เวียดนาม เตรียมใช้ Nanocovax วัคซีนโควิดผลิตเอง ภายในสิ้นปีนี้ | Techsauce

เวียดนาม เตรียมใช้ Nanocovax วัคซีนโควิดผลิตเอง ภายในสิ้นปีนี้

หลังจากได้เริ่มทำการทดลองวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นของตัวเองเมื่อธันวาคมที่ผ่านมา ณ ตอนนี้ Nanocovax วัคซีนสัญชาติเวียดนามก็ได้เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการทดลองกับมนุษย์ และคาดว่าจะสำเร็จก่อนสิ้นปีนี้

Nanocovax

วัคซีน Nanovax ของเวียดนามที่ผลิตโดยใช้วัคซีนโปรตีนผสมจากเซลล์สัตว์ โดยวัคซีนชนิดนี้ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Startup ชื่อว่า Nanogen Pharmaceutical Biotechnology ร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์ทหารเวียดนาม

ในการทดลองครั้งสุดท้ายนี้ จะทำกับการทดลองกับมนุษย์ 1 หมื่นคนในเวียดนาม และคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน เดือนสิงหาคม-กันยายน ถ้าผลเป็นไปตามที่วางไว้ รัฐบาลก็จะมีส่วนช่วยสนับสนุนในการผลิตเพิ่ม และจะนำเอาวัคซีนนี้มาใช้กับสาธารณะภายในสิ้นปีนี้ โดยทาง Nanogen วางแผนจะขายวัคซีนให้รัฐบาลในราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อการฉีดวัคซีน 1 ครั้ง

เนื่องจากการทดลองในเฟสที่ 2 พบว่า ภูมิคุ้มกันของผู้รับการทดลอง 560 คนมีการตอบสนองที่ดี ส่งผลให้ทางรัฐบาลเวียดนามตกลงให้นำออกมาใช้ได้เป็นกรณีกรณีฉุกเฉินเริ่มพฤษภาคม 2021 นี้ โดยประชาชนจะได้รับการฉีดเป็นจำนวน 2 โดส ทำให้เวียดนามกลายเป็นประเทศแรกของอาเซียนที่มีการผลิตวัคซีนเองในประเทศ นอกจากนี้ทางเวีดนามยังมีการวางแผนในการทดลองเชิงคลินิกในประเทศฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ และประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย

เนื่องจากเวียดนามมีข้อพิพาทกับจีนในทะเลจีนใต้ ทำให้เวียดนามไม่รับเอาวัคซีนที่ผลิตจากจีนเข้ามาใช้ในประเทศ จากฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย Oxford พบว่า มีจำนวน 0.69% ของประชากรเวียดนามที่ได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 1 โดส ทำให้เวียดนามเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีคนได้รับวัคซีนน้อยที่สุด 

ทั้งนี้เวียดนามได้มีการนำเข้าวัคซีน AstraZenaca เข้ามาน้อยกว่า 1 ล้านโดส ในขณะเดียวกันก็รอการอนุมัติวัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย และกำลังเจรจากับทางฟากของ Pfizer-BioNTech ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ทางเวียดนามเองก็ได้มีการเตรียมพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวอื่น ๆ อีก 3 ตัว อย่างทาง Institute for Vaccines and Medical Biologicals ก็ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเวียดนามในการพัฒนาวัคซีน โดยคาดว่าจะทำการทดลองเฟสแรกสำเร็จภายในมิถุนายนนี้

ในส่วนของประเทศไทยเอง ณ ตอนนี้ก็ได้มีการพัฒนาวัคซีนเป็นของตัวเองเช่นกัน อย่างเช่น ChulaCov19 ที่เป็นวัคซีน mRNA พัฒนาโดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ตอนนี้ได้กำลังทำการทดลองในเฟสที่ 1 และ 2 อยู่ รวมทั้ง วัคซีนใบยาสูบ ที่สกัดจากโปรตีนพืชใบยาสูบ ฝีมือทีมนักวิจัยไทย บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ วัคซีนของมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับองค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายในมนุษย์ 

อ้างอิง: Nikkei Asia


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พบช่องโหว่ แว่นตา Meta + AI ส่องหน้าล้วงข้อมูลในพริบตา รู้หมดทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์

นักศึกษา 2 คนจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เปิดเผยว่า สามารถนำแว่นตาอัจฉริยะ Meta มาเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีค้นหาใบหน้า ซึ่งจะช่วยให้สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของใครก็ได้ ทั้งชื่อ ที่อยู่ แ...

Responsive image

อินเดียลุยผลิตชิปตัวแรกในอีก 2 ปี Nvidia AMD และ Micron ร่วมขยายฐานลงทุนในประเทศ

อินเดียมุ่งสู่การเป็นผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมชิป โดยตั้งเป้าผลิตชิปตัวแรกของประเทศภายในอีก 2 ปี สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะผลักดันให้อินเดียกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตชิปแห่งให...

Responsive image

OpenAI ปิดระดมทุน ได้ไปกว่า 2 แสนล้านบาท มูลค่าบริษัทพุ่งสู่ 4.9 ล้านล้านบาท

OpenAI ประสบความสำเร็จในการระดมทุนรอบใหม่มูลค่ากว่า 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ...