Depa ร่วมกับ Foodordery เปิดตัว eatsHUB แพลตฟอร์มเรียกรับส่งอาหารสัญชาติไทย ภายใต้โครงการ National Delivery Platform ปูพรมติดอาวุธผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยในยุคดิจิทัล ช่วยลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย ด้วยจุดเด่นเรื่องค่าส่วนแบ่งรายได้ที่ต่ำ พร้อมสร้างอาชีพ และตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค
โดยตั้งเป้ามีประชาชนลงทะเบียนเข้าใช้แพลตฟอร์มกว่า 500,000 ราย มีจำนวนการเข้าใช้งานมากกว่า 5,000,000 ครั้ง และช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 500 ล้านบาทภายในปีแรกของการเปิดให้บริการ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน eatsHUB ได้แล้ววันนี้ทั้งในระบบ android และ iOS
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Depa เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง โดยหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยและตอบสนองความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน ซึ่งเหตุผลดังกล่าวเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจบริการรับส่งอาหารเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยคำสั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์มเรียกรับส่งอาหาร (Food Delivery Platform) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน ธุรกิจบริการรับส่งอาหารมีการแข่งขันที่สูงมาก เพราะมีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียกรับส่งอาหารต้องการเข้ามาชิงส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ให้บริการจากต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ต้นทุนการใช้แพลตฟอร์มสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารอยู่ในระดับที่สูง จึงเป็นความได้เปรียบสำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีเงินทุนมากกว่า
ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) มีส่วนต่างกำไรไม่มาก ทำให้บางรายส่งต่อต้นทุนไปสู่ผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อให้ผู้ประกอบการทุกระดับสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม Depa จึงได้ร่วมกับ บริษัท ฟู้ด ออเดอรี่ จำกัด ดำเนินโครงการ National Delivery Platform โดยการพัฒนา eatsHUB แพลตฟอร์มเรียกรับส่งอาหารสัญชาติไทย เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหาร พนักงานรับส่งอาหาร รวมถึงผู้สนใจเป็นพนักงานรับส่งอาหาร และตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในปัจจุบัน
“จุดเด่นของ eatsHUB คือการเรียกเก็บค่าส่วนแบ่งรายได้ (GP) จากร้านค้าสมาชิกประมาณ 8-10% ต่ำกว่าอัตราการเรียกเก็บ 30% ของแพลตฟอร์มอื่น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้ร้านค้าสมาชิกมีต้นทุนในอัตราที่แข่งขันได้สามารถนำเงินทุนมาต่อยอดเพื่อเพิ่มยอดขาย ขณะที่ผู้บริโภคจะได้รับอาหารในราคาที่ใกล้เคียงกับการซื้อจากหน้าร้าน โดยประมาณการณ์ว่าจะมีประชาชนลงทะเบียนเข้าใช้แพลตฟอร์ม eatsHUB กว่า 500,000 รายทั่วประเทศ มียอดการเข้าใช้งานมากกว่า 5,000,000 ครั้ง ช่วยสร้างอาชีพพนักงานรับส่งอาหารกว่า 2,000 ราย และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 500 ล้านบาทในปีแรกของการเปิดให้บริการ” ผู้อำนวยการใหญ่ Depa กล่าว
ด้าน คุณธรรมนิตย์ ขำวังยาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Foodordery กล่าวว่า eatsHUB พร้อมให้บริการนำร่องในพื้นที่กรุงเทพฯ 4 เขต ประกอบด้วย บางเขน จตุจักร ลาดพร้าว และสวนหลวง และจะขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ จากนั้นจะเริ่มขยายพื้นที่ให้บริการไปในต่างจังหวัด
โดยในปีแรก eatsHUB จะสามารถให้บริการได้ครอบคลุมหัวเมืองใหญ่ 18 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา ชลบุรี จันทบุรี ระยอง นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี และนครพนม โดยในช่วงเปิดตัวจะมีร้านค้าเข้าร่วมให้บริการในแพลตฟอร์มมากกว่า 20,000 ร้าน
คุณธรรมนิตย์ กล่าวต่อว่า จุดเด่นของ eatsHUB ที่จะช่วยสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร ประกอบด้วย
สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้สนใจที่จะร่วมเป็นพนักงานรับส่งอาหาร สามารถศึกษาข้อมูล และรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมสมัครเป็นสมาชิกได้ตั้งแต่วันนี้ผ่านทางเว็บไซต์ www.foodordery.co.th ส่วนประชาชนทั่วไปสามารถดาวน์โหลด eatsHUB #แอปพลิเคชันไทยเพื่อคนไทย ทั้งในระบบ android และ iOS เพื่อพบความแตกต่างอย่างคุ้มค่า #อิ่มเต็มคำได้ทุกวัน ได้แล้ววันนี้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด