ภาษี e-Service มีผลบังคับใช้แล้ว 1 กันยายนนี้ | Techsauce

ภาษี e-Service มีผลบังคับใช้แล้ว 1 กันยายนนี้

กรมสรรพากร เตรียมเก็บภาษี e-Service หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายนนี้ พร้อมกันนี้ยังเผยอีกว่า ได้มีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติ เข้ามาลงทะเบียนเสียภาษี e - Service แล้วกว่า 60 ราย

ภาษี e-Service คืออะไร ?

ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 377 (พ.ศ.2564) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานและทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ประกอบการที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ เพื่อกำหนดวิธีการดำเนินงานในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e - Service) ของกรมสรรพากร โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 กันยายน 2564

สำหรับภาษี e-Service เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผู้ประกอบการต่างชาติที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย และมีรายได้จากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบงานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือ VAT for Electronic Service (VES) บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมชำระภาษีเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 23 เดือนถัดไป

ธุรกิจประเภทใดบ้างที่ต้องจดทะเบียนภาษี e-Service ในประเทศไทย ?

สำหรับธุรกิจที่ต้องมาจดทะเบียนและดำเนินการทางภาษี แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ 

  • ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับขายสินค้าออนไลน์ หรือ e-Commerce

  • ธุรกิจให้บริการโฆษณาออนไลน์ 

  • ธุรกิจให้บริการจองโรงแรม ที่พักและการเดินทาง 

  • ธุรกิจให้บริการเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย 

  • ธุรกิจชมภาพยนตร์ ฟังเพลงออนไลน์ เกม รวมถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ

และจากข้อมูลล่าสุดพบว่า ธุรกิจที่ได้ขอยื่นจดทะเบียนมีแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้ง Netflix, Spotify, Facebook, Viu, TIKTOK เป็นต้น

ทั้งนี้ การออกภาษี e-Service นั้นจะทำให้การแข่งขันของผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการต่างชาติแข่งขันอย่างเป็นธรรม เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจบริการออนไลน์จะต้องส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ในขณะที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ของต่างชาติไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ โดยประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่เริ่มเก็บภาษี e-Service นี้ตามคำแนะนำของ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD และได้มีการดำเนินการในขั้นตอนของกฎหมายมากว่า 2 ปี จนได้รับการอนุมัติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งในปัจจุบันมีกว่า 60 ประเทศที่เก็บภาษีประเภทนี้ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย เป็นต้น

โดยการเสียภาษี e-Service ของผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่จดทะเบียน จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในไทยที่ไม่ได้จดทะเบียน VAT ซึ่งผู้ใช้บริการในไทยที่จดทะเบียน VAT อยู่แล้ว ให้ดำเนินการโดยยื่นแบบและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ. 36 และสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อได้เช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่เสียภาษี e-Service ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และไม่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

องค์กรไทยพร้อมแค่ไหนเรื่อง AI? ซิสโก้เผยไทยพร้อมเพียง 21% แม้ลงทุนสูง แต่ผลตอบแทนยังต่ำกว่าคาด

ซิสโก้เผยผลสำรวจ 'ดัชนีความพร้อมด้าน AI ประจำปี 2024' ชี้องค์กรไทยเผชิญความท้าทายในการใช้ AI แม้จะมีการตื่นตัวและลงทุน แต่ความพร้อมโดยรวมยังต่ำ โดยมีองค์กรเพียง 21% ที่พร้อมใช้งาน ...

Responsive image

ทุนจีนดันไทยเป็นฐานที่ตั้งการผลิตแห่งใหม่ ตั้งรับภัยสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ส่งให้ตลาดรถยนต์ EV-อิเล็กทรอนิกส์พุ่งแรง

ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้บริษัทจีนหลายแห่งทั้งในอุตสาหกรรม EV และอิเล็กทรอนิกส์ได้พร้อมใจเร่งขยายฐานธุรกิจในประเทศไทย เพื่อ...

Responsive image

Techsauce ร่วมกับ Brunei Startup Summit 2025 ยกระดับ Startup Ecosystem ในบรูไน

Techsauce ร่วมกับ Brunei Startup Summit 2025 ยกระดับ Startup Ecosystem ในบรูไน...