Ericsson เผย 5 แนวโน้มการใช้ Mobile Broadband ในไทยและทั่วโลก ผ่านรายงาน “Ericsson Mobility Report” ฉบับล่าสุดเดือนพฤศจิกายน 2017 คาดการณ์จำนวนผู้สมัครใช้บริการ 5G จะมีถึง 1 พันล้านรายในปี 2023
บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด (Ericsson (Thailand) Ltd.) จัดงานแถลงข่าว Ericsson Mobility Report ครั้งที่ 2 ประจำปี 2560 เพื่อแบ่งปันข้อมูลผลสำรวจและการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบไร้สายทั่วโลก, พฤติกรรมผู้บริโภค, รวมไปถึงศักยภาพของเทคโนโลยี 5G และเส้นทางสู่ยุค 5G เพื่อสนับสนุนนโยบายด้านดิจิทัลของประเทศไทย ให้ข้อมูลโดยคุณวุฒิชัย วุฒิอุดมเลิศ หัวหน้างานฝ่าย Network Solutions บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด
โดยข้อมูลแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบไร้สายทั่วโลกโดยเฉพาะ 5G สามารถสรุปได้ออกมาเป็น 5 ข้อ ดังนี้
Ericsson ระบุภาพรวมของเครือข่ายเคลื่อนที่ทั่วโลกพบว่า LTE (หรือที่รู้จักกันในชื่อ 4G) จะกลายเป็นเทคโนโลยีหลักในการติดต่อสื่อสารภายในสิ้นปีนี้ โดยคาดว่า จะมีการสมัครใช้บริการกว่า 5.5 พันล้านราย ครอบคลุมกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรโลกภายในสิ้นปี 2023
หลังจากที่ไม่ปีกี่ปีผ่านมา ทั่วโลกมีการนำเทคโนโลยีสัญญาณเสียงโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ Voice over LTE (VoLTE) ไปใช้แล้วบนกว่า 125 เครือข่ายในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก คาดว่าจะมีผู้สมัครใช้บริการ VoLTE ถึง 5.5 พันล้านรายภายในสิ้นปี 2566 ซึ่งจะครอบคลุมกว่า 80 เปอร์เซ็นของปริมาณผู้สมัครใช้งาน LTE และ 5G รวมกัน
ข้อมูลในรายงานคาดการณ์ว่าภายในปี 2023 จะมีผู้ใช้งาน Mobile Broadband 5G ถึง 1 พันล้านคน โดยการใช้งานเทคโนโลยี 5G จะเริ่มต้นจากพื้นที่เขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น และจะแพร่หลายครอบคลุมถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรโลกภายในสิ้นปี 2566
ซึ่งเครือข่ายแรกที่จะนำระบบส่งสัญญาณ 5G มาใช้ในเชิงพาณิชย์นั้น คาดการณ์ว่าจะเปิดให้บริการในปี 2019 และจะส่งผลให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปี 2020 โดยประเทศกลุ่มที่คาดว่าจะมีการใช้งานเป็นกลุ่มแรกๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน
Ericsson ยังระบุด้วยว่าเทคโนโลยี 5G จะช่วยเพิ่มมูลค่าการตลาดเท่าที่เป็นไปได้ทั้งหมด หรือ Addressable Market ของผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในไทย โดยคาดการณ์ว่าในปี 2026 ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในไทยจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือคิดเป็น 22 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรายได้ในปี 2017
โดยผลการวิจัยข้อมูลจาก App Annie ของ Ericsson พบว่าปริมาณผู้สมัครที่ใช้บริการแพ็คเกจข้อมูลเพื่อใช้งานเครือข่ายไร้สายในประเทศไทย 12 เดือนที่ผ่านมามีการเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีผู้สมัครใช้บริการแพ็คเกจ 5 GB ต่อเดือนเพิ่มขึ้นจาก 44 เปอร์เซ็นต์เป็น 66 เปอร์เซ็นต์
ข้อมูลในรายงานยังระบุต่อว่า โลกในปี 2023 ยอดการรับ-ส่งข้อมูล (Traffic) ผ่านเครือข่ายไร้สายจะสูงกว่าขึ้นเดิม 8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2017
โดยในปี 2017 มียอดการใช้งานอยู่ 14 Exabyte ต่อเดือน (1 Exabyte = 1 พันล้าน GB) โดยวิดีโอจัดเป็นข้อมูลที่มีการรับส่งมากที่สุด คิดเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ของ Traffic ทั้งหมด
ส่วนในปี 2023 ที่คาดการณ์จะมีการใช้ 5G อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ยังมีการคาดการณ์ว่าจะมียอดการใช้งานอยู่ที่ 110 Exabyte ต่อเดือน โดยวิดีโอจัดเป็นข้อมูลที่มีการรับส่งมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นเป็น 75 เปอร์เซ็นต์ของ Traffic ทั้งหมด
และเมื่อดูยอดการรับส่งข้อมูล (Traffic) ผ่านเครือข่ายไร้สายของสมาร์ทโฟน 1 เครื่องใน 1 เดือน เจาะไปลงในทีวีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก จะพบว่าในปี 2017 สมาร์ทโฟน 1 เครื่อง จะมีการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 2.7 GB ต่อเดือน
ส่วนในปี 2023 ที่คาดการณ์จะมีการใช้ 5G อย่างเต็มรูปแบบ ก็พบว่าในปีนั้น สมาร์ทโฟน 1 เครื่อง จะมีการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 15 GB ต่อเดือน สูงกว่าปี 2017 ถึง 6 เท่า
นอกจากนี้ข้อมูลจากรายงานพฤติกรรมของ Mobility Report ในปีก่อน ที่มีการทดลองพฤติกรรมผู้บริโภค โดยพบว่าผู้บริโภคไม่สามารถทนดูความละเอียดที่ต่ำ ๆ ได้อีกต่อไป
คอนเทนต์ประเภทวิดีโอยังคงเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันปริมาณการใช้งาน mobile broadband ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่ม Young Millennials ซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 15-24 ปีเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก โดยเฉลี่ยแล้วมีการรับชมคอนเทนต์ประเภทนี้มากกว่ากลุ่มคนช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไปถึง 2.5 เท่า
การชมวิดิโอสตรีมมิ่งที่มีความละเอียดสูง และเทรนการบริโภคสื่อวิดีโอในรูปแบบที่ซับซ้อน มากขึ้น อาทิ วิดีโอแบบ 360 องศา มีผลโดยตรงต่อปริมาณการใช้งานรับส่งข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น วิดีโอแบบ 360 องศาบน Youtube ใช้ความกว้างแถบคลื่นความถี่ หรือ bandwidth มากกว่าวิดีโอแบบปกติถึง 4-5 เท่า จับ
คุณวุฒิชัย วุฒิอุดมเลิศ หัวหน้างานฝ่าย Network Solutions บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในการเปิดเผยรายงานครั้งนี้ว่า
เทคโนโลยี 5G ยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ให้บริการเครือข่ายเพิ่มขึ้นได้ถึง 22 เปอร์เซ็นต์ หรือ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทย รวมถึงภาครัฐและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะนาศักยภาพของเทคโนโลยี 5G มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคชาวไทยและผู้ประกอบการ อีริคสันและกลุ่มผลิตภัณฑ์สาหรับเครือข่าย 5G จะสามารถช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยย้ายจากเทคโนโลยี 4G มาเป็น 5G ได้อย่างต่อเนื่อง
โดยคุณวุฒิชัยระบุว่าบริษัท Ericsson ในฐานะผู้นำเทคโนโลยี 4G และ 5G พร้อมให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในประเทศไทยเพื่อให้เกิดเครือข่ายไร้สายที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มมาศึกษาต่อได้ที่เว็บไซต์ https://www.ericsson.com/en/mobility-report
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด