10 เทรนด์เทคโนโลยี ที่จะมาแรงในปี 2566 | Techsauce

10 เทรนด์เทคโนโลยี ที่จะมาแรงในปี 2566

 Gartner ประกาศ 10 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงที่องค์กรธุรกิจต้องจับตาและศึกษา เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในปี 2566

10 เทรนด์เทคโนโลยีคุณฟราสซิส คารามูซิส รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า เพื่อยกระดับสถานะทางการเงินในช่วงเศรษฐกิจผันผวนขององค์กร ผู้บริหารและผู้นำด้านไอทีทั้งหลายต้องมองการณ์ไกลกว่าแค่การประหยัดต้นทุนไปสู่รูปแบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพใหม่ ๆ ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์มเมชันอย่างต่อเนื่อง 

โดยแนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่มาแรงในปี2566 จะพัฒนาขึ้นมาจากสามธีมหลัก ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimize) การปรับขยาย (Scale) และการเป็นผู้ริเริ่ม (Pioneer) ที่เทคโนโลยีสามารถช่วยองค์กรธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพความยืดหยุ่นในการดำเนินงานหรือสร้างความเชื่อมั่น พร้อมปรับขยายโซลูชันและส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะ และริเริ่มรูปแบบการมีส่วนร่วม การตอบสนองใหม่ ๆ ที่รวดเร็ว หรือสร้างโอกาสให้ธุรกิจได้

คุณเดวิด กรูมบริดจ์ นักวิจัยอาวุโสของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “อย่างไรก็ตามในปีหน้านี้ การส่งมอบเทคโนโลยีจะไม่เพียงพออีกต่อไป เนื่องด้วยธีมเหล่านี้ต่างได้รับผลกระทบจากความคาดหวังและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (หรือ ESG) ซึ่งหมายถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการใช้เทคโนโลยีอย่างยั่งยืน ในทุกการลงทุนทางเทคโนโลยีจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และต้องคำนึงถึงคนรุ่นต่อ ๆ ไปในอนาคต “Sustainable by Default หรือความยั่งยืนเป็นพื้นฐาน” เป็นเป้าหมายในการนำเทคโนโลยียั่งยืนมาใช้”

10 แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่มาแรงในปี 2566 มีดังนี้

  •  ความยั่งยืน (Sustainability)

ความยั่งยืนครอบคลุมเทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ทั้งหมดในปี 2566 จากการสำรวจของการ์ทเนอร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารไอทีมองว่าการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในขณะนี้มีความสำคัญสูงสุดติดสามอันดับแรกสำหรับนักลงทุน รองจากเรื่องของผลกำไรและรายได้ นั่นหมายความว่าผู้บริหารต้องลงทุนมากขึ้นกับนวัตกรรมโซลูชันที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับตอบโจทย์ความต้องการด้าน ESG และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ซึ่งองค์กรธุรกิจจำเป็นต้องมีกรอบการทำงานด้านเทคโนโลยีที่ยั่งยืนใหม่ ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและวัสดุอุปกรณ์ของบริการไอที ที่จะช่วยทำให้องค์กรมีความยั่งยืนผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ ความสามารถในการตรวจสอบแบบย้อนกลับ การวิเคราะห์ พลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีเอไอ และปรับใช้โซลูชันไอทีเพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนตามที่วางแผนไว้

ธีมที่ 1 การริเริ่ม (Pioneer)

  • เมตาเวิร์ส (Metaverse)

การ์ทเนอร์กำหนดให้ Metaverse เป็นพื้นที่จำลอง 3 มิติเสมือนจริง ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมาใช้งานร่วมกัน สร้างขึ้นจากการผสานรวมโลกความเป็นจริงทางกายภาพและดิจิทัลไว้ด้วยกัน ซึ่งMetaverse จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมอบประสบการณ์ที่สมจริงยิ่งขึ้น การ์ทเนอร์คาดว่า Metaverse ที่สมบูรณ์ไม่ได้ขึ้นกับอุปกรณ์และจะไม่มีใครเป็นผู้จำหน่ายหรือเจ้าของแต่ผู้เดียว แต่จะมีระบบเศรษฐกิจเสมือนของตัวเอง โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลและโทเค็นที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (NFTs) ภายในปี 2570 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่ามากกว่า 40% ขององค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลกจะใช้เทคโนโลยีผสมผสานกัน เช่น Web3, AR Cloud และ Digital Twins ในโครงการใด ๆ บน Metaverse โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้ 

  • ซูเปอร์แอป (Superapps)

ซูเปอร์แอปรวมคุณสมบัติของแอป แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศไว้ในแอปพลิเคชันเดียว นอกจากมีฟังก์ชันต่าง ๆ ครบครันในแอปแล้ว ยังเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้กับบุคคลอื่นได้สร้างสรรค์พัฒนาและเปิดตัวมินิแอป ภายในปี 2570 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในแต่ละวันประชากรโลกมากกว่า 50% จะใช้ซูเปอร์แอปหลายตัว 

“แม้ตัวอย่างส่วนใหญ่ของ Superapps จะเป็นแอปในมือถือ แต่แนวคิดนี้ยังสามารถนำไปใช้กับแอปพลิเคชันของลูกค้าบนเดสก์ท็อป อาทิ Microsoft Teams และ Slack ด้วยปัจจัยสำคัญก็คือSuperapp สามารถรวมและแทนที่แอปหลากหลายเพื่อให้ลูกค้าหรือพนักงานได้ใช้งาน” คารามูซิส กล่าว 

  • AI ที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive AI)

ระบบ AI ที่ปรับเปลี่ยนได้ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโมเดลขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องและเรียนรู้ภายในช่วงเวลาการทำหรือใช้งานและอยู่ในสภาพแวดล้อมของการพัฒนา โดยอาศัยฐานข้อมูลใหม่เพื่อปรับระบบให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามสถานการณ์จริงที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้หรือที่ไม่ได้เตรียมไว้ในระหว่างการพัฒนาครั้งแรก ซึ่งตอบโจทย์การให้ฟีดแบคแบบเรียลไทม์ สามารถปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ได้แบบไดนามิกและตรงตามเป้าหมาย ทำให้เหมาะสมสำหรับการดำเนินงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมภายนอกหรือการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายขององค์กรที่ต้องการการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ธีมที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimize)

  • ระบบภูมิคุ้มกันดิจิทัล (Digital Immune System)

76% ของทีมที่รับผิดชอบผลิตภัณฑ์ดิจิทัลในเวลานี้มีหน้าที่สร้างรายได้ให้ธุรกิจด้วยเช่นกัน ผู้บริหารไอทีกำลังมองหาแนวทางปฏิบัติและวิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถให้ทีมงานนำมาปรับใช้เพื่อส่งมอบคุณค่าทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นได้ พร้อมลดความเสี่ยงและเพิ่มความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยมีระบบภูมิคุ้มกันดิจิทัลอยู่ในแผนงานดังกล่าว

ภูมิคุ้มกันดิจิทัลรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน การทดสอบอัตโนมัติและการทดสอบในสภาวะสุดขั้ว การแก้ปัญหาอัตโนมัติ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ภายในการดำเนินงานด้านไอที และการรักษาความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทานของแอปพลิเคชัน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความเสถียรให้แก่ระบบ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 องค์กรที่ลงทุนในการสร้างภูมิคุ้มกันดิจิทัลจะลดการหยุดทำงานของระบบได้มากถึง 80% และนั่นคือการแปลงเป็นรายได้กลับมาสู่องค์กรได้สูงขึ้น 

  • การสังเกตประยุกต์ (Applied Observability)

ข้อมูลการสังเกต (Observable Data) ได้สะท้อนถึงสิ่งประดิษฐ์ดิจิทัล เช่น บันทึก การติดตาม การเรียก API เวลาที่ใช้ไป การดาวน์โหลดและการถ่ายโอนไฟล์ ที่จะปรากฏขึ้นเมื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดำเนินการใด ๆ ความสามารถในการสังเกตประยุกต์ใช้ดึงข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ที่สังเกตได้เหล่านี้กลับมาในแนวทางที่มีการประสานและบูรณาการอย่างสูงเพื่อเร่งการตัดสินใจขององค์กรธุรกิจ

คุณคารามูซิส กล่าวว่า "การสังเกตประยุกต์ช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ของตนเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งมีประสิทธิภาพมาก เพราะช่วยยกระดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม สำหรับดำเนินการอย่างรวดเร็วตามการกระทำของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับการยืนยันมากกว่าความตั้งใจ เมื่อวางแผนอย่างมีกลยุทธ์และดำเนินการได้สำเร็จ ความสามารถในการสังเกตที่นำไปใช้จะเป็นแหล่งข้อมูลที่ทรงพลังที่สุดในการตัดสินใจสำหรับขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูล”

  •  AI Trust การจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัย (AI Trust, Risk and Security Management)

หลาย ๆ องค์กรยังเตรียมการได้ไม่ดีพอในการจัดการความเสี่ยงด้าน AI จากการสำรวจของการ์ทเนอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี พบว่า 41% ขององค์กรต่างประสบปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือมีเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่เกิดจาก AI อย่างไรก็ตาม 

จากการสำรวจเดียวกันนี้ยังพบว่าองค์กรที่จัดการความเสี่ยง ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยAI อย่างจริงจังนั้น ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกับโครงการ AI โดยส่วนใหญ่เปลี่ยนสถานะจากไอเดียที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว (Proof of Concept) ไปสู่การผลิตและสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้มากกว่าโครงการAI ในองค์กรที่ไม่ได้จัดการฟังก์ชันเหล่านี้อย่างจริง ๆ จัง ๆ 

องค์กรต้องนำความสามารถใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าแบบจำลองมีความเสถียร เชื่อถือได้ มีความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูล โดย AI Trust การจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัย (หรือTRiSM) กำหนดให้ผู้เข้าร่วมจากแผนกต่าง ๆ ในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อนำมาตรการใหม่นี้มาปรับใช้

 ธีมที่ 3 การปรับขยาย (Scale)

  • แพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับภาคอุตสาหกรรม (Industry Cloud Platforms)

แพลตฟอร์มคลาวด์ของภาคอุตสาหกรรมนำเสนอบริการ SaaS แพลตฟอร์มเป็นบริการ (หรือ PaaS) และโครงสร้างพื้นฐานเป็นบริการ (IaaS) อย่างผสมผสาน ด้วยชุดการทำงานแบบแยกส่วนเฉพาะอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการใช้งานของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ความสามารถที่บรรจุไว้ของแพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนประกอบในการสร้างสรรค์ไอเดียทางธุรกิจดิจิทัลที่ไม่เหมือนใครและแตกต่างได้ พร้อมยังมีความคล่องตัว มีนวัตกรรมล้ำสมัย และลดระยะเวลาการนำออกสู่ตลาด โดยไม่ต้องล็อคอินเพื่อเปิดใช้งาน

ภายในปี 2570 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าองค์กรมากกว่า 50% จะใช้แพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับภาคอุตสาหกรรมเพื่อเร่งการดำเนินโครงการใหม่ ๆ ของธุรกิจ

  • แพลตฟอร์มวิศวกรรม (Platform Engineering)

แพลตฟอร์มวิศวกรรมเป็นแนวทางการสร้างและปฏิบัติงานบนแพลตฟอร์มภายในของนักพัฒนาแบบทำได้ด้วยตนเอง เพื่อการส่งมอบซอฟต์แวร์และจัดการกระบวนการพัฒนาได้อย่างครบวงจร โดยเป้าหมายของแพลตฟอร์มวิศวกรรม คือ การเพิ่มประสิทธิภาพด้านประสบการณ์ของนักพัฒนาและเร่งการส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้าของทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์

 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 80% ขององค์กรด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะจัดตั้งทีมดูแลแพลตฟอร์มภายในปี 2569 และ 75% จะรวมพอร์ทัลการใช้งานด้วยตนเองสำหรับนักพัฒนา

  • การรับรู้ถึงคุณค่าของระบบไร้สาย (Wireless Value Realization)

แม้ว่าจะไม่มีเทคโนโลยีใดเข้ามาครอบครองตลาด แต่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ จะใช้โซลูชันไร้สายที่หลากหลายเพื่อรองรับกับทุกสภาพแวดล้อม ตั้งแต่ Wi-Fi ในสำนักงาน ผ่านบริการในอุปกรณ์พกพา ไปจนถึงบริการที่ใช้พลังงานต่ำ และแม้กระทั่งการเชื่อมต่อวิทยุ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 60% ขององค์กรจะใช้เทคโนโลยีไร้สาย 5 อย่างขึ้นไปพร้อม ๆ กัน

เมื่อเครือข่ายพัฒนาก้าวหน้าไปไกลมากกว่าแค่การเชื่อมต่อ เครือข่ายจะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกโดยใช้การวิเคราะห์ในตัวและระบบที่ใช้พลังงานต่ำจะสะสมพลังงานไว้ได้โดยตรงจากเครือข่าย นั่นหมายความว่าเครือข่ายจะกลายเป็นแหล่งที่มาของมูลค่าทางธุรกิจโดยตรง

 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์มาแรงที่เปิดเผยล่าสุดในปีนี้นั้นตอกย้ำให้เห็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่ผลักดันให้เกิดการหยุดชะงักและสร้างโอกาสสำคัญให้ธุรกิจไปอีก 5-10 ปีข้างหน้า ลูกค้าของการ์ทเนอร์ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน รายงานพิเศษของการ์ทเนอร์  “Top Strategic Technology Trends for 2023.”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จัก Gen Beta ผู้ไม่รู้จัก ‘โลกในยุคไร้ AI’ เจนเนอเรชั่นกำเนิดใหม่ของปี 2025

เจเนอเรชัน Beta (Gen Beta) กำลังจะเป็นกลุ่มใหม่ที่เกิดในปี 2025-2039 พวกเขาเติบโตในโลกที่ AI และเทคโนโลยีเชื่อมโยงชีวิตอย่างสมบูรณ์ พร้อมรับมือกับความท้าทายระดับโลกและเน้นความยั่งย...

Responsive image

EU เริ่มกฎบังคับใช้พอร์ตชาร์จ USB-C ตั้งเป้าลดขยะอิเล็กทรอนิกส์

หลังจากที่สหภาพยุโรป หรือ EU ได้ออกมาเคลื่อนไหวด้านการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการเคลื่อนไหวด้านกฎบังคับให้ใช้พอร์ตชาร์จเดียวกันสำหรับทุกอุปกรณ์มาตั้งแต่ปี 2022 ล่าสุดกฎหมายดังกล่าว...

Responsive image

อนาคตที่ปรึกษาทางการเงิน จะเป็นอย่างไร ? เมื่อ AI คือผู้ช่วยคนสำคัญ

ที่ปรึกษาการเงินหลายท่านกำลังเผชิญกับภาวะ "งานเอกสารท่วมตัว" จนแทบไม่มีเวลาดูแลลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับงานที่ไม่สร้างรายได้ ทำให้การสร้างความสัมพันธ...