เมื่อจำนวนประชากรที่สูงขึ้นเรื่อยๆ บวกกับการบริการด้านต่างๆ ที่สะดวกยิ่งขึ้น หลายๆ บริษัทเริ่มผุดไอเดียที่จะเข้ามาตอบโจทย์ยุคดิจิทัลนี้กันมากยิ่งขึ้น ล่าสุด จึงเกิด Velo บริษัทผู้ให้บริการการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านเทคโนโลยี Blockchain ที่มีฐานอยู่ในประเทศไทย โดยเป็นโครงการของคุณชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ทายาท CP ซึ่งน่าจับตามองเป็นอย่างมากเพราะนี่คือโอกาสใหม่ที่น่าสนใจ ด้วยตัวเลขการโอนเงินระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชียที่มีมูลค่ากว่า 65 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
"แรงงานต่างชาติต้องการวิธีที่สะดวกในการทำธุรกรรมการเงิน พร้อมกับค่าธรรมเนียมที่ไม่แพง ดังนั้นเราจึงเปิดตัว Velo เพื่ออำนวยความสะดวกดังกล่าว" คุณชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ประธานบริษัทและเจ้าของนิตยสาร FORTUNE กล่าว
มีแรงงานข้ามชาติกว่า 21 ล้านคนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในจำนวนกว่า 5 ล้านคนนั้นอยู่ในประเทศไทย อ้างอิงจาก World Bank มีการเปิดเผยว่าค่าบริการในการโอนเงินข้ามประเทศจากไทยอยู่ที่ 15% ซึ่งจัดว่าสูงกว่าราคาปกติของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ที่ 9% นี่จึงเป็นโอกาสในการนำเสนอการทำธุรกรรมทางการเงินที่ถูกลงมาก ทั้งนี้เวลา Velo มีแผนในการเก็บค่าธรรมเนียมเพียง 1% เท่านั้น โดยการใช้เทคโนโลยี Blockchain จะช่วยให้สามารถทำธุรกรรมได้ในทันที จากเดิมที่ใช้บริการถึง 5 วัน
ปัจจุบัน Velo ไม่ใช่บริษัท Blockchain แห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะบริษัท Ripple จากสหรัฐฯ ก็ได้จับมือกับ SCB และ MoneyGram รวมถึงบริษัทอื่นๆ เพื่อผลักดันการโอนเงินมาสู่เอเชีย ในด้าน Alibaba เองก็เพิ่งเปิดตัวการชำระเงินแบบ Blockchain ในฮ่องกง มีฐานผู้ใช้งานเป็นแรงงานต่างชาติกว่า 300,000 คน ในขณะที่ Facebook ที่มีผู้ใช้งานระหว่างทวีปเอเชียเป็นจำนวนกว่า 577 ล้านคน ก็ได้เปิดตัว Calibra บริการด้านการเงินเช่นกัน
Tridbodi Arunanondchai รองประธานของ Velo กล่าวว่า Velo ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรงของ Western Union และ Ripple แต่ Velo จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจรูปแบบ B2B โดยมีโครงสร้างแบบดิจิทัลในการทำงาน Arunanondchai กล่าวว่า "Velo คือ JP Morgan หรือ Citibank ผู้ทำหน้าที่เป็นประกันเครดิตให้กับผู้คนทั่วโลก" โดยเขาเสริมว่าโครงการนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการโอนเงินให้กับผู้คนมากยิ่งขึ้น
Velo ได้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลที่เรียกว่า Velo Tokens ให้กับองค์กรต่างๆ ที่บรรลุกระบวนการ “know your customer”ซึ่งเป็นการตรวจสอบและประเมินความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรม โดยองค์กรที่ได้รับการรับรองจะได้รับ stablecoins cryptocurrencies ที่ช่วยในการลดความผันผวน
ปัจจุบัน Velo ได้ระดมทุนไปเพียง 50 ล้านดอลลาร์ แต่ในขณะเดียวกัน บริษัทก็ยังคงร่วมมือกับ CP Group เพื่อช่วยเสริมความไว้วางใจกับคู่ค้าทางธุรกิจและลูกค้า ซึ่ง CP Group ก็จัดเป็นกลุ่มบริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีบริษัท ย่อยกว่า 200 แห่งทั่วโลก อีกทั้งมีรายรับต่อปีสูงถึง 54 พันล้านดอลลาร์
Arunanondchai กล่าวว่า Velo ได้“ เชื่อมต่อ” บริการโอนเงินภายใน CP Group และนี่เป็นจุดเริ่มต้นและร่วมมือกับเซเว่นอีเลฟเว่นในประเทศไทย ซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก CP Group เพื่อให้ลูกค้าสามารถ cash-in-cash-out ใน 10,000 สถานที่ โดย Velo อ้างว่ามีตัวแทนเงินสดอยู่ที่ 500,000 รายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านพันธมิตรอื่น ๆ
“ ผมคาดหวังว่า Velo จะได้รับประโยชน์มากมายจากเครือข่ายผู้ขายของ CP Group และบริษัท ที่อยู่ใกล้พวกเขา อีกทั้งสภาพธุรกรรมที่มีความคล่องตัว การไหลเข้ามาของเงินหลายร้อยล้านต่อปีจาก CP Group นี่ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น” Jehan Chu ผู้จัดการหุ้นส่วนของ Kenetic Capital บริษัทการลงทุนและเชี่ยวชาญในด้าน Blockchain จากฮ่องกง กล่าว
โครงการนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมมูลค่ากว่าห้าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐในทุก ๆ ปี โดยภายใน 3 ปี การโอนเงินของแรงงานข้ามชาติคิดเป็นมูลค่ากว่า 25 พันล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งส่วนที่เหลือมาจากการโอนเงินผ่านทางพันธมิตรของ Velo อย่าง CP Group
อ้างอิง: Fortune
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด