dtac ชี้เงื่อนไขการประมูลคลื่น 900 MHz มีความเสี่ยงต่อ Telco ไทยระยะยาว | Techsauce

dtac ชี้เงื่อนไขการประมูลคลื่น 900 MHz มีความเสี่ยงต่อ Telco ไทยระยะยาว

dtac เข้าปรึกษา กสทช. อีกครั้งเมื่อ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ย้ำเงื่อนไขเพิ่มเติมในการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz อาจส่งผลต่อภาระให้ผู้ชนะการประมูลไม่สามารถปฏิบัติได้จริง และทำให้แก้ไขประเด็นสัญญาณคลื่นความถี่ถูกรบกวนไม่ได้ ส่งผลคุณภาพโครงข่ายระยะยาวสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วประเทศและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในระยะยาว

คุณราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  กล่าวว่า “การประมูลคลื่นความถี่ถือเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคลื่นความถี่ต่ำย่าน 900 MHz ซึ่งมีความสำคัญในการสร้างสัญญาณครอบคลุมทั่วประเทศโดยเฉพาะนอกพื้นที่เขตเมือง ขณะนี้ ดีแทคจึงต้องปรึกษาร่วมกับ กสทช. เพื่อให้มั่นใจว่าการประมูลคลื่นความถี่จะสร้างประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับทั้งรัฐและลูกค้า"

ย้ำประเด็นหลักต่อเงื่อนไขการประมูลใบอนุญาต 900 MHz

  1. เงื่อนไขในการอนุญาตข้อ 16 ที่กำหนดให้ผู้ชนะการประมูลจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่และการรบกวนระบบอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางรางทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว โดยมีภาระในการติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (filter) ให้แก่ผู้รับใบอนุญาตรายเดิมที่ใช้คลื่นความถี่ย่าน 850 MHz และผู้ให้บริการระบบคมนาคมขนส่งทางราง จำนวน 4 โครงการซึ่งในเบื้องต้น คาดว่าจะมีประเด็นปัญหา คือ
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เชื่อว่าจะสูงกว่าจำนวนเงินที่ กสทช. ลดราคาขั้นต่ำของการประมูลให้จำนวน 2,000 ล้านบาทมาก
  • ปัญหาในทางปฏิบัติที่ผู้ชนะการประมูลจะเข้าไปดำเนินการติดตั้ง filter ในสถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตรายเดิมทั้งหมดที่มีอยู่ ณ วันที่ออกประกาศการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ฉบับนี้ ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก
  • ปัญหาในทางเทคนิคและทางปฏิบัติในการดำเนินการติดตั้ง filter ให้ระบบคมนาคมขนส่งทางรางซึ่ง ณ ขณะนี้ ยังไม่ทราบว่าเป็นระบบอะไร

  1. เงื่อนไขในการอนุญาตข้อ 17. กสทช. สงวนสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนการใช้คลื่นความถี่เป็นช่วง 885-890/930-935 MHz ในกรณีที่จำเป็น โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ซึ่งในกรณี จะต้องติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (filter)  ณ สถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เพิ่มเติมจากที่ต้องดำเนินการในกรณีแรกตามเงื่อนไขข้อ 16

ทั้งนี้ เงื่อนไขการประมูลเพิ่มเติมดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 900   MHz ที่ กสทช. นำออกมาประมูล ซึ่งดีแทคได้เข้าหารือกับ กสทช. เพื่อให้การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ประสบความสำเร็จ โดยสามารถนำคลื่นความถี่ต่ำมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุดต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม และประโยชน์ของประชาชนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะส่งผลสร้างรายได้ให้รัฐบาลอีกด้วย

โดยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา ดีแทคก็เข้ารับเอกสารการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ที่จะจัดประมูลขึ้นโดยสำนักงาน กสทช. ในวันที่ 18-19 สิงหาคมนี้ พร้อมเข้าร่วมการชี้แจงการประมูล (Information Session) อีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จับตา 18 อุตสาหกรรม พลิกโฉมเศรษฐกิจโลก สร้างรายได้กว่า 48 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2040

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจดุเดือดกว่าเดิม มีอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่กำลังมาแรง และเติบโตแบบก้าวกระโดด เราเรียกอุตสาหกรรมเหล่านี้ว่า 'Arenas' ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาส แต่ก็ต้...

Responsive image

Gemini 2.0 คืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง ? สรุปของใหม่กับ AI ที่เก่งที่สุดของ Google

หลังจาก Google เปิดตัว Gemini 1.0 ซึ่งเป็น AI แบบ Multimodal และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีผู้ใช้มากถึง 2 พันล้านคนทั่วโลก ล่าสุดได้มีการอัปเกรดเวอร์ชันใหม่ในชื่อ Gemini 2.0 ซึ่งเป็น...

Responsive image

พลังงานจากหลุมดำ พุ่งชนวัตถุลึกลับในกาแล็กซี เกิดรอยปริศนารูปตัว V

NASA พบร่องรอยแปลกประหลาดจากการพุ่งชนของลำแสงพลังงานสูงที่มาจากหลุมดำขนาดมหึมาในกาแล็กซี Centaurus A (Cen A) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 12 ล้านปีแสง การค้นพบนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการ...