ผ่านไปแล้วสำหรับงาน Decarbonize Thailand Symposium 2024: Path to Net Zero Collaboration งานที่ช่วยให้ผู้ประกอบการได้อัปเดตนวัตกรรมและเทรนด์เทคโนโลยีช่วยให้โลกก้าวสู่ Net Zero ซึ่งเป็นวาระสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องลงมือแก้ไขอย่างจริงจัง และผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ทั้งนี้ งานจัดขึ้นโดย ทรู ดิจิทัล พาร์ค และ นิวเอนเนอร์จี้ เน็กซัส (ประเทศไทย) ร่วมกับ เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย, ทรู คอร์ปอเรชั่น, มิตซูบิชิ อีเล็กทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) และ ไทยรัฐ ออนไลน์
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีโชว์เคสจากสตาร์ทอัพ 21 รายในอุตสาหกรรม E-Mobility, Decarbonization, Agritech และ Energy เป็นการนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดและนวัตกรรมที่จะช่วยผลักดันไทยสู่เป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
ดร.ธาริต นิมมานวุฒิพงษ์ ผู้จัดการทั่วไป True Digital Park กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนยังมีแนวโน้มแย่ลง รายงาน Global Risk Report 2024 ของ World Economic Forum ความเสี่ยงอันดับแรกที่ผู้ตอบแบบสำรวจกังวลมากที่สุด คือ ภาวะสภาพอากาศสุดขั้ว ที่ทำให้เกิดภัยทางธรรมชาติต่างๆ ซึ่งนอกจากส่งผลกระทบต่อชีวิตแล้วยังสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจด้วย ปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง ทรู ดิจิทัล พาร์ค จึงนำศักยภาพระบบนิเวศครบวงจรเชื่อมโยงองค์กรเทคต่างๆ สตาร์ทอัพ และพันธมิตรผ่านการจัดงานในปีนี้
โดย ดร.ธาริต เล่าถึงแนวคิดการจัดงานในปีนี้ว่า การจัดงานปีนี้เน้นแนวคิดเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความ Sustainable ในบรรยากาศที่เข้าถึงง่าย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่รวมพลคนในวงการที่มีแนวคิดเดียวกันให้ได้มาพบปะพูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งอาจต่อยอดไปสู่การลงทุนธุรกิจในอนาคต
ถึงจะห่างหายจากการจัดงานไปหนึ่งปี ดร.ธาริต เล่าว่า ตลอดระยะเวลาที่เว้นการจัดงาน เรานำองค์ความรู้ทั้งหมดที่สะสมมาทั้งหมดถ่ายทอดสู่งานในปีนี้ ผ่านการเสวนาในหัวข้อต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับ Tagline ของงานที่ว่า Path to Net Zero Collaboration เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีหลายองค์กรและหน่วยงานที่ประกาศเป้าหมายการลดคาร์บอน แต่ไม่มีใครออกมาบอกว่าในระหว่างการทำมีปัญหาหรือติดขัดตรงไหน ดังนั้น การจัดงานในปีนี้จึงเป็นเรื่องของการอัปเดตและแชร์โซลูชั่นที่แต่ละองค์กรเจอ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่กำลังมุ่งมั่นลดคาร์บอนอย่างมาก
ด้าน สแตนลี เอิง ผู้อำนวยการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ New Energy Nexus กล่าวว่า "ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา เราได้สนับสนุนบริษัท 1,200 แห่งที่ทำงานในด้านพลังงานและสภาพภูมิอากาศใน 13 ประเทศต่างๆ ดังนั้น ภารกิจของเราคือการสร้างบริษัทหลายร้อยแห่งในแต่ละประเทศที่ทำงานช่วยผู้นำอุตสาหกรรมในการลดการปล่อยคาร์บอนในธุรกิจของพวกเขา"
นอกจากนี้ ภายในงานยังการจัดเสวนาในหัวข้อต่างๆ อาทิ
อีกหนึ่งความพิเศษของงานปีนี้อยู่ที่การมีสตาร์ทอัพมาร่วมงานมากถึง 21 ราย ทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น, ไต้หวัน และอินเดีย เป็นต้น แม้จะไม่ใช่องค์กรใหญ่แต่เป็นกลุ่มที่มีเทคโนโลยีที่ดี และยังไม่มีโอกาสได้นำเสนอเทคโนโลยีของตัวเองในวงกว้าง การจัดงานครั้งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งเวทีที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้โชว์เทคโนโลยีและสร้างแรงบันดาลใจให้คนในวงการเดียวกัน
“การลดคาร์บอน หรือลดภาวะโลกร้อน อาจไม่ใช่เรื่องขององค์กรใหญ่อย่างเดียว แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราทุกคน และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเข้าใจและไม่ละเลย ถ้าทุกคนร่วมมือกันในวันนี้ก็อาจทำให้สิ่งที่เป็นอยู่ดีขึ้น หรือไม่แย่ไปกว่าเดิม” ดร.ธาริต กล่าวทิ้งท้าย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด