รัฐบาลอังกฤษประกาศเพิ่มทักษะใหม่แก้ปัญหา ‘Fake News’ และ Confirmation Bias’ เข้าไปในหลักสูตรการเรียน | Techsauce

รัฐบาลอังกฤษประกาศเพิ่มทักษะใหม่แก้ปัญหา ‘Fake News’ และ Confirmation Bias’ เข้าไปในหลักสูตรการเรียน

จากกรณีที่ประชาชนชาวอังกฤษได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนของเด็กๆ จากสื่อ Social Media ต่างๆ ทำให้รัฐบาลมีความกังวลต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยล่าสุด ได้ออกมาผลักดันให้เกิดหลักสูตรเกี่ยวกับ Fake News (ข่าวปลอม) และ Confimation Bias (อคติในการเปิดรับข้อมูล โดยการเลือกเชื่อในสิ่งที่เป็นความเชื่อเดิมของตน) ให้เข้าไปอยู่ในระบบการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยหวังว่านี่จะช่วยให้เด็กๆ สามารถแยกแยะและมีความเข้าใจที่มากขึ้นต่อสิ่งที่พวกเขาพบเห็นบนโลกออนไลน์

Damian Hinds เลขานุการกระทรวงการศึกษา กล่าวว่า คุณครูในยุคนี้ควรมีความพร้อมในการจะสอนให้นักเรียนเรียนรู้ความเสี่ยงจาก Fake News รวมถึงข้อมูลที่อาจถูกบิดเบือนจากโลกออนไลน์ การผลักดันนโยบายของภาครัฐครั้งนี้ จะช่วยให้เด็กทุกคนจะได้เรียนรู้ Confimation Bias และรู้เท่าทันความเสี่ยงจากข้อมูลออนไลน์

โดยคุณครูจะให้ความรู้ในด้านการประเมินข้อมูลที่เด็กๆ เห็นในออนไลน์ และจดจำวิธีการของการพูดโน้มน้าวใจ และแยกแยะได้ว่าข้อมูลใดมีความเสี่ยงบ้าง ซึ่งนี่จะช่วยให้เด็กๆ รับรู้และตอบสนองต่อ Fake News ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่ผิดและข้อมูลที่ถูกบิดเบือนได้ เพราะการขยายตัวของข่าวปลอมสามารถ “ทำลายความไว้วางใจ ทำลายวัฒนธรรม และการเรียนรู้” กระทรวงศึกษาธิการกล่าวในแถลงการณ์

ทั้งนี้ Damian Hinds เลขานุการกระทรวงการศึกษา และ Matt Hancock เลขานุการกระทรวงสาธารณสุขจะเข้าร่วมมการประชุมเรื่องผลกระทบของ Social Media และ ข้อมูลออนไลน์ แน่นอนว่าหนึ่งในหัวข้อที่รัฐบาลกระตือรือร้นที่จะดำเนินการคือ กระแสการต่อต้านการฉีดวัคซีน ที่เกิดขึ้น

เลขานุการการศึกษายังกล่าวเสริมว่า “วันนี้เราจะพูดคุยกับ บริษัท สื่อ Social ว่าจะควบคุมการแพร่กระจายของเนื้อหาที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนได้อย่างไรบ้าง เพราะหากไม่มีการดำเนินการที่แน่นอนสถานการณ์จะยิ่งแย่ลงไปอีก เนื่องจากการแพร่กระจายของข่าวปลอมล้วนมีผลต่อ ชื่อเสียงขององค์กรและสิทธิประชาธิปไตย เรื่องราวเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นมาตั้งแต่ในอดีต ในการชวนให้ผู้คนเชื่อและบิดเบือนข้อมูลที่แท้จริง แต่ในยุคสมัยของอินเทอร์เน็ตการเกิดข่าวปลอมเป็นมากกว่าที่เคยเป็นมา เพราะมันสามารถสร้างกลุ่มคน โครงการ และเครือข่าย รวมถึงการกด ‘Likes’ ยิ่งเป็นการขับเคลื่อนข้อมูลให้ไปไกลยิ่งขึ้น

“เริ่มต้นจากข้อมูลที่ผิดสู่การทำผิดโดยเจตนา และได้รับการทำซ้ำจากข้อมูลที่ถูกบิดเบือน โยงต่อไปยังสิ่งที่คุณเชื่อว่ามันถูกต้อง” นี่คือกลไกของข่าวปลอม แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้มีความสำคัญมากกว่าที่เคย โดยเฉพาะข้อมูลด้านสุขภาพ ในส่วนของข่าวคนรุ่นใหม่จำเป็นจะต้องค้นหาและประเมินแหล่งที่มาให้ดี

เราต้องการให้บริษัทด้านเทคโนโลยีช่วยกันทำให้เรื่องนี้ง่ายขึ้น แต่เรายังต้องมั่นใจว่าคนรุ่นใหม่เข้าใจในสื่อยุคปัจจุบัน นี่คือเหตุผลที่เราพยายามผลักดันหลักสูตรใหม่นี้เข้าไปในโรงเรียน โดยจะมีการผสมผสานระหว่าง ความสัมพันธ์ ความเป็นพลเมือง และการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เด็กๆ จะได้เรียนทั้งเรื่องการพาดหัวข่าว Clickbait ข่าวล่อลวง ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร และทำความเข้าใจว่า Confirmation Bias จะส่งผลอย่างไรต่อการแพร่กระจายของข่าวปลอม และร่วมกันวิเคราะห์ว่าทำไมข่าวบางข่าวจึงไม่ควรเชื่อถือ

ในปีหน้ารัฐบาลจะเริ่มให้ความรู้ด้านสุขภาพซึ่งรวมถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ เนื้อหาที่ควรรู้ในระดับสากล ความสัมพันธ์ เพศศึกษาและการใช้งานอินเทอร์เน็ตในขั้นตอนต่างๆ เพื่อประโยชน์ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสภาพจิตใจจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง: Independent

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Samsung ให้ผู้บริหาร ทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ จะได้รู้สึกถึงวิกฤตที่บริษัทกำลังเจอ

Samsung ประกาศมาตรการฉุกเฉิน สั่งผู้บริหารทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ สู้พิษเศรษฐกิจโลก และเพื่อพยุงธุรกิจของบริษัทให้ไปต่อได้ท่ามกลางการแข่งขันสูง...

Responsive image

อาเซียนรับกรรม ในบทบาท ‘ถังขยะโลก’ สังเวยชีวิตคนสิ่งแวดล้อม ด้วยการค้าขยะผิดกฎหมาย

ประเทศอาเซียนรับกรรม กลายเป็นถังขยะโลก จากการ ‘ค้าขยะ’ ผิดกฎหมายที่มาจากยุโรป สะท้อนกฎหมายอ่อนแอ ไร้ระบบจัดการขยะแบบยั่งยืน...

Responsive image

มองศึก Virtual Bank ไทย เทียบชั้นผู้เล่นบนเวทีโลกได้หรือไม่

หลังจาก ธปท. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้ง Virtual Bank ยื่นขอเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจการเงินในไทยกลับมาคึกคักมากขึ้น...