ฟินแลนด์ทุ่มทุนมหาศาล! ดึงนักวิจัย 54 ชาติร่วมพัฒนา 6G ยกระดับการแพทย์-การศึกษา-ความมั่นคง | Techsauce

ฟินแลนด์ทุ่มทุนมหาศาล! ดึงนักวิจัย 54 ชาติร่วมพัฒนา 6G ยกระดับการแพทย์-การศึกษา-ความมั่นคง

ฟินแลนด์กำลังเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่าย 6G อย่างจริงจัง โดยรัฐบาลได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี 6G และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ คณะทำงานนี้ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

6G

นอกจากการพัฒนาภายในประเทศ ฟินแลนด์ยังมุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในเวทีระดับโลก เช่น การกำหนดมาตรฐานคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 6G และการรับรองความปลอดภัยของเครือข่าย

ที่น่าสนใจคือ NATO ได้อนุมัติให้ฟินแลนด์จัดตั้งศูนย์ทดสอบด้านเทคโนโลยีเครือข่าย 2 แห่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือศูนย์ทดสอบ 6G ที่เมือง Oulu โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเร่งพัฒนานวัตกรรมด้านการป้องกันประเทศของ NATO

ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยี 6G ที่มหาวิทยาลัย Oulu

มหาวิทยาลัย Oulu เป็นผู้นำในโครงการ 6G Flagship ซึ่งถือเป็นกลุ่มวิจัยด้าน 6G แห่งแรกของโลก ศูนย์ทดสอบที่นี่มีความทันสมัยมาก สามารถวัดสัญญาณความถี่วิทยุได้สูงถึง 330 GHz และมีห้องปฏิบัติการเฉพาะทางที่ทันสมัย

ศูนย์นี้ได้รับงบประมาณกว่า 251 ล้านยูโร และมีนักวิจัยประมาณ 500 คนจาก 54 ประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญที่ฟินแลนด์ให้กับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี 6G

ประโยชน์ของเทคโนโลยี 6G

เทคโนโลยี 6G คาดว่าจะนำมาซึ่งการเชื่อมต่อที่เร็วและเสถียรยิ่งขึ้น ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก แม้ในพื้นที่ห่างไกลหรือกลางมหาสมุทร ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในหลายด้าน เช่น:

  1. การดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ได้รวดเร็วขึ้น
  2. การควบคุมยานพาหนะไร้คนขับ
  3. การผ่าตัดทางไกล
  4. การพัฒนาแอปพลิเคชันในโลกเสมือนจริง (VR/AR)
  5. การพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ และบ้านอัจฉริยะ
  6. การพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ที่มีประสิทธิภาพสูง

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

ฟินแลนด์ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยี 6G เพียงลำพัง แต่ยังสร้างความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น:

มหาวิทยาลัย Oulu และหน่วยงาน Bharat 6G Alliance ในอินเดีย มี MoU เพื่อส่งเสริม ครม. ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย 6G โดย ครม. เชิงกลยุทธ์ดังกล่าวถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่าย 6G ของฟินแลนด์และอินเดีย โดยเฉพาะการเร่งการพัฒนาระบบนิเวศ 6G ที่ครอบคลุม ปลอดภัยและรองรับการประสานงานร่วมกันได้ทั่วโลก 

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2024 บริษัท Nokia Vodafone Idea ของอินเดียได้คัดเลือกให้ บริษัท Nokia ของฟินแลนด์ (และ Ericsson, Samsung) เป็นพันธมิตรในการสร้างเครือข่ายระบบ 4G และ 5G สำหรับการจัดหาอุปกรณ์เครือข่าย (network equipment) ภายใต้วงเงิน 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในระยะเวลา 3 ปี

นอกจากนี้หน่วยงาน 6G Flagship ของมหาวิทยาลัย Oulu ได้กระชับ ครม. ด้านการวิจัยกับสถาบันวิจัยชั้นนำของเกาหลีใต้ โดยทั้ง 2 ฝ่ายได้ลงนามใน MoU 3 ฉบับกับ มหาวิทยาลัย Yonsei สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงของเกาหลี (KAIST) และสถาบัน ETRI (การวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม) โดยมุ่งพัฒนาและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการพัฒนาเทคโนโลยี 6G 

โอกาสสำหรับประเทศไทย

  1. การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น e-commerce/ FinnTech และ Startup สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมถึงการพัฒนาในระบบอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบอัตโนมัติเชื่อมต่อกันด้วย IoT และ M2M (การสื่อสารระหว่าง เครื่องจักร) ทำให้เกิดการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพสินค้า
  2. การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) เช่น ระบบควบคุมการจราจรอัตโนมัติ การจัดการพลังงาน และการจัดการขยะอัจฉริยะ
  3. การพัฒนาด้านสาธารณสุข เช่น การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ การพัฒนาระบบตรวจวัดสัญญาณชีพของผู้ป่วย การจัดทำแอปพลิเคชันการดูแลสุขภาพแบบเรียลไทม์ที่ใช้การวิเคราะห์จาก AI ในโรงพยาบาลหรือที่บ้านจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  4. การศึกษาและการเรียนรู้ทางไกล เช่น การศึกษาเสมือนจริง (Virtual Education) ซึ่งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ทางไกลที่มีคุณภาพสูง ทั้งในรูปแบบ VR/AR ในพื้นที่ห่างไกลครอบคลุมทรัพยากรและเยาวชนทั่วประเทศ
  5. การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เช่น การให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวแบบเรียลไทม์ การใช้ VR เพื่อสร้างประสบการณ์เสมือนจริงก่อนการเดินทาง และการจัดการระบบโลจิสติกส์การเดินทางขนส่ง
  6. การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) เช่น การทำฟาร์มอัจฉริยะ การควบคุมระบบน้ำ การตรวจสภาพอากาศ และการตรวจสอบสุขภาพพืช/สัตว์
  7. การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความมั่นคงปลอดภัย เช่น การเพิ่มความสามารถในการเฝ้าระวังและรักษาความปลอดภัยโดยการใช้กล้อง CCTV อัจฉริยะหรือโดรนสำหรับตรวจตรา

นอกจากนี้ ไทยสามารถพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีในประเทศ เช่น AI การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยี 6G อาจช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบ

อ้างอิง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง Helsinki

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...