“Fictionlog” แพลตฟอร์มสำหรับการเขียนและอ่านนวนิยายออนไลน์ ที่นักอ่านสามารถเข้ามาซื้อเพื่อสนับสนุนนักเขียนได้โดยตรง พัฒนาโดยทีม Storylog พร้อมให้บริการแล้ว รวมทั้งเปิดตัว 17 Fictionlog Origial Series ในแพลตฟอร์มเป็นที่เรียบร้อย Fictionlog มีรายละเอียดเป็นอย่างไร เรามาศึกษาดูกันดีกว่า
Fictionlog คือพื้นที่เขียนและขายนวนิยายออนไลน์ โดยนักอ่านสามารถเข้ามาซื้อเพื่อสนับสนุนนักเขียนได้โดยตรงอัพเดตเรียลไทม์แบบบทต่อบท ไม่ต้องรอจนจบเล่มนักเขียนจะลงผลงานเก่าทั้งเล่ม หรือลงเรื่องใหม่ตอนต่อตอนชวนให้ติดตามก็ได้จุดยืนของเราคือทำให้นักเขียนได้ส่วนแบ่งที่มากขึ้น โดยนักอ่านเข้าถึงผลงานได้สะดวกขึ้น แต่จ่ายในราคาที่ถูกลง
Fictionlog เป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมงาน Storylog Storylog เป็นบริษัท Startup ที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี 2014 ผ่านเข้าร่วมโครงการ dtac Accelerate ในปีเดียวกันก่อนจะได้รับเงินลงทุนและเข้าร่วมพาร์ทเนอร์กับ Ookbee ในปี 2016
ส่วน Storylog นั้นเป็นเว็บไซต์และแอปพลิเคชันสำหรับถ่ายทอดประสบการณ์และความคิดสำหรับคนรักการเขียน-การอ่านเปิดตัวเต็มในช่วงต้นปี 2015 ปัจจุบันมีผู้ใช้ต่อเดือนประมาณ 300,000 คน มีเรื่องราวมากกว่า 60,000 เรื่องในแพล็ตฟอร์มจากนักเขียนมากกว่า 10,000 คน
ความแตกต่างระหว่าง Storylog และ Fictionlog คือ Storylog จะเป็นพื้นที่แบ่งปันเรื่องราว แนวประสบการณ์และความคิด ขณะที่ Fictionlog จะเป็นพื้นที่เขียน-ขายนวนิยาย ที่นักอ่านสามารถเข้ามาซื้อสนับสนุนนักเขียนได้โดยตรง แบบบทต่อบท
Gamification และการกระตุ้นสร้าง Community ที่แอคทีฟ ยกตัวอย่างการสร้างรายได้ให้แก่นักเขียน
เป็นคำถามที่หลายๆ คนในวงการหนังสือต่างสงสัย ภายในงานแถลงข่าว คุณเปรมวิชช์ CEO จึงได้ย้ำว่า Fictionlog ไม่ถือครองลิขสิทธิ์ หมายความว่างานเขียนถือเป็นของนักเขียน 100% นักเขียนมีสิทธิ์ในการติดต่อสำนักพิมพ์ใดๆ ในการรวมเล่มและตีพิมพ์ โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาต Fictionlog ใดๆ ทั้งสิ้น
สำนักพิมพ์จะได้ประโยชน์จากการมีพื้นที่ที่รวบรวมผลงานเขียนที่มีคุณภาพ ซึ่งมีศักยภาพต่อการจัดพิมพ์ต่อไป โดยคุณเปรมวิชช์ได้เล่าถึงเคสของนวนิยายเรื่อง The Martian โดย Andy Weir ซึ่งผู้เขียนได้เขียนให้อ่านฟรีในอินเทอร์เน็ต แต่ด้วยผลตอบรับที่ดีมาก ทำให้เมื่อตีพิมพ์เป็นหนังสือ ก็ยังขึ้นแท่นเป็นหนังสือขายดี และเข้าตาผู้สร้างภาพยนตร์อีกด้วย
นายเปรมวิชช์ยังกล่าวถึงสถานการณ์วงการหนังสืออีกด้วยว่า ณ เวลานี้ คือยุคของ UGC หรือ User generated content ซึ่งทุกคนเป็นผู้สร้าง content ได้อย่างง่ายดาย เพราะเทคโนโลยีพร้อมและเข้าถึงทุกคนได้ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่จะทำให้หลายๆวงการอาจจะต้องปรับตัว รวมถึงวงการหนังสือ
คุณหมู ณัฐวุฒิ Ookbee ได้เล่าว่า ปีที่แล้วเป็นปีที่ Ookbee เริ่มทำ UGC พบว่าส่งผลให้ยอดการใช้งานเติบโตขึ้นถึง 700% การ์ตูนที่เขียนโดยเด็กๆ วัยรุ่น พบว่าสามารถสร้างยอดเข้าชมได้เป็นหลักหลายแสน ในบางรายเป็นหลักหลายสิบล้าน
อ่านต่อ : UGC ในมุมมองของคุณหมู Ookbee
"UGC ทำให้ไม่ต้องผ่านระบบคนกลาง ทุกคนมีโอกาส ไม่มีใครมาผูกขาดรสนิยมอีกต่อไป ต่อไปนี้เราเขียนอะไรก็ได้ที่เราอยากเขียน แล้วมันจะได้รับการคัดกรองเองโดยสาธารณชน" คุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวออนไลน์ TheMomentum.co ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “คนเขียนจะได้รับฟีดแบ็กจากคนอ่านได้ในทันที และทำให้เกิดการโต้ตอบแบบทูเวย์คอมมูนิเคชั่น ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในอดีต เป็นมิติใหม่ของนวนิยายที่คนอ่านเป็นคนเขียน มีส่วนร่วมในงานได้ด้วย และถ้า Fictionlog ไปได้ดี จะเกิดประโยชน์มากในแง่ที่นักเขียนสามารถเลี้ยงตัวเองโดยที่ไม่ต้องทำอาชีพอื่น เหมือนร้านหนังสือขนาดใหญ่ที่ไม่จำกัดพื้นที่ และเป็นเหมือนโซเชียลมีเดียย่อยๆ” บรรยายภาพ: วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (นักเขียน พิธีกร และนักทำสารคดี) ,เกรียงไกร วชิรธรรมพร (ผู้กำกับฮอร์โมนเดอะซีรีย์) และ วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ (บรรณาธิการบริหารนิตยสาร GM) นักเขียนใน Fictionlog Original Series โปรเจ็กต์นวนิยายใหม่สุด Exclusive จากนักเขียนคุณภาพ ซึ่งไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน
Fictionlog เปิดให้บริการแล้ว พร้อมนวนิยายสุด Exclusive จากนักเขียนคุณภาพ เข้าใช้งานได้แล้วที่ https://fictionlog.co พร้อมรับเหรียญเงินเพื่อเริ่มต้นการอ่านของคุณได้เลย สำหรับเวอร์ชันแอปพลิเคชันใน iOS และ Android กำลังตามมาติดๆ ในเดือนสิงหาคมนี้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด