Foodpanda อินโดนีเซียยอมแพ้ ปิดตัวลงเพราะสู้คู่แข่งไม่ไหว | Techsauce

Foodpanda อินโดนีเซียยอมแพ้ ปิดตัวลงเพราะสู้คู่แข่งไม่ไหว

เป็นข่าวปิดตัวของสตาร์ทอัพอีกหนึ่งราย เมื่อ Foodpanda ผู้ให้บริการส่งอาหารเดลิเวอรี่แบบออนไลน์โดยบริษัท Rocket Internet ได้ปิดตัวลงในประเทศอินโดนีเชีย โดยทางผู้บริหารได้ออกมายืนยันหลังจากพ่ายแพ้ให้กับคู่แข่งในการทำบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่บนแอปพลิเคชั่นโดยรถจักรยานยนต์เมื่อไม่นานมานี้

foodpanda-indonesia

Victor Delannoy กรรมการผู้จัดการของ Foodpanda อินโดนีเซียได้กล่าวในคำแถลงการณ์บนเว็บไซต์เมื่อวันที่ 30 กันยายน ว่า "ทางบริษัทขอประกาศอย่างเป็นทางการเรื่องการตัดสินใจยุติทุกบริการของ Foodpanda ในอินโดนีเซียอย่างถาวร"

แถลงการณ์ยังพูดถึงอดีตของ Foodpanda ที่เริ่มเปิดตัวในอินโดนีเซียเมื่อปี 2012 ที่กรุงจากาตาร์ และหลังจากนั้นก็ได้เป็นพาร์ทเนอร์กับร้านอาหารต่างๆ มากมายกว่าหลายพันร้าน เพื่อให้บริการอำนวยความสะดวกสบายด้านการสั่งอาหารกับลูกค้าจำนวนมหาศาล

"เราจะรับออเดอร์ถึงวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2016 เวลา 22:00 น. เป็นวันสุดท้าย" Delannoy กล่าว

โดยบริษัท Foodpanda ซึ่งมีฐานอยู่ในประเทศเยอรมนีก็ยอมรับความพ่ายแพ้ต่อคู่แข่งรุ่นใหม่ๆ ที่เข้ามาจับธุรกิจบริการส่งอาหารผ่านทางแอปรูปแบบเดียวกัน

ที่มา: The Jakarta Post

รูปภาพ: Foodpanda Indonesia

ความเห็นกองบรรณาธิการ

ข่าวการปิดดัวของ Foodpanda อินโดนีเซียทำให้ต้องกลับมามอง Foodpanda ในบ้านเราด้วย เพราะน่าจะต้องเจอศึกหนักเรื่องคู่แข่งเช่นเดียวกัน เพราะนอกจากจะมีคู่แข่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากในช่วงหลังแล้ว แต่ละเจ้ายังมีจุดเด่นแตกต่างกันไป อย่างเช่น LINE MAN ของเจ้าใหญ่อย่าง LINE ที่ให้บริการฝากซื้ออาหาร และยังมี UX ดี มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่อีกด้วย  จึงเป็นโจทย์สำหรับสตาร์ทอัพต่อๆ ไป ว่าจะหาจุดแข็งของตัวเองเพื่อเอาชนะคู่แข่งได้อย่างไร

RELATED ARTICLE

Responsive image

ปั้นแบรนด์ให้เป็นโปร! AIS SME จับมือพันธมิตร ส่งบริการ-สิทธิพิเศษ ติดปีกผู้ประกอบการไทย

หนึ่งใน Sector ของภาคธุรกิจที่มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของประเทศ คือ SME ดังนั้น AIS จึงได้เดินหน้านำศักยภาพความแข็งแกร่งมาติดปีกให้กับผู้ประกอบการ ผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้าน Digital T...

Responsive image

รัฐบาลอังกฤษเร่งคุยบริษัทสตรีมมิ่งหลังศิลปินได้ค่าตอบแทนจากต้นสังกัดไม่เป็นธรรม

ปัจจุบันบริการสตรีมมิ่งเพลงไม่ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์เพลงให้ศิลปินโดยตรง แต่จะจ่ายให้กับค่ายเพลงตามสังกัดของศิลปิน ส่งผลให้ศิลปินส่วนใหญ่ได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม ด้านรัฐบาลอังกฤษเ...

Responsive image

24X ระดมทุนซีรีส์ A กว่า 150 ล้านบาท ผนึก ‘Krungsri Finnovate – ECG Venture Capital - BCH Ventures' ต่อยอดธุรกิจสู่การบริการ Digital Maintenance & Living Solutions ครบวงจร

24X ฉลองความสำเร็จ ระดมทุนซีรีส์ A กว่า 150 ล้านบาท ผนึก ‘Krungsri Finnovate – ECG Venture Capital - BCH Ventures' ต่อยอดธุรกิจสู่การบริการ Digital Maintenance & Living Solutions ...