รู้จักความแตกต่างของโรคระบาดในระดับ Pandemic, Epidemic และ Outbreak

หลังจากที่วันนี้ (12 มีนาคม 2020) องค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) ได้ออกมาประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) อาจจะยังมีคนสับสนว่าแล้วมันมีความแตกต่างจากระดับของโรคระบาด (Epidemic) และ Outbreak ทั่วไปอย่างไร  

เราสามารถจำแนกความแตกต่างของคำเหล่านี้ได้ด้วย 'ขนาดของการแพร่ระบาด' ในเชิงภูมิศาสตร์ 

Outbreak 

คือ การอธิบายการอุบัติขึ้นแบบฉับพลันของโรคติดต่อที่ไม่ใช่โรคปกติทั่วไป ในกลุ่มคนจำนวนเล็กๆ ในเมืองใดเมืองหนึ่ง โดยยังไม่ได้แพร่กระจายออกไป

ส่วนใหญ่แล้ว ในขั้นนี้จะยังสามารถคาดการณ์จำนวนคนที่ติดต่อได้ และพอจำกัดวงให้อยู่ในสถานที่หนึ่ง ไม่รุนแรงมาก 

ยกตัวอย่าง เช่น หากในโรงเรียนหนึ่ง มีเด็กนักเรียนที่ป่วย ท้องเสียประมาณ 1-2 คนระหว่างอาทิตย์ก็จะนับเป็นเรื่องปกติ แต่หากในอาทิตย์เดียวมีนักเรียน 15 คนที่เกิดท้องเสียขึ้นมาพร้อมกัน อย่างนี้จึงนับว่าเป็น Outbreak 

เมื่อเกิดโรคขึ้น ลักษณะเฉพาะของโรคติดต่อจะสามารถถูกสังเกตเห็นได้ง่าย อย่างเช่น เมื่อเกิดจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบขึ้นพร้อม ๆ กันในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ทำให้กระทรวงสาธารณสุขตรวจพบและทราบว่าเป็นโรคระบาดสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเมื่อเกิด Outbreak ขึ้น ทางการก็จะออกมาตรการตรวจสอบหาสาเหตุ จำนวนผู้ติดเชื้อ และพยายามควบคุมให้อยู่ในพื้นที่  

Epidemic

คือ ระดับโรคระบาดทั่วไปที่เริ่มใหญ่และแพร่กระจายออกไปเมืองต่างๆ มากขึ้น 

ในกรณีนี้ ด้วยความล่าช้าในการออกมาตรการควบคุมและปิดเมืองอู่ฮั่น ทำให้ COVID-19 ได้แพร่กระจายจนยกระดับสู่ขั้นของ Epidemic ที่ขยายวงกว้างออกไปยังเมืองต่าง ๆ และออกไปต่างประเทศในบางเมือง เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับโรคระบาดอย่าง อีโบลา ซาส์ หรือไข้หวัดนก

Pandemic

คือ 'การระบาดใหญ่' ของโรคที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างไปทั่วโลก และยากต่อการควบคุม 

WHO ได้ประกาศให้ COVID-19 ยกระดับสู่การเป็น Pandemic เป็นที่เรียบร้อย ด้วยความรุนแรงของการระบาดที่กระจายไปสู่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงการเกิดการติดต่อขึ้นภายในประเทศต่าง ๆ เอง ซึ่งมักเกิดจากการที่มีบุคคลเดินทางจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด และนำเชื้อไปติดคนในครอบครัวหรือเพื่อนอย่างไม่รู้ตัว นำมาซึ่งการแพร่ระบาดในเมืองใหม่ ๆ และยากต่อการควบคุม

ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 อยู่ที่ 121,000 ราย และเสียชีวิตกว่า 4,300 ราย ใน 114 ประเทศทั่วโลก ซึ่งหลังการประกาศของ WHO วันนี้ ได้ส่งผลให้ดัชนีดาวน์โจนส์ ร่วงกว่า 1200 จุด  ดาวน์โจนส์ ร่วง 1200 จุด หรือกว่า 4.5%  S&P500 ร่วงกว่า 4.1% ขณะที่ Nasdaq ร่วงลง 3.8%

อ้างอิง EcoWatch 

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

GrabX 2025 เปิดเกมใหญ่ Ecosystem Economy ด้วย AI-First with Heart ที่เข้าใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Grab เปิดตัวนวัตกรรม AI ครั้งใหญ่ในงาน GrabX 2025 พร้อมปรัชญา “AI-First with Heart” ผสานเทคโนโลยีกับความเข้าใจผู้ใช้...

Responsive image

TSMC เปิดตัวชิปขนาด 2 นาโนเมตร ขนาดเล็กลง แต่ล้ำหน้ากว่าเคย

TSMC สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในวงการชิป ด้วยการเปิดตัวชิปขนาด 2 นาโนเมตรที่เล็กที่สุด ทรงพลังที่สุด และล้ำหน้าที่สุดเท่าที่เคยมีมา...

Responsive image

เจรจาแค่ประเทศเดียวไม่พอ แต่อาเซียนต้องรวมพลังสู้ภาษีทรัมป์ ฟังความเห็นจากอดีตผู้อำนวยการ WTO

ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้นำ WTO ระหว่างปี 2002 ถึง 2005 อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ให้สัมภาษณ์กับ Nikkei เกี่ยวกับประเด็นด้านภา...