CPF ประกาศความสำเร็จเลิกใช้ถ่านหิน 100% สำหรับกิจการในไทย พร้อมเปิดโรดเแม็ปสู่ Net-Zero | Techsauce

CPF ประกาศความสำเร็จเลิกใช้ถ่านหิน 100% สำหรับกิจการในไทย พร้อมเปิดโรดเแม็ปสู่ Net-Zero

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด  (มหาชน) หรือ CPF  เปิดโรดแม็ปเส้นทางขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์  (Net-Zero) พร้อมทั้งประกาศความสำเร็จยกเลิกการใช้ถ่านหิน 100 %  สำหรับกิจการในประเทศไทย บรรลุตามเป้าหมาย Coal Free 2022 เดินหน้าสร้างความมั่นคงทางอาหาร    

  คุณประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ  นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร และนางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุดสายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์ซีพีเอฟ ร่วมแถลงข่าวแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์  (Net-Zero) พร้อมทั้งประกาศความสำเร็จตามเป้าหมาย Coal Free 2022 ณ  อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์  สีลม    

คุณประสิทธิ์  กล่าวว่า การขับเคลื่อนองค์กรสู่  Net-Zero เป็นเป้าหมายสำคัญของบริษัทฯ ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืนของ CPF ที่ยึดตามแนวทางด้านความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์  และเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals:SDGs) ซึ่งบริษัทฯ กำหนดวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ผลิตอาหารอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 

รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์  Food Safety การผลิตอาหารที่ดีต่อร่างกาย มีคุณค่าโภชนาการ เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ให้คำหนึ่งคำที่ทานมีคุณค่ามากขึ้น ได้ความอร่อยและมีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้ง Food Security เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร       

นอกจากนี้  ในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ตระหนักถึงภารกิจของการเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลก ที่มุ่งมั่นดูแลการผลิตอาหารให้เพียงพอรองรับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในสถานการณ์ปกติและภาวะวิกฤต พร้อมทั้งมีส่วนร่วมสนับสนุนเป้าหมายของโลกในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)โดยได้ประกาศเป้าหมายสู่ Net-Zero ในปี 2050 (พ.ศ.2593)    และในปีที่ผ่านมา   บริษัทฯ บรรลุเป้าหมายยกเลิกการใช้ถ่านหิน 100% สำหรับกิจการในไทย ตามเป้าหมาย Coal Free 2022 ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่การเปลี่่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน   

ด้าน คุณพีรพงศ์ กล่าวว่า  ความสำเร็จในการยกเลิกใช้ถ่านหิน 100%  สำหรับกิจการในประเทศไทย ส่งผลให้สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนของบริษัทฯอยู่ที่ประมาณ 30 % ของการใช้พลังงานทั้งหมด นับเป็นบริษัทอันดับต้นๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนสูงที่สุด  ประกอบด้วย พลังงานจากก๊าซชีวภาพ30 % พลังงานชีวมวล 68 % และพลังงานแสงอาทิตย์ 2% ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 600,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า   และในอนาคต ซีพีเอฟมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 50 % ภายในปี  2030 และ เพิ่มเป็น100 % ในปี 2050  นอกจากนี้  การบรรลุเป้าหมายในการยกเลิกการใช้ถ่านหินสำหรับกิจการในประเทศไทย  จะเป็นต้นแบบให้กับกิจการในต่างประเทศด้วย   

คุณกอบบุญ กล่าวเพิ่มเติมถึง  นอกจากซีพีเอฟมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงแล้ว ยังดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อม  ซึ่งส่งผลทางอ้อมจากการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้   โดยบริษัทฯดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลน  ภายใต้แนวคิด "ความมั่นคงทางอาหาร จากภูผาสู่ป่าชายเลน"ได้แก่  โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ "ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี” 

ซึ่งนอกจากจะช่วยปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ยังเป็นโครงการที่ดูแลคุณภาพของน้ำและชุมชน นอกจากนี้ ยังมีโครงการ "ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน" โดยต่อยอดสู่การเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิถีชุมชน ช่วยสร้างงาน และสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 โครงการฯ ร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไปแล้ว รวม 14,000 ไร่ และมีแผนเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 20,000 ไร่ ในปี 2030 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังผนึกกำลังกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เดินหน้า "โครงการกล้าจากป่า พนาในเมือง (กทม.) สนับสนุนต้นไม้ 100,000 ต้น หนุนเพิ่มพื้นที่สีเขียว และกำแพงกรองฝุ่น ในโครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น ของ กทม./ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bluebik กางแผนธุรกิจปี 2568 ปักธงผู้นำ AI Transformation ในไทย ตั้งเป้าโต 20% ในปีหน้า

บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันครบวงจร ประกาศปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่โดยใช้ AI เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ผ่าน...

Responsive image

NIA จับมือ Business Finland ต่ออายุ MOU พัฒนานวัตกรรม & สตาร์ทอัพ ไทย-ฟินแลนด์อีก 5 ปี

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ Business Finland ได้ต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอีก 5 ปี...

Responsive image

Meta ทุ่ม 3.45 แสนล้านสร้างสายเคเบิลใต้ทะเล ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร

Meta กำลังวางแผนสร้างสายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้ทะเลขนาดใหญ่ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.45 แสนล้านบาท...