Digital Ventures เปิดบ้านคุยเรื่อง Blockchain แบบง่ายๆ เตรียมพร้อมสู่นวัตกรรม FinTech | Techsauce

Digital Ventures เปิดบ้านคุยเรื่อง Blockchain แบบง่ายๆ เตรียมพร้อมสู่นวัตกรรม FinTech

Digital Ventures ผู้ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์  ได้เปิดโอกาสสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เทคโนโลยี Blockchain (บล็อกเชน) Fintech ปฏิวัติโลกการเงินและธุรกรรมออนไลน์ ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมธนาคาร โดยเป็นสถาบันการเงินไทยแห่งแรกที่บุกเบิกการลงทุน ศึกษา เพื่อทดลอง Fintech บนเครือข่าย Blockchain โดยมุ่งพัฒนาระบบโอนเงินข้ามประเทศแบบเรียลไทม์ หรือ การทำ Cross Border Payment ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้ประกาศแผนการลงทุนใน Ripple บริษัทผู้ให้บริการ Solution ด้านการชำระเงินชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา ทั้งยังเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain อีกด้วย

DV-Jo-Thana

การร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท Ripple สะท้อนกลยุทธ์ของธนาคารไทยพาณิชย์ในการยกระดับการบริการลูกค้า  ทั้งยังได้เปิด Knowledge sharing เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain ให้คนไทยมีความพร้อมและความเข้าใจในนวัตกรรมทางการเงินที่น่าจับตามองนี้ ที่ Digital Venturesวันที่ เมื่อ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา

ความรวดเร็ว ความปลอดภัย และการลดค่าใช้จ่าย

Keyword 3 คำที่คุณธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวไว้เกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain นั่นก็คือ Faster, Better และ Cheaper โดยเชื่อว่าเทคโนโลยี Blockchain ที่ทั่วโลกตื่นตัวนี้จะเป็นนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับการทำธุรกรรมทางการเงินในหลายรูปแบบที่ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ ทั้งในแง่ความรวดเร็ว ความปลอดภัย และการลดค่าใช้จ่าย เช่นเดียวกับองค์กรภาครัฐตามนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ของรัฐบาล

Blockchain กับการประยุกต์ใช้ในหลากหลายวงการ

นายสุวิชชา สุดใจ  Managing Director, Digital Products บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด อธิบายเกี่ยวกับ Blockchain หรือ DLT (Distributed Ledger Technology) ว่า “หากพูดถึง Blockchain หลายคนจะนึกถึงบริการสกุลเงินดิจิตอล หรือที่เรียกว่า Bitcoin ซึ่งจริงๆ แล้ว Bitcoin เป็นเพียงหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่นำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการดำเนินการเท่านั้น โดย Blockchain คือระบบการทำงานบนฐานข้อมูลออนไลน์ประเภทหนึ่งที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น รวมทั้งยังโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จากเดิมที่ปัจจุบัน ข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บไว้ที่ใดที่หนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ในขณะที่ Blockchain ใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่อนุญาตให้สมาชิกในระบบทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้  ทั้งนี้ การอัพเดทข้อมูลจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีการตกลงและเห็นชอบร่วมกันระหว่างบุคคลส่วนใหญ่ที่อยู่ในระบบเดียวกันเท่านั้น โดยเมื่อข้อมูลถูกบันทึกลงในระบบแล้ว ข้อมูลนั้นจะไม่สามารถถูกลบทิ้งได้”

โดยได้มีการยกตัวอย่างการใช้งาน Blockchain ในวงการสตาร์ทอัพ นอกเหนือไปจาก Fintech หรือเทคโนโลยีการเงิน เช่น

  • Everledger ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ในด้าน Insurance ของธุรกิจเพชร เพื่อติดตามที่มาที่ไปของเพชรนั้นๆ ป้องกันการปลอมแปลงใบ certification เพื่อโจรกรรมเพชร
  • Wave สร้างแพลตฟอร์มสำหรับเป็นฐานเก็บข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าประเภทเอกสาร ช่วยลดขั้นตอนการทำเอกสาร
  • Provinance.org องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่นำ Blockchain มาใช้ทำแพลตฟอร์มกลางเพื่อติดตามกรรมวิธีของผลผลิตทางการเกษตร ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกพืชของเกษตรกรจนขนส่งมาถึงผู้บริโภค หรือ Traceability  คล้ายการติดแท็กให้กับผักเพื่อจะยืนยันว่าผักที่ผู้บริโภคได้รับ เป็นผัก organic ที่มีคุณภาพจริง

DV-interview

Blockchain คือ The next internet

Blockchain มีส่วนคล้ายคลึงกับอินเตอร์เน็ตในแง่ของการเก็บข้อมูลเพราะทั้งคู่ต่างก็เป็นระบบที่เอื้อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดย Blockchain สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ Private Blockchain และ Public Blockchain ซึ่งหากเปรียบเทียบว่า Public Blockchain คืออินเตอร์เน็ต ในแง่ของการอนุญาตให้ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลในระบบได้อย่างเท่าเทียมกัน Private Blockchain ก็จะเปรียบเสมือน Intranet ที่จำกัดสิทธิ์ให้เฉพาะบุคคลหรือบางหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากทางระบบในการเข้าถึงข้อมูลนี้ได้

นายสุวิชชากล่าวทิ้งท้ายว่า ในปัจจุบัน Blockchain ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลายรูปแบบ จึงนับได้ว่า Blockchain จะก้าวขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีอันทรงอิทธิผลแห่งอนาคตในอีกไม่ช้า ซึ่งในขณะนี้มีธนาคารชั้นนำทั่วโลกกว่า 50 แห่งที่ได้เข้าร่วมในระบบ Blockchain เพื่อพัฒนาการโอนเงินข้ามประเทศนี้แล้ว อาทิ Standard Chartered, Royal Bank of Canada (RBC), Westpac, National Australia Bank (NAB), Mizuho Financial Group (MHFG), BMO Financial Group และ Shanghai Huarui Bank  อย่างไรก็ตาม Blockchain อาจต้องอาศัยเวลาในการสร้างการรับรู้และเข้าใจถึงบทบาทและประโยชน์ เช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตที่กว่าจะเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันและมีอิทธิพลต่อชีวิตผู้คนในวงกว้างก็ต้องอาศัยเวลากว่า 20 ปี

 


เกี่ยวกับ Digital Ventures (ดิจิทัล เวนเจอร์ส)

FB_IMG_1476242362697

Digital Ventures คือบริษัทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2559 ตามกลยุทธ์ในการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ของทางธนาคารฯ  ดิจิทัล เวนเจอร์ส มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมธนาคารผ่านการลงทุน การค้นคว้านวัตกรรม รวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เติบโตร่วมไปกับธนาคารฯ เบื้องต้น ดิจิทัล เวนเจอร์ส มีเงินลงทุนใน Financial Technology จำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1,760 ล้านบาท

ข้อมูลเพิ่มเติม www.dv.co.th

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พาสปอร์ตสิงคโปร์ ครองแชมป์พาสปอร์ตทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปี 2025

พาสปอร์ตสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ใน Henley Passport Index 2025 ด้วยสิทธิ์เดินทางไร้วีซ่า 195 ปลายทาง สะท้อนความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทูตระดับโลก...

Responsive image

ส่องแผน UK ปั้นประเทศอย่างไร ให้กลายเป็นมหาอำนาจ AI โลก

Keir Starmer นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออกมาประกาศถึงความต้องการที่จะทำให้ UK กลายเป็น ‘มหาอำนาจ’ ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคั่ง และทำให้ A...

Responsive image

Xiaohongshu คือแอปฯ อะไร? ทำไมชาวเมกันถึงหันไปใช้ หลัง TikTok ส่อแววโดนแบนในสหรัฐ

ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการแบน TikTok ในอเมริกาวันที่ 19 มกราคมนี้ ทำให้แอปวีดีสั้นจากจีนที่ชื่อว่า Xiaohongshu หรือที่รู้จักกันในชื่อ RedNote ได้รับความนิยมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ...