แท็กซี่ญี่ปุ่นคึกคัก : Didi จากจีนจับมือ Softbank ลงตลาด ส่วน JapanTaxi ได้เงินทุนจาก Toyota เพิ่ม | Techsauce

แท็กซี่ญี่ปุ่นคึกคัก : Didi จากจีนจับมือ Softbank ลงตลาด ส่วน JapanTaxi ได้เงินทุนจาก Toyota เพิ่ม

ตลาดเรียกแท็กซี่ผ่านแอปหรือ Ride-hailing ในญี่ปุ่นคึกคัก เมื่อ Didi Chuxing ร่วมทุนกับ Softbank เตรียมลงตลาดให้บริการแท็กซี่ ส่วน JapanTaxi ที่มีบริษัทผู้ประกอบการแท็กซี่รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นเป็นเจ้าของก็ได้เงินทุนจาก Toyota เพิ่มเป็นจำนวน 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Photo : Dixi Chuxing

ข่าวแรก : Didi Chuxing

Photo : TechCrunch

ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้บริการเรียกแท็กซี่ผ่านแอปหรือ Ride-hailing รายใหญ่จากจีนแผ่นดินใหญ่ อย่าง Didi Chuxing (เรียกย่อ ๆ ว่า Didi) ได้ขยับขยายธุรกิจอยู่หลายระลอก สะท้อนการขยายการลงทุนตลาดในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จาก

  • สิงหาคม 2016 - ซื้อกิจการ Uber ในประเทศจีน แต่ยังคงแบรนด์ Uber ไว้อยู่
  • ธันวาคม 2017 - ลงทุนเงินจำนวน 4 พันล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาเรื่องของ AI, การขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ และพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้า
  • เมษายน 2017 - ลงทุนใน Ofo สตาร์ทอัพผู้ให้บริการเช่าจักรยาน เป็นจำนวนเงิน 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ต้นปี 2018 - ซื้อกิจการ Bluegogo ผู้ให้บริการเช่าจักรยานรายใหญ่ในจีน
  • ภายในปี 2018 ขยายตลาดไปยังเม็กซิโก (ด้วยการซื้อกิจการบริษัทในประเทศ) และขยายตลาดไปยังไต้หวันผ่านการขายแฟรนไชส์ให้บริษัทในประเทศ

ล่าสุด Didi Chuxing ร่วมทุน (Joint Venture) กับ Softbank เพื่อเตรียมให้บริการแท็กซี่ในญี่ปุ่น โดยจะเริื่มให้บริการในโอซาก้า, เกียวโต, ฟุกุโอกะ และโตเกียว ภายในปีนี้

Didi Chuxing กล่าวไว้ในแถลงการณ์ว่า “Didi และ SoftBank จะศึกษาเงื่อนไขและนโยบายในตลาดประเทศญี่ปุ่นอย่างจริงจัง และจะสร้างความร่วมมือกับผู้ขับแท็กซี่ ผู้กำหนดนโยบายจากภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนอื่น ๆ  โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างและครอบคลุมถึงผู้ประกอบกิจการแท็กซี่ทุกรายในญี่ปุ่น”

โดยการบริการจะมาจากผู้ขับแท็กซี่และบริษัทผู้ให้บริการแท็กซี่ที่มีอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เพราะในเวลานี้ญี่ปุ่นไม่ออกใบอนุญาตให้บริการ Ride-hailing ใดๆ ทั้งสิ้น

ข่าวที่สอง : TaxiJapan

Photo : Car-Brand-Names.com

Toyota ลงทุนในบริษัท TaxiJapan มูลค่า 7,500,000 เยน หรือประมาณ 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากจะลงทุนด้วยเงินแล้ว Toyota ก็ระบุในแถลงการณ์ว่ามีแผนที่จะแผนพัฒนาบริการด้วย โดยจะทำงานร่วมกันและสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ เช่น สร้างสถานีจอดแท็กซี่ พัฒนาระบบสนับสนุนการจ่ายงานให้กับผู้ขับแท็กซี่ รวมไปถึงการพัฒนาการเก็บข้อมูลแบบ Big Data อีกด้วย

โดย TaxiJapan ดำเนินการโดย Ichiro Kawanabe เจ้าของ Nihon Kotsu บริษัทผู้ประกอบการแท็กซี่รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น โดยมีผู้ดาวน์โหลดแอปนี้ไปแล้วนับล้านครั้งนี้ และมีแท็กซี่อยู่ในระบบจำนวน 60,000 คัน (ในแถลงการณ์ระบุว่าเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนแท็กซี่ในญี่ปุ่นทั้งหมด)

ก่อนหน้านี้ Toyota ก็ลงทุนใน JapanTaxi ผ่านกองทุน Mirai Creation Fund เป็นจำนวนเงิน 4,500,000 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • อุตสาหกรรมแท็กซี่ในญี่ปุ่น ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศญี่ปุ่น ทำรายได้ให้กับประเทศปีละ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ญี่ปุ่นไม่ออกใบอนุญาตให้บริการ Ride-hailing ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่ง Uber ก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้บริการนี้ โดยจะเลือกผู้ขับแท็กซี่ที่ได้รับใบอนุญาตจากภาครัฐที่จะมาให้บริการบน Uber ได้ ทำให้ Uber ยังเจาะตลาดญี่ปุ่นไม่ได้เต็มตัวนัก
  • แต่ Dara Khosrowshahi CEO ของ Uber ก็ยังหมายมั่นปั้นมือ Uber เป็นผู้ครองส่วนแบ่งในตลาดแท็กซี่ญี่ปุ่นให้ได้
  • คู่แข่งอีกรายในญี่ปุ่นก็คือ LINE TAXI ซึ่งมาจากผู้ใช้บริการ Instant Messaging ชื่อดังในญี่ปุ่น โดยร่วมมือกับบริษัทผู้ประกอบการแท็กซี่รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นอย่าง Nihon Kotsu อีกด้วย
  • ความสัมพันธ์ระหว่าง Uber กับ Didi ยังถือเป็นเรื่องที่ซับซ้อนพอสมควร เมื่อมกราคม 2018 ที่ผ่านมา SoftBank ก็ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท Uber หลังได้ลงทุนใน Uber ด้วยเงินจำนวน 7,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และก่อนจากนี้ในเดือนพฤษภาคม 2017 SoftBank ยังเคยลงทุนใน Didi ผ่าน Delta Fund 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Vision Fund ยังลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย
  • ยังไม่พอ Didi ก็ไปถือหุ้น Uber ในจีนอีกด้วย
  • ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนแบบนี้ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้น เพราะ SoftBank ก็หนุนหลัง Uber ซึ่งเป็นคู่แข่งของ Ola และ Grab, แต่ก็ลงทุนใน Lyft ด้วย
  • แต่อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ที่เล่ามาข้างต้นก็ทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เมื่อ SoftBank และ Didi กลายเป็นคู่แข่ง Uber ในตลาดญี่ปุ่นตอนนี้...

อ้างอิงข้อมูลจาก TechCrunch (1) และ TechCrunch (2)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Willow ชิปควอนตัมจาก Google แรงทะลุจักรวาล ประมวลผลเรื่องยากได้ในเวลา 5 นาที เร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ล้านล้านเท่า

Willow คือชื่อชิปควอนตัมใหม่ที่ Google พัฒนาสำเร็จ โดยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวติ้ง ชิปตัวนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้เร็ว...

Responsive image

ไทยตื่นตัวเซมิคอนดักเตอร์ ปิดดีลไปแล้วกว่า 22,000 ล้าน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนสิ้นปี

ไทยก้าวสู่ยุคเซมิคอนดักเตอร์เต็มตัว! 4 เดือนก่อนสิ้นปี ปิดดีลลงทุนไปกว่า 22,000 ล้านบาท เสริมฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมผลักดันบุคลากรสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต...

Responsive image

ลิซ่า ซู จาก AMD คว้า CEO แห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME

ลิซ่า ซู ซีอีโอ AMD ได้รับเลือกให้เป็นซีอีโอแห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME โดยได้รับการยกย่องในวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำที่สามารถพลิกฟื้น AMD จากการเกือบล้มละลายเมื่อ 10 ปีก่อน กลายเ...