สรุปดีเบต และโนยบายด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากทรัมป์ และแฮร์ริส | Techsauce

สรุปดีเบต และโนยบายด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากทรัมป์ และแฮร์ริส

การเลือกตั้งสหรัฐฯ กำลังเป็นที่จับตามองไปทั่วโลก ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีดีเบทครั้งแรกระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ และ กมลา แฮร์ริส ที่เดือดพล่านตั้งแต่เริ่มต้น โดยเฉพาะประเด็นเศรษฐกิจที่ทั้งสองฝ่ายต่างงัดนโยบาย และวาทะเด็ดมาห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด 

ทั้งสองคนนี้พูดอะไร หรือมีนโยบายอะไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจบ้าง ? Techsauce ขอสรุปประเด็นที่น่าสนใจไว้ดังนี้

การค้าระหว่างประเทศ

ทรัมป์ : สนับสนุนการขึ้นภาษีนำเข้า (tariff) สินค้าจากต่างประเทศ โดยมองว่าเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมและแรงงานในสหรัฐฯ เขาเสนอให้ขึ้นภาษีสินค้าต่างประเทศ 10-20% และอาจสูงกว่านั้นสำหรับสินค้าจากจีน

แฮร์ริส : วิพากษ์วิจารณ์นโยบายการค้าของทรัมป์ โดยมองว่าการขึ้นภาษีนำเข้าเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภคชาวอเมริกัน เธออธิบายว่าชนชั้นกลางจะเผชิญกับภาระภาษีที่สูงขึ้น โดยภาษีศุลกากร 20% ที่บังคับใช้ในวงกว้างจะมีค่าใช้จ่ายครัวเรือนทั่วไปปีละ 4,000 ดอลลาร์

การจ้างงาน

ทรัมป์: อ้างว่าเขาสร้างเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ และตำหนิรัฐบาลไบเดน-แฮร์ริส ว่าทำ ให้เกิดการว่างงานสูง

แฮร์ริส: โต้แย้งว่าทรัมป์ทิ้งประเทศไว้ในสภาวะว่างงานที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) และรัฐบาลไบเดน-แฮร์ริส ได้สะสาง "ความยุ่งเหยิง" ที่ทรัมป์สร้างไว้

*จากข้อมูลของ CNN ระบุว่า อัตราว่างงานหลังจากทรัมป์ออกจากตำแหน่งเมื่อปี 2021 อยู่ที่ 6.4% ต่างจากปี 2020 ที่มีอัตราว่างงานสูง 14.8% เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือเป็นอัตราว่างงานสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1939 ตามการบันทึกของสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ

ภาษี

ทรัมป์: ต้องการลดภาษีเพิ่มเติม โดยเฉพาะการลดภาษีนิติบุคคลจาก 21% เหลือ 15% และยกเว้นภาษีสำหรับทิปและเงินประกันสังคม เขาเชื่อว่าการลดภาษีจะช่วยกระตุ้นการลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

แฮร์ริส: วิพากษ์วิจารณ์นโยบายของทรัมป์ว่าเป็นประโยชน์ต่อคนรวยและบริษัทขนาดใหญ่ เธอเสนอให้ขึ้นภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้สูงและบริษัทขนาดใหญ่ เพื่อนำเงินมาใช้ในโครงการช่วยเหลือครอบครัวชนชั้นกลางและผู้มีรายได้น้อย

เธอยังเสนอให้ขยายการหักลดหย่อนภาษีสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก สนับสนุนการเพิ่มอัตราภาษีนิติบุคคลเป็น 28 เปอร์เซ็นต์จาก 21 เปอร์เซ็นต์ และสัญญาว่าจะไม่ขึ้นภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 400,000 ดอลลาร์ต่อปี โดยการฟื้นฟูและขยายเครดิตภาษีเงินได้จากการทำงานและเครดิตภาษีบุตร รวมถึงเครดิตภาษีบุตร 6,000 ดอลลาร์สำหรับปีแรกของชีวิตทารกแรกเกิด

เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

ทรัมป์: คัดค้านการยกหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา แต่สนับสนุนมาตรการเพื่อรวมแผนการชำระหนี้ตามรายได้

แฮร์ริส: สนับสนุนแผนการยกหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาลไบเดนสำหรับผู้กู้หลายสิบล้านคน แต่เธอยังไม่ได้อธิบายรายละเอียดว่านโยบายของเธอจะเป็นอย่างไรหากได้รับเลือก

สรุปบทบาทของรัฐบาลในเศรษฐกิจ

จากการดีเบทครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ทรัมป์เชื่อมั่นในพลังของภาคเอกชน ต้องการให้รัฐบาลมีบทบาทน้อยลงในเศรษฐกิจ สนับสนุนการลดกฎระเบียบ และการลดภาษี ขณะที่แฮร์ริส มองว่ารัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมและโอกาสทางเศรษฐกิจ สนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา และโครงการช่วยเหลือสังคมต่างๆ 


  อ้างอิง : AP, abcnews, The Washington Post, ft

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

WHA Group ผนึก ’Green Mobility‘ กลุ่มธุรกิจที่ 5 ตั้งธง 5 ปี รายได้ 1.5 แสนล้าน

WHA Group เปิดเผยว่า ปี 2568 มุ่งเน้นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งใน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ครอบคลุมธุรกิจล่าสุดอย่าง Mobility โดยพัฒนาเป็นโซลูชันกรีนโลจิสติกส์ครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ภายใต้...

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

‘HoriXon T8' ธุรกิจใหม่ใต้ปีก TIPH x BE8 สู่ฮับ AI-Powered Insurance ภูมิภาค

TIPH จับมือ BE8 เปิดตัว HoriXon T8 หรือ 'T8' บริษัท ฮอไรซอน ที 8 จำกัด เพื่อปฏิวัติ Insurance Ecosystem ให้อุตสาหกรรมประกันภัย ด้วย AI-Powered Digital Transformation...