ประกาศ พ.ร.บ. ดูแล “กิจการธุรกรรมดิจิทัล” รับรองอำนาจ ETDA ในฐานะผู้กำกับดูแลกิจการฯ | Techsauce

ประกาศ พ.ร.บ. ดูแล “กิจการธุรกรรมดิจิทัล” รับรองอำนาจ ETDA ในฐานะผู้กำกับดูแลกิจการฯ

  • ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562” ให้ ETDA ทำหน้าที่กำกับดูแล กิจการธุรกรรมด้านดิจิทัล เต็มตัว พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ทั้งหมด โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ นั่งเป็นประธานรักษาการณ์
  • ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562” นิยามระบแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติ ยอมรับการใช้เอกสารดิจิทัลเป็นหนังสือที่ใช้งานได้ ผู้ประกอบกิจการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องขึ้นทะเบียนและมีใบอนุญาต หากไม่ทำตามอาจติดคุกสูงสุดถึง 3 ปี

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตื่นตัวเรื่องการทำธุรกรรมดิจิทัลไม่น้อย ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมาได้มีการประกาศกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมดิจิทัล 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 โดยทั้งสองมีใจความที่พาไทยเข้าใกลความจริงสำหรับบริการธุรกรรมดิจิทัลไปอีกขั้น

เริ่มที่ พ.ร.บ. สำนักพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 จะว่าด้วยการยกระดับสำนักธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ขึ้นเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลกิจการธุรกิจธุรกรรมดิจิทัล โดยมีสิทธิ์ออกใบอนุญาตประกอบกิจการธุรกรรมดิจิทัล ให้คำแนะนำในฐานะผู้กำกับดูแล รวมถึงมีหน้าที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการบริการในธุรกิจนี้ผ่านการทำ Sandbox เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ๆ

อีกหนึ่งคือ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ซึ่งเพิ่มเติมมาจาก 2 ฉบับแรก ให้ครอบคลุมนิยามการใช้เอกสารดิจิทัล การกำกับดูแลผู้ประกอบการธุรกรรมดิจิทัล รวมถึงบทลงโทษของผู้ฝ่าฝืน โดยเนื้อหาสำคัญมีดังนี้

  • มาตรา 3 ระบุนิยาม ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ ว่าเป็นกระบวนการและตอบสนองที่กระทำต่อข้อมูลโดยอัตโนมัติ ไม่มีบุคคลธรรมดาเข้าไปแทรกแซง
  • มาตรา 8 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ ถ้ามีการจัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าถึงได้และนำกลับมาใช้โดยความไม่เปลี่ยนแปลง ก็สามารถใช้งานเป็นหนังสือได้
  • มาตรา 13/2 ห้ามมิให้ปฏิเสธความชอบธรรมของเอกสารดิจิทัลเพียงเพราะไม่มีบุคคลธรรมดาเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในแต่ละครั้ง
  • มาตรา 32 ผู้ที่จะดำเนินกิจการธุรกรรมดิจิทัลต้องขึ้นทะเบียน โดยหากไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ให้ ETDA เป็นผู้รับผิดชอบขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต
  • มาตรา 33/1 มาตรา 34 และมาตรา 45 ระบุโทษของการทำกิจการธุรกรรมดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ได้ขึ้นทะเบียน หรือผิดหลักเกณฑ์ โดยสรุปได้ว่ามีโทษปรับสูงสุด 2 ล้านบาท มีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี

ทั้งนี้ พ.ร.บ. ทั้งสองฉบับ ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก thumbsup.in.th และ ratchakitcha.soc.go.th [1],[2]

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...