สรุป 11 ข้อเสนอที่ประชุมสภาดิจิทัลฯต่อภาครัฐบาล หนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล - สตาร์ทอัพไทย | Techsauce

สรุป 11 ข้อเสนอที่ประชุมสภาดิจิทัลฯต่อภาครัฐบาล หนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล - สตาร์ทอัพไทย

ในการประชุมออนไลน์ผ่านทาง vroom โดยสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย  (DCT)  เพื่อให้ทางผู้ประกอบการสตาร์ทอัพได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ แนวทาง ข้อเสนอแนะในมิติต่างๆ เพื่อสนับสนุนการลงทุนขับเคลื่อนธุรกิจ อุตสาหกรรมดิจิทัล และกลุ่มสตาร์ทอัพ ในหัวข้อ ประชุมออนไลน์ “หัวข้อ ปรับปรุง นโยบาย กฎหมาย และกฎระเบียบ เพื่อพัฒนา ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมระดับภูมิภาค” – กลุ่ม start up ซึ่งมีตัวแทนจากทั้งฝั่งของสภาดิจิทัลฯ ตัวแทนจากรัฐบาล และตัวแทนจากกลุ่มสตาร์ทอัพเข้าร่วม สามารถสรุปข้อเสนอได้เป็น 11 ข้อดังนี้

สภาดิจิทัล

Finance 

-ผลประโยชน์ทางภาษีสำหรับ Angle Investor สามารถนำรายจ่ายจากการลงทุนมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5.6 ล้านบาท หรือไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินลงทุน

-Crowdfunding และตลาดรอง (Secondary Market) ส่งเสริมการระดมทุนในรูปแบบ Crowdfunding โดยการเพิ่มวงเงินการระดมทุนต่อรายเป็น 50 ล้านบาท เพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับนักลงทุนรายย่อยในรูปแบบ Crowdfunding เช่น สิทธิในการหักภาษี และยกเว้น Capital Gain Tax รวมถึงการสร้างตลาดทุนรองสำหรับการซื้อขายหุ้นเริ่มต้น

-ผ่อนปรนข้อจำกัดสำหรับ Venture Capital ไทยหรือต่างชาติ Venture Capital ต่างประเทศที่มีสำนักงานในประเทศไทย เช่น ยกเว้น Capital Gain Tax และสามารถถือกรรมสิทธิ์ในบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศได้ถึงร้อยละ 100 รวมถึงสิทธิ์ในการถือหุ้นบุริมสิทธิ

-สามารถเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพได้ในช่วงเริ่มธุรกิจ (Convertible Debt) 

-ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดตั้งกองทุน PPP เพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพ ซึ่งในกรณีนี้ปัจจุบันมีธนาคารออมสิน ทำอยู่แล้ว อาจจะสามารถศึกษาได้จากโมเดลนี้

Support Services

-สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและการค้ำประกันเงินกู้โดยรัฐบาล ในประเด็นนี้ควรจะมีการสนับสนุนธนาคารในการเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือปลดดอกเบี้ยให้กับสตาร์ทอัพ เพื่อลดความเสี่ยงในการปล่อยกู้และลดต้นทุนของกองทุน

-รัฐส่งเสริมทุนสนับสนุนศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (Incubator & Accelerator) สูงสุดร้อยละ 70 ของต้นทุน

-สนับสนุนการดึงดูดบุคคลากรชั้นนำโดยการให้อัตราภาษีที่ดึงดูด (อัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคลแบบคงที่ที่  17%  เหมือนกับที่ EEC) และรัฐชดเชยเงินสำหรับใช้เป็นค่าตอบแทนให้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และผ่อนปรนข้อจำกัดเกี่ยวกับโควต้าการจ้างงานชาวต่างชาติ (จากเดิม 20% เป็น 38% เหมือนสิงคโปร์)

-สนับสนุนให้สามารถจัดสรรหุ้นให้พนักงานได้ (ESOP) โดยให้รีบผ่านร่างกฎหมายและประกาศใช้ให้บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สามารถขายหุ้นให้กับผู้บริหาร พนักงาน หรือเจ้าหนี้

Demand-Oriented Support

-จัดซื้อจัดจ้างสตาร์ทอัพในโครงการของภาครัฐ เพื่อเป็นการเสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆให้แก่สตาร์ทอัพ

Regulatory Framework

-ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล Startup ในเขตพื้นที่พิเศษ เช่น ย่านนวัตกรรม (Innovation District) เป็นเวลา 8 ปี


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Gartner คาดการณ์ความท้าทายองค์กรยุค AI พนักงานอาจเจอปัญหาเสพติดดิจิทัล โครงสร้างองค์กรอาจเปลี่ยนไป

Gartner บริษัทวิจัย และให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เผยการคาดการณ์กลยุทธ์สำคัญสำหรับปี 2025 โดยชี้ให้เห็นว่า Generative AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญ และจะส่งผลกระทบต่อการทำงา...

Responsive image

จุดสีส้มบน iPhone และจุดสีเขียวบน Android หมายความว่าอย่างไร ?

รู้หรือไม่? จุดสีส้มบน iPhone และจุดสีเขียวบน Android บ่งบอกว่ากล้องหรือไมโครโฟนกำลังทำงาน ควบคุมความเป็นส่วนตัวของคุณด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ที่ต้องรู้!...

Responsive image

สรุปอนาคตงานปี 2025-2030 จาก World Economic Forum งานไหนมาแรง ทักษะใดสำคัญ

World Economic Forum ออกรายงานประจำปีในหัวข้อ Future of Jobs Report 2025 เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดแรงงานในอนาคตโดยอ้างอิงข้อมูลจากนายจ้างกว่า 1,000 รายทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวแทนของพ...