เป็นอีกหนึ่งประเด็น ที่คนให้ความสนใจ สำหรับการประกาศราชกิจจาพิธีศุลกากร ค้า E-Commerce ใน EEC ที่จะเป็นพื้นที่ปลอดภาษี การประกาศดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับใครในแง่ไหนบ้าง เรื่องนี้ Techsauce ได้สัมภาษณ์พิเศษ คุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ถึงประเด็นดังกล่าว
เรื่องนี้เกี่ยวกับโครงการ EEC จะมี Digital Free Trade Zone ซึ่งเป็นเขตปลอดภาษี ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้คือมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะแน่นอนว่าต้องมีทั้งคนที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ซึ่งเราต้องมาคุยกันว่าสำหรับประเทศไทยได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์มากกว่ากัน ถ้าคนที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้และได้ประโยชน์แน่นอนคือ Alibaba เขาตกลงที่จะลงทุนหมื่นล้านบาทให้รัฐบาลไทย มีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกับไทย 4 ข้อด้วยกัน คือ
หลังจากที่รัฐบาลของมาเลเซียกับจีนเจรจากันกับ แจ็ค หม่าแล้ว ก็มีการ set up เรียบร้อยแล้ว โดยวางมาเลเซียเป็น hub สู่ตลาดสำหรับประเทศหมู่เกาะ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ส่วนไทยนั้นจะเป็น hub สู่ตลาด CLMV
Alibaba ต้องการนำสินค้าจีนเข้าสู่ภูมิภาค SEA แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เขาอยากจะให้ผู้ประกอบการ SMEs เป็น hub ในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลกผ่าน Alibaba platform ฉะนั้นในแง่ของ Alibaba ผมคิดว่าเขา win อยู่แล้ว เพราะที่กล่าวมาข้างต้นล้วนทำผ่าน platform เขาทั้งหมดเลย
เป้าหมายใหญ่ของ EEC คือ Distribution Center โดยการให้ประเทศไทยเป็น Distribution Hub แต่จริงๆ มีข้อหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ เขตปลอดอากร ซึ่งเขตปลอดอากรนี้คนไทยสามารถสั่งสินค้าออนไลน์ผ่านพ่อค้าแม่ค้าจีนได้ 2 ช่องทางหลักๆ คือ
อนาคตจะมีช่องทางที่ 3 เกิดขึ้น จากตอนแรกทาง lazada, shopee ต้องใช้การคาดเดาว่าคนไทยน่าจะซื้อสินค้าอะไร แต่เมื่อเขตปลอดอากรเกิดขึ้น เขาก็นำเข้าสินค้าเข้ามาไว้ในเขตปลอดอากร EEC โดยไม่ต้องเสียภาษี นำเข้ามาเป็นคอนเทนเนอร์ก็ไม่ต้องเสีย ซึ่งในเขตปลอดอากรนั้นก็มี Alibaba ไปตั้งศูนย์กระจายสินค้าอยู่ในนั้นด้วย เมื่อมีผู้บริโภคคนไทยอยากสั่งซื้อเคสมือถือ ราคาถูกจาก lazada สิ่งที่เกิดขึ้นคือ 1. สินค้าราคาไม่เกิน 1,500 บาท ก็เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรและภาษีมูลค้าเพิ่ม (VAT) จากนั้นเขาก็สามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ทันที เปรียบเสมือนมีสินค้าของจีนมาตั้งไว้ในประเทศไทย เมื่อมีคนสั่งก็สามารถเอาออกมาส่งทีละออเดอร์ได้ ฉะนั้นจะไม่มีข้อจำกัดเหมือนช่องทางที่ 1 ที่ต้องรอนานกว่าจะได้สินค้าที่ส่งมาจากจีน ส่วนข้อสำกัดของช่องทางที่ 2 คือ สินค้ามีจำกัด ไม่กี่ประเภท แต่ช่องทางที่ 3 คือ สินค้ามีหลากหลายมาก
ปัจจุบันนี้ก็มีสินค้าจีนเข้ามาสู่ผู้บริโภคคนไทยอยู่แล้วผ่านทั้งช่องทางที่ 1 และ 2 แต่ EEC จะทำให้เกิดช่องทางที่ 3 ซึ่งเป็นผลดีในมุมของผู้บริโภค เพราะคนสามารถซื้อของจากจีนได้รวดเร็วและได้ราคาที่ถูก ขณะเดียวกันมุมมองของพ่อค้าแม่ค้าคนไทยซึ่งทำตัวเป็น trader โดยการนำสินค้ามาและขายต่อในราคา mark up ขึ้น โดยที่ไม่ได้เพิ่มคุณค่าหรือ branding ของตัวเอง ก็จะหายไป ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องมีเขาอยู่ใน value chain เพราะพ่อค้าแม่ค้าจีนเขาสามารถมาแทนที่ได้
ดังนั้นคำแนะนำสำหรับพ่อค้าแม่ค้าคนไทย คือ ถ้าจะสร้างสินค้าเป็นของตัวเองโดยการนำเข้ามาจากจีน ต้องเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ ประเด็นอยู่ที่ว่าแล้วสินค้าตัวไหนที่คุณภาพดี ต้องโฟกัสตัวนั้นและทำหน้าที่นี้แทนผู้บริโภค ต้องคัดเลือกและการันตีคุณภาพมาให้ผู้บริโภค ที่สำคัญคือต้องสร้างแบรนด์ของตัวเอง จะเป็นแรนด์ที่มีสินค้าคุณภาพดีและมีการรับประกันอย่างไร เพิ่ม value added, บริการหลังการขาย นี่คือสิ่งที่ต้องปรับตัว
“ตอบยาก เพราะตอนนี้เราอยู่ในยุคที่ e-commerce คือ Global trade ไม่ว่าเราจะไม่ชอบหรือมองว่ามันไม่เป็นธรรมแค่ไหนก็ตาม แต่สุดท้ายมันก็เกิด การมาของ EEC มันช่วยทำให้ภาพนั้นมันชัดขึ้นว่า Global trade มันมาแล้วจริงๆ ซึ่งคนไทยก็ซื้อสินค้าผ่านช่องทางที่ 1 และ 2 อยู่แล้ว เพียงแต่ตอนนี้มันมีช่องทางที่ 3 เกิดขึ้นมาเพิ่ม” คุณธนาวัฒน์กล่าวปิดท้าย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด