ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาหลักที่ใช้รักษาผู้ป่วยโควิดในประเทศไทย | Techsauce

ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาหลักที่ใช้รักษาผู้ป่วยโควิดในประเทศไทย

ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เป็นยาต้านไวรัส มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส SARS CoV2 ที่ก่อให้เกิด COVID-19 ปัจจุบันประเทศไทยใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาหลักในการรักษาผู้ป่วยโควิด ตามแนวทางการรักษาของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากมีความปลอดภัย และสามารถลดความรุนแรงของโรคได้

Favipiravir

การรักษาผู้ป่วยโควิดด้วยยาฟาริพิราเวียร์ 

แพทย์จะพิจารณาใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เข่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนหรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น 

ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นยาเม็ด ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 9 เม็ดทุก 12 ชั่วโมงในวันแรก และลดเหลือครั้งละ 4 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมงในวันที่เหลือ สำหรับผู้ที่น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม ขนาดยาจะสูงขึ้น สำหรับผู้ป่วยเด็กต้องมีการคำนวณขนาดยาตามน้ำหนักตัว 

ทั้งนี้ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามวันและเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเป็นยาเฉพาะโรค ไม่สามารถซื้อมารับประทานเองได้ ระยะเวลาในการรักษาโดยประมาณอยู่ที่ 5 -10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และอาการของผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ตามอาจมีอาการข้างเคียงที่พบได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตับอักเสบ เป็นต้น

แผนการผลิตยาฟาริพิราเวียร์ในประเทศไทย

ยาตัวนี้คิดค้นขึ้นโดยบริษัท FujiFilm Toyama Chemical Co.,Ltd. ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2014 ญี่ปุ่นใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่รักษาด้วยยาตัวอื่นไม่ได้ผล ปัจจุบันฐานการผลิตหลักของยาฟาวิพิราเวียร์มาจาก 2 แห่ง คือ บริษัท FujiFilm Toyama Chemical Co.,Ltd. ประเทศญี่ปุ่น และบริษัท Zhejiang Hisun Pharmaceutical Company ประเทศจีน ซึ่งได้รับใบอนุญาตผลิตจากญี่ปุ่น ประเทศไทยเองก็มีการนำเข้าจากสองแหล่งนี้เช่นเดียวกัน 

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรง ทำให้มีความต้องการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์กรเภสัชกรรมจึงวิจัย พัฒนา และผลิตยาฟาวิพิราเวียร์เอง เพื่อลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ พร้อมทั้งได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ปัจจุบันมีฐานการผลิตในประเทศไทยทั้งหมด 2 แห่ง คือ โรงงานขององค์การเภสัชกรรม ที่ถนนพระราม 6 และ ที่คลอง 10 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยเดือนสิงหาคมกำลังผลิตอยู่ที่ราว 2.5 ล้านเม็ด คาดว่าจะเปิดสายการผลิตที่ 5 ในเดือนกันยายนนี้ และเพิ่มกำลังผลิตเป็น 23 ล้านเม็ด สำหรับเดือนตุลาคมเป็นต้นไป มีแผนเดินหน้าผลิตถึง 40 ล้านเม็ด/เดือน

อ้างอิง: องค์การเภสัชกรรม, คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จับตา 18 อุตสาหกรรม พลิกโฉมเศรษฐกิจโลก สร้างรายได้กว่า 48 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2040

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจดุเดือดกว่าเดิม มีอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่กำลังมาแรง และเติบโตแบบก้าวกระโดด เราเรียกอุตสาหกรรมเหล่านี้ว่า 'Arenas' ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาส แต่ก็ต้...

Responsive image

Gemini 2.0 คืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง ? สรุปของใหม่กับ AI ที่เก่งที่สุดของ Google

หลังจาก Google เปิดตัว Gemini 1.0 ซึ่งเป็น AI แบบ Multimodal และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีผู้ใช้มากถึง 2 พันล้านคนทั่วโลก ล่าสุดได้มีการอัปเกรดเวอร์ชันใหม่ในชื่อ Gemini 2.0 ซึ่งเป็น...

Responsive image

พลังงานจากหลุมดำ พุ่งชนวัตถุลึกลับในกาแล็กซี เกิดรอยปริศนารูปตัว V

NASA พบร่องรอยแปลกประหลาดจากการพุ่งชนของลำแสงพลังงานสูงที่มาจากหลุมดำขนาดมหึมาในกาแล็กซี Centaurus A (Cen A) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 12 ล้านปีแสง การค้นพบนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการ...