Gartner เปิดผลสำรวจซีอีโอพบ “ความยั่งยืน-ปัญหาแรงงาน-อัตราเงินเฟ้อ” คือ 3 การเปลี่ยนแปลงสำคัญในปีนี้ โดย AI ยังเป็นเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลสูงสุดในมุมมองของซีอีโอ ขณะที่ Metaverse กลับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจน้อยสุด
Gartner เปิดผลสำรวจล่าสุดของซีอีโอและผู้บริหารระดับสูง ชี้ให้เห็นมุมมองการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่าง ๆ ของซีอีโอ ตั้งแต่ด้านแรงงาน เป้าประสงค์ ราคา และประสิทธิภาพการทำธุรกิจในปี 2565 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความยั่งยืน ปัญหาแรงงาน และอัตราเงินเฟ้อ
มาร์ค ราสกิโน รองประธานฝ่ายวิจัยของ Gartner กล่าวว่า “ในปี 2565 เป็นปีที่แนวคิดการทำธุรกิจของซีอีโอเปลี่ยนไปอย่างแท้จริง การแพร่ระบาดค่อย ๆ ก่อให้เกิดกระแสทางสังคมเชิงลึกหลากหลายขึ้นจนเป็นที่ประจักษ์ เช่น ความต้องการเปลี่ยนวิธีการทำงานของเรา และความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทานระยะไกลทั่วโลก รวมถึงการรุกรานยูเครนของรัสเซียที่กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับมหภาคที่ซีอีโอต้องรับมือในเวลานี้ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ”
ในเวลาเดียวกัน ซีอีโอยังคงมุ่งมั่นสร้างธุรกิจดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลกระทบของการระบาดใหญ่และวิกฤตที่เกี่ยวข้องที่ถาโถมเข้ามา
“Gartner 2022 CEO and Senior Business Executive Survey” เป็นรายงานประจำปี จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจมุมมองของบรรดาซีอีโอและผู้บริหารธุรกิจอาวุโสกว่า 400 ราย ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีรายได้และขนาดองค์กรแตกต่างกัน จากทั้งภูมิภาคอเมริกาเหนือ (North America), ยุโรป, ตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) และเอเชียแปซิฟิก (APAC)
โดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีผลกระทบมากที่สุดจากมุมมองของซีอีโอเป็นปีที่สามติดต่อกัน ในทางกลับกัน 63% ของซีอีโอมองว่า Metaverse ยังเป็นเทคโนโลยีที่ไม่สามารถใช้ได้และยังไม่น่าเป็นเทคโนโลยีหลักสำหรับธุรกิจ (ตามรูปที่ 1)
“เมื่อก่อนซีอีโอบางคนเปิดรับแนวคิดทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วเกินไป อย่างในกรณีของ Metaverse อย่างไรก็ตาม มันยังดูน่ากังขาตามที่ผู้ตอบแบบสำรวจคิดว่า Metaverse มีโอกาสจะเป็นเทคโนโลยีหลักสำหรับธุรกิจของตนและมั่นใจตามนั้น” ราสกิโน กล่าวเพิ่มเติม
“รายการเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจต่างย้ำเตือนเราถึง 'ความสดใหม่' ที่ผู้บริหารต่างเฝ้าจับตาดูอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้านดิจิทัลหรืออีคอมเมิร์ซ ที่อยู่ในอันดับสองและอันดับสี่ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่มากบนพื้นฐานความสัมพันธ์ ทว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีที่ผู้บริหารธุรกิจจำนวนมากยังคงมองว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่และสร้างความกังวลใจในหลากหลายสถานการณ์”
ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการสำรวจครั้งนี้ ที่ซีอีโอให้ความสำคัญกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ติด 10 อันดับแรกของความสำคัญเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยอยู่ในอันดับที่ 8 กระโดดมาจากอันดับ 14 ในปี 2562 และอันดับที่ 20 ในปี 2558
“จากการที่ผู้บริหารธุรกิจได้รับแรงกดดันจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ให้ดำเนินการเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่เวลานี้พวกเขากำลังจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นนี้และสร้างเป็นโอกาสเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างรายได้ให้เติบโต” ราสกิโน กล่าวเพิ่มเติม
74% ของซีอีโอเห็นด้วยว่าการทำธุรกิจด้วยยึดมั่นในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (หรือ ESG) ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยดึงดูดนักลงทุนมายังบริษัทของตน โดย 80% ของซีอีโอที่ตั้งใจจะลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในปีนี้และปีหน้า ต่างมองว่าความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมคือปัจจัยขับเคลื่อนที่ใหญ่เป็นอันดับสามรองจากประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพทั่วไป
ความยั่งยืนยังแสดงถึงการสร้างความแตกต่างในด้านการแข่งขันสำหรับซีอีโอในปี 2565 และปี 2566 แท้จริงแล้ว ความยั่งยืน นั้นอยู่ในระดับเดียวกับ ความไว้วางใจในตราสินค้า (Brand Trust) ของผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถาม
62% ของซีอีโอมองว่าเงินเฟ้อนั้นเป็นปัญหาถาวรหรือปัญหาระยะยาว โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (51%) เห็นตรงกันว่าอัตราเงินเฟ้อคือตัวการของการขึ้นราคาเป็นอันดับต้น ๆ มากกว่าเรื่องกำลังการผลิตและประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ (22%) ซึ่งที่จริงแล้ว ทั้งปัญหาด้านกำลังการผลิตและประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจไม่ได้ถูกจัดอยู่ใน 10 อันดับแรกของลำดับความสำคัญทางธุรกิจของซีอีโอในปีนี้
“เราเห็นได้ชัดว่า ผลกระทบของเงินเฟ้อยังพอสร้างความน่าพอใจอยู่บ้าง เมื่อถามซีอีโอถึงที่มาสองอันดับแรกที่สร้างความแตกต่างการแข่งขัน พบว่าซีอีโอเพียง 3% ที่อ้างถึงเรื่องราคา ซึ่งการ์ทเนอร์คาดว่าถ้าอัตราเงินเฟ้อยังอยู่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” ราสกิโน กล่าวสรุป
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด