หลังจากที่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES : Ministry of digital economy and society) จับมือกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA : Digital Economy Promotion Agency) แถลงข่าวเรื่อง การจัดทำ ‘บัญชีบริการดิจิทัล’ กลไกยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลไทย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในประเทศไทยพัฒนาสินค้า/บริการดิจิทัลให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล ทั้งยังเปิดทางให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้าไปเลือกซื้อสินค้า/บริการดิจิทัลผ่าน TECHHUNT แพลตฟอร์มที่เป็นเหมือนมาร์เก็ตเพลสของสินค้าดิจิทัล ภายในงานยังมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ดิจิทัลไทยผ่านตราสัญลักษณ์ dSURE และวงเสวนา ‘เปิดเกมรุก สู่มิติใหม่ของสินค้าและบริการดิจิทัล’
ใช่ว่าสินค้า/บริการดิจิทัลใดๆ ก็สามารถใช้ตรา dSURE ได้ ทว่าผู้ขอใช้ตรา (บริษัทที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย) ต้องยื่นเรื่องให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อน หากผ่านเกณฑ์ทั้ง ด้านความปลอดภัยในการใช้งาน (Safety) และ ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) สินค้า/บริการดิจิทัลนั้นๆ จะไปปรากฏบนหน้าเว็บ รายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือก ของ DEPA
การการันตีด้วยตราสัญลักษณ์ dSURE และมีชื่อสินค้า/บริการดิจิทัลในระบบ จึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นและทำให้ผู้บริโภคไว้วางใจมากยิ่งขึ้น
ด้วยความมุ่งมั่นของ DEPA ที่จะยกระดับคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่น และพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของไทย รวมถึงคัดกรองผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่ไม่ได้มาตรฐาน และปกป้องผู้บริโภคจากภัยอันไม่พึงประสงค์ จึงได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อาทิ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA),
DEPA เป็นหน่วยงานหลักในการขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัล โดยจะตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลไทย รวมถึงสินค้าและบริการดิจิทัลที่ขอรับการขึ้นทะเบียน ไม่ว่าจะเป็น Software, Software as a Service, Digital Content Service, Smart Devices และ Hardware and Firmware ฯลฯ ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดด้านมาตรฐานตามที่สำนักงานฯ กำหนด เช่น CMMI, ISO สำหรับ Software และ dSURE สำหรับ Smart Devices ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัย การใช้งาน และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
แนวทางนี้สอดคล้องกับความตั้งใจของ SCG องค์กรเอกชนชั้นนำของไทยที่มีศักยภาพในการพัฒนาสินค้าและบริการดิจิทัลออกสู่ตลาดจำนวนมาก และกระจายอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งยังต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดิจิทัลให้แก่ประเทศ จึงร่วมด้วยช่วยผนึกกำลังกับ DEPA อีกทางหนึ่ง
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 'การยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการดิจิทัลไทยสู่ระดับสากลด้วยมาตรฐาน dSURE' กับ DEPA โดย ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ SCG โดย นายอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer และมี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาร่วมเป็นสักขีพยาน
ความร่วมมือข้างต้นสามารถขยายผลไปสู่อะไรได้บ้าง เทคซอสมี Key Messages บางส่วนจากวงเสวนาในหัวข้อ ‘เปิดเกมรุก สู่มิติใหม่ของสินค้าและบริการดิจิทัล’ ซึ่งมี คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม เป็นหนึ่งในผู้ร่วมเสวนา และมีมุมมองที่น่าสนใจจาก คุณนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที มาให้อ่านกัน
คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer, SCG
กล่าวถึงระบบเศรษฐกิจดิจิทัลว่า ในอดีต คนมักจะนึกถึง ‘ซอฟต์แวร์’ เป็นหลัก และสิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่นึกถึงภายใต้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล คือ การตรวจสอบมาตรฐานของสินค้าและบริการดิจิทัล ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ องค์กรขนาดใหญ่ ที่ต้องทำให้รู้ว่าสินค้าและบริการดิจิทัลของตนมีคุณภาพและสมบูรณ์ (Maturity) จึงจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้งานภายในประเทศ ก่อนส่งไปรุกตลาดโลก
แต่ในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ คนจะนึกถึง ‘ฮาร์ดแวร์ที่มีซอฟต์แวร์ embedded อยู่เบื้องหลัง’ ซึ่งผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้จะสร้างรายได้เข้าประเทศอีกมาก และจะเป็นธุรกิจที่แข็งแกร่งกว่าการส่งออกซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียว
แต่การสร้างฮาร์ดแวร์ที่มีซอฟต์แวร์ embedded อยู่นั้น มีความท้าทายอยู่ 3 ข้อ
ดังนั้น การจัดทำมาตรฐานตราสัญลักษณ์ที่เรียกว่า dSURE สำหรับสมาร์ทดีไวซ์ หรือธุรกิจดิจิทัลเชิงฮาร์ดแวร์ หรือที่ภาครัฐเรียกว่า ‘ระบบเศรษฐกิจอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ’ จึงเป็นก้าวสำคัญและจำเป็นมาก และ SCG เห็นความสำคัญในด้านนี้ จึงเข้ามาสนับสนุนและร่วมผลักดันเศรษฐกิจใหม่เชิงสมาร์ทดีไวซ์ และด้วยศักยภาพของ SCG บริษัทจึงเข้ามาช่วยขยายศักยภาพของเอสเอ็มอี ผู้ประกอบธุรกิจดิจิทัล และร่วมผลักดันมาตรฐานสินค้าเทคโนโลยีทั้ง 3 ข้อที่กล่าวไป จากนั้นจึงให้ทดลองทำตลาดในไทย และเมื่อกิจการแข็งแรงเพียงพอก็จะสามารถพาธุรกิจออกไปสู่ตลาดโลกได้
ด้านความท้าทายที่อาจตามมา คุณอภิรัตน์บอกว่า
‘การได้มาตรฐาน’ จะไม่ท้าทายเท่ากับ ‘การได้สเกล (Scalability)’ แล้วจะทำอย่างไรกิจการในไทยจะสเกลได้อย่างประเทศที่มีขนาดใหญ่แบบจีน?
นอกจากนี้ ยังฝากความหวังไว้ที่กระทรวงดิจิทัลฯ และ DEPA ในการสนับสนุนและสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจดิจิทัลในประเทศไทย ให้สามารถสเกลหรือเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเริ่มจากเร่งสร้างมาตรฐานสินค้าและบริการดิจิทัลผ่านสัญลักษณ์ dSURE ก่อน
“ผมคิดว่า dSURE เป็นก้าวแรกที่สำคัญ สมมุติว่าเราได้มาตรฐาน dSURE แล้ว ก็หวังว่าจะมี Incentive บางอย่างจากภาครัฐที่ทำให้นวัตกรรมของคนไทยมีความได้เปรียบ เมื่อเทียบกับนวัตกรรมจากต่างชาติ ที่เข้ามาแล้วอาจจะไม่ได้ dSURE ซึ่งหลังจากนำร่องโดยภาครัฐ ภาคเอกชนก็จะเดินตามได้ พูดง่ายๆ เช่น ถ้ามีการเปิดประมูล นวัตกรรมไทยที่ได้ dSURE จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษก่อนได้ไหม”
สำหรับอุปสรรคสำคัญที่มีต่อการสนับสนุนสินค้าและบริการดิจิทัลโดยผู้ประกอบการไทย คือ เราเชื่อถือแบรนด์ต่างประเทศมากกว่าแบรนด์ไทย เพราะเห็นว่ามีศักยภาพและมีมาตรฐานอุตสาหกรรมสูงกว่า สินค้าไทยที่ไม่ได้รับการคัดเลือกก่อน จึงไม่มีโอกาสโต การส่งออกสินค้าดิจิทัลของไทยไปต่างประเทศจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้
แต่ถ้ามี dSURE ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะพาธุรกิจไทยไปสู่ Maturity, Scalability และช่วยสร้างความได้เปรียบให้แก่ผู้ประกอบการรายเล็ก รวมถึงธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น มีโอกาสทัดเทียมรายอื่นๆ ในตลาด
ส่วนโครงการจัดทำ ‘บัญชีบริการดิจิทัล’ ของ DEPA คุณอภิรัตน์มองว่า แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ภาครัฐทราบว่า เอกชนมีอะไรที่ซัพพอร์ตภาครัฐได้ อย่างเรื่องสมาร์ทซิตี้ แม้ไม่แน่ใจว่าภาครัฐตีโจทย์ว่า สมาร์ทซิตี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่เมื่อมีบัญชีบริการดิจิทัล แพลตฟอร์มนี้จะเป็นจุดเชื่อมที่ช่วยให้สื่อสารกันได้มากขึ้นทั้งฝั่ง Demand และ Supply โดยการค้นหาสินค้าและบริการดิจิทัลบนแพลตฟอร์มจะทำให้ฝั่ง Demand เห็นว่า เป็นธุรกิจของไทยหรือธุรกิจต่างประเทศ ขนาดธุรกิจใหญ่หรือเล็ก และจะเห็นในแง่คุณภาพ ประสบการณ์การใช้งานจริง ขณะที่ฝั่ง Supply ก็มีโอกาสขยายตลาดให้ใหญ่ขึ้น เป็นที่รู้จักมากขึ้น
คุณนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที
กล่าวถึงปัญหาของการเลือกสินค้าและบริการดิจิทัลว่า ภาครัฐและเอกชนมีแนวทางสื่อสารความต้องการ (Requirement) ต่างกัน ผลที่ได้จึงออกมาคนละแบบ ดังนั้น ‘การเลือกสินค้าและบริการดิจิทัล’ จึงควรเป็นแบบเดียวกับ ‘การสั่งอาหาร’ ที่สามารถ ‘สื่อสารแล้วเข้าใจตรงกัน’ จึงจะลดอุปสรรคสำคัญของการจัดซื้อจัดหาหรือประมูลสินค้าที่ตรงตามความต้องการได้
ในด้านการกำหนดมาตรฐาน dSURE เมื่อมีการตรวจสอบและให้การรับรอง มีแพลตฟอร์ม บัญชีบริการดิจิทัล เข้ามาช่วยให้การค้นหาสินค้าและบริการทำได้เองนั้น โครงการสร้างมาตรฐานนี้จึงมีประโยชน์ตรงที่ทำให้รู้ว่า บริษัทหรือใครมีทักษะใด ใครมีความเชี่ยวชาญด้านไหน กลุ่มผู้ประกอบการดิจิทัลฝั่ง Supply ที่ยังไม่มีความสามารถก็จะต้องพัฒนาตัวเองเพื่อก้าวขึ้นมาแข่งขันในเวทีเดียวกับผู้ประกอบการที่มีความสามารถมากกว่า ทางฝั่ง Demand ก็มีตัวเลือกมากขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกเซ็กเตอร์ และสุดท้าย มีสิ่งหนึ่งที่อยากให้เกิดขึ้นจากการมีมาตรฐาน dSURE กับ บัญชีบริการดิจิทัล เนื่องจากทุกอย่างต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องก่อน คือ การนำเครื่องมือนี้มาใช้ลดการคอร์รัปชันในประเทศไทย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด