการ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้งนี้โครงการคนละครึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 เฟส ดังนี้ 

เฟสที่ 1 ตั้งเป้ามีผู้ลงทะเบียน 10 ล้านราย และรับเงิน 3,000 บาทต่อราย ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" ไม่เกินวันละ 150 บาท ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 63 ไปจนถึง 31 ธันวาคม 2563 

เฟสที่2 ได้เปิดลงทะเบียนเพิ่มเติมอีก 5 ล้านราย ในวันที่ 16 ธันวาคม2563 โดยรอบนี้ผู้ที่ได้รับสิทธิ์จะได้รับเงิน 3,500 บาทต่อราย ซึ่งผู้ที่ลงทะเบียนคนละครึ่ง เฟสแรกไปแล้ว 10 ล้านคน สามารถเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง เฟส 2 ได้เช่นกัน ด้วยการกดปุ่นยืนยันสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ในวันที่ 16 ธันวาคม63โดยยอดเงินที่ใช้จ่ายในเฟสแรก หากยังมีวงเงินเหลือ ระบบจะสมทบยอดคงเหลือไปในเฟส 2 ทันที 

4. โครงการ ชิม ช็อป ใช้

เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งมีจุดประสงค์หลักคือส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศและสนับสนุนการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า g-Wallet โดยการแจกเงิน 1,000 บาทให้ประชาชนจำนวน 10 ล้านคนแรกที่เข้ามาลงทะเบียนในเว็บไซต์ ภายใต้เงื่อนไข 3 ข้อ คือ

1. เป็นบุคคลสัญชาติไทยและมีบัตรประจำตัวประชาชน

2. อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ลงทะเบียนรับสิทธิ

3. มีอีเมลเป็นของตัวเองและมีสมาร์ทโฟนที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

สำหรับบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้เต็มๆ คือกลุ่มผู้ประกอบการและร้านค้าที่เข้าร่วมในโครงการนี้ ซึ่งมีจำนวนถึง 150,000 ราย มีทั้งร้านค้าประเภทชิม ร้านค้าสำหรับนักช้อป ร้านธงฟ้าราคาประหยัด และธุรกิจโรงแรม 

5.โครงการ  ช็อปดีมีคืน 

เป็นมาตรการที่ออกมาเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ และช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยจะต้องซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษี VAT เท่านั้น และสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษี ได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน โดยผู้เสียภาษีแต่ละคนจะได้รับสิทธิ "ลดหย่อนภาษี" จากการ "ช้อปดีมีคืน" ไม่เท่ากัน

สำหรับมาตราการดังกล่าวเป็นการซื้อสินค้าที่เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปี 2563  ที่จะต้องยื่นภาษีช่วง 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564 

6.โครงการ กำลังใจ

ป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการเเนวหน้าที่ช่วยป้องกันการเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย อาทิ  กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ทั้งหมด 1.2 ล้านคนโดยจะได้รับสิทธิเเพ็คเกจเที่ยวฟรีกับบริษัทนําเที่ยวที่เข้าร่วมกับโครงการรัฐที่ต้องไม่ต่ำกว่า 2 วัน 1 คืน ซึ่งรัฐบาลจะออกค่าใช้จ่ายให้ 2,000 บาทต่อคน  

7. แอปพลิเคชั่น เป๋าตังค์ 

ทั้งนี้มาตรการเยียวยาต่างๆของภาครัฐจะไม่สามารถแจกจ่ายเงินให้แก่ประชาชนได้อย่างเป็นระบบหากขาดแอปพลิเคชั่นที่เป็นตัวกลางในการรับเงินในโครงการต่างๆอย่าง แอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นกระเป๋าเงินออนไลน์ หรือ E-wallet ของธนาคารกรุงไทย ที่ทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในยุค 4.0   และถึงแม้ผู้ใดไม่มีบัญชีธนาคารกรุงไทย ก็สามารถที่จะสมัครใช้งานแอปฯได้ แต่จำเป็นต้องยืนยันตัวตนเหมือนกับกระเป๋าเงินออนไลน์เจ้าอื่นๆ เช่น True Money Wallet, Rabbit Line Pay, AirPay โดยผู้ใช้งานสามารถเติมเงิน หรือถอนเงินได้

8. แอปพลิเคชั่น หมอชนะ 

เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นระหว่าง “ทีมพัฒนาร่วมประชาชน เอกชนและภาครัฐ” นำโดยกลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ ภายใต้ชื่อ “Code for Public” และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้ชื่อ “กลุ่มช่วยกัน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสถาบันการศึกษา เครือข่ายโรงพยาบาลและองค์กรสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรธุรกิจจำนวนมาก เพื่อช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโลกโควิด-19 โดยจะบันทึกข้อมูลการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆของผู้ใช้งานด้วย GPS กับ Bluetooth โดยการเก็บข้อมูลถูกพัฒนาให้มีความปลอดภัยสูง ไม่สามารถทราบได้ว่าใครเดินทางไปที่ไหน แต่จะทราบว่าอุปกรณ์ที่มีแอปฯอยู่นี้ มีการเข้าใกล้กับอุปกรณ์ของผู้ที่มีความเสี่ยงหรือไม่ หรือมีการไปยังสถานที่เสี่ยงมาในช่วงเวลาที่ผู้ติดเชื้อไปยังสถานที่นั้นๆหรือไม่ 

9. แอปพลิเคชั่นไทยชนะ

ไทยชนะ หรือ www.ไทยชนะ.com สร้างขึ้นมาเพื่อติดตามความเสี่ยงจากจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในการล็อกดาวน์ครั้งที่ผ่านมา โดยประชาชนสามารถที่จะแสกน QR Code เพื่อเช็กอินและเช็กเอาท์ตามสถานที่ต่างๆ ที่ได้ไปมา โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บและสามารถที่จะย้อนกลับไปตรวจสอบย้อนหลัง เมื่อพบเจอผู้ติดเชื้อ COVID-19 และสามารถที่จะแจ้งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงผ่าน SMS หรือทางโทรศัพท์ เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงนั้นสามารถที่จะเข้ารับการตรวจได้ทันที

10. โครงการ เราชนะ 

เป็นมาตรการล่าสุดที่รัฐบาลจะใช้สำหรับพิจารณาให้เงินเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยจะแจกเงินคนละ 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยจะมีการเปิดให้ลงทะเบียนวันที่ 29 เดือนมกราคม 2564 ผ่าน www.เราชนะ.com และจ่ายเงินเร็วที่สุดปลายเดือนมกราคมนี้ หรืออย่างช้าสุดต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งการแจกเงินโครงการเราชนะ เป็นการแจกเงินผ่านระบบ แทนเงินสด โครงการนี้มีกรอบวงเงินโครงการ 210.20 ล้านบาท ระยะโครงการประมาณ 5 เดือน นับตั้งแต่ มกราคม-พฤษภาคม 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมายร่วมโครงการนี้ทั้งสิ้น 31.1 ล้านคน สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์ในการลงทะเบียนรับเงินเยียวยาในครั้งนี้ประกอบด้วย

1.ผู้ที่ไม่อยู่ในในระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33

2.ผู้ที่ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ และราชการ

3.ไม่เป็นข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการบำนาญ

4.ไม่เป็นผู้มีอาชีพอิสระที่มีรายได้สูงเกิน300,000 บาท ต่อ

5.ไม่มีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันมากกว่า 500,000 บาท





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...