Go-Jek เข้าซื้อ 'Coins.ph' FinTech startup ด้วยเงิน 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หวังขยายตัวในฟิลิปปินส์

Go-Jek เข้าซื้อ 'Coins.ph' FinTech startup ด้วยเงิน 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หวังขยายตัวในฟิลิปปินส์

Go-Jek

Go-Jek บริการ Ride-hailing ได้ประสบปัญหาเรื่องโครงสร้างตัวองค์กรในช่วงต้นเดือนนี้กับการขยายตัวสู่ประเทศฟิลิปปินส์ แต่อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรที่จะสามารถขัดขวางบริษัทอินโดนีเซียแห่งนี้จากการลงทุนในตลาดได้ ในวันนี้ Go-Jek ได้ประกาศถึงการลงทุนครั้งสำคัญในบริษัท Coins.ph ซึ่งจัดว่าเป็นการถือหุ้นส่วนใหญ่ในธุรกิจ การตกลงยังไม่แน่ชัดแต่มีการประเมินว่า Go-Jek ได้จ่ายเงินจำนวน 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ Go-Jek เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน 

โดยทางบริษัทบอกว่าปัจจุบันมีผู้ใช้งานชาวฟิลิปปินส์จำนวน 5 ล้านคนที่สมัครเข้าใช้งาน ซึ่งรวมไปถึงการใช้งาน mobile wallet สำหรับการจับจ่าย เติมเงินโทรศัพท์ ชำระบิล ค่าบริการขนส่งสาธารณะ และอื่นๆ หลังจากการทำข้อตกลง ทางบริษัทจะนำทรัพยากรและประสบการณ์ของ Go-Jek มาใช้ในการทำงาน

Ron Hose CEO และผู้ก่อตั้ง Coins.ph เผยว่าในขณะนี้บริษัทกำลังจะขยายตัวและเปิดการระดมทุนรอบใหม่ ในช่วงเดียวกันนั้นเองเป็นโอกาสที่ Go-Jek ได้เข้ามาพอดี  

“เรากำลังพิจารณาและนึกถึงการเติบโตของบริษัทซึ่งเราก็ค้นพบว่า Go-Jek และบริษัทของเราจะสามารถสร้างบางสิ่งที่ดีขึ้นได้เพื่อลูกค้าของเรา” Hose กล่าว

Coins.ph เริ่มต้นด้วยบริการแลกเปลี่ยน crypto แต่ก็ได้ขยายไปสู่ FinTech รวมถึงการชำระเงินทางโทรศัพท์และบริการทางการเงินรูปแบบอื่นๆ บริษัทได้เติบโตอยู่ที่ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการระดมทุนสองรอบของบริษัทโดยมี Naspers, Global Brain, Wavewaker, Beenext และ Pantera Capital การเข้าซื้อกิจการเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ชัดเจนของ Go-Jek ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมาบริษัทขยายตัวใหญ่ขึ้น และเติบโตไปยังต่างประเทศอย่าง เวียดนาม ไทย และสิงคโปร์ ในส่วนของฟิลิปปินส์ยังอยู่ในอีกเป้าหมายถึงแม้จะใช้เวลานานกว่ากำหนดการและยังไม่เปิดตัวออกมาในขณะนี้ FinTech อาจจะฟังดูไม่คุ้นหูสำหรับการเข้าไปสู่บริษัทประเภท ride-hailing แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียกใต้ ride-hailing และ FinTech คือสิ่งที่ทำงานควบคู่กันและเป็นหนึ่งในความสำเร็จของ Go-Jek

อินโดนีเซียคือที่แห่งการเติบโตของบริการ GoPay ซึ่งเป็นบริการช่วยในการแลกเปลี่ยนเงิน จ่ายค่าบริการรวมไปถึงประกันภัยและสินเชื่อ  บริษัท กล่าวว่าครึ่งหนึ่งของการทำธุรกรรมบนเครือข่ายในอินโดนีเซียนั้นคือบริการการชำระเงิน ระบบนี้ได้ถูกลอกเลียนไปใช้โดย Grab คู่แข่งสำคัญของ Go-Jek ซึ่งเปิดตัวบริการ Grab Pay ในหกประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมวางแผนที่จะเข้าสู่การบริการสินเชื่อและประกันภัย นอกจากนี้ยังจับมือเป็นพันธมิตรกับ ZhongAn บริษัท ประกันภัยดิจิทัลของจีน

Go-Jek ได้กล่าวในวันนี้ว่าทาง Coins.ph จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Gopay เพื่อที่จะส่งเสริมสังคมที่ไร้เงินสดและยกระดับการเข้าถึงบริการการเงินในฟิลิปปินส์ ส่วนทาง Coins.th มีแนวโน้มที่จะดำเนินงานต่อไปตามที่เป็นอยู่ขณะนี้ โดย Hose กล่าวไว้ว่าทางหน่วยงานของไทยนั้นมีที่ตั้งน้อยกว่าธุรกิจของฟิลิปปินส์ ดังนั้งจึงมีความเป็นไปได้น้อยที่จะดึงดูด Go-Jek ถึงแม้ว่าทาง Go-Jek กำลังจะขยายธุรกิจไปแล้วในประเทศไทย การร่วมมือของ Gopay นั้นน่าจะนำไปสู่การเปิดตัวของบริการอย่าง การประกัน เงินกู้ และบริการทางการเงินอื่นๆ และรวมไปถึงการเพื่มฐานผู้ใช้ Coin.ph ในประเทศฟิลิปปินส์ซึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากกว่า 105 ล้านคน

“ด้วยการเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงเป็นอันดับสอง พร้อมด้วยระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ฟิลิปินส์คือประเทศที่น่าจับตามองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการร่วมมือกับ Coin.ph ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติที่เราจะมีสวนร่วมในการเปลี่ยงแปลงการชำระเงินแบบดิจิทัลของประเทศนี้” Nadiem Makrim, ซีอีโอของ Go-Jek ได้กล่าวในแถลงการณ์

“การประกาศตัวในวันนี้ถือเป็นการตกลงที่ยาวนานในการที่จะสานต่อเป้าหมายของเราในการใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาชีวิตของผู้คนและสร้างสิ่งดีๆ ในฟิลิปินส์” Nadiem กล่าว

ถึงจะมีคู่แข่งอีกมากมายอย่าง Grab ที่กำลังเตรียมเปิดตัว GrabPay หรือ Alibaba ที่ได้ลงทุนกับบริษัท FinTech อย่าง Mynt ในขณะที่ยักษ์ใหญ่ทางอินเตอร์เน็ตและผู้ลงทุน Go-Jek อย่าง Tencent ได้ให้การสนับสนุน Voyager คู่แข่งของ Go-jek ผ่านข้อตกลง 215 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตอนนี้ Go-Jek พร้อมที่จะต่อสู้โดยเตรียมเปิดการลงทุนที่ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นปีที่น่าจับตามองสำหรับวงการ Fintech ในฟิลลิปปินส์เลยก็ว่าได้

ก่อนหน้านี้ Go-Jek ได้มีการเข้ารวบซื้อบริษัทบริการชำระเงินต่างๆ เช่น บริษัทชำระเงิน offline อย่าง Kartuku บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายชำระเงิน อย่าง Midtrans และ Mapan อีกกระทั่งได้ไปตามหาข้อตกลงซื้อกิจการและซื้อตัวทีมงาน startup ในประเทศอินเดียอย่าง C42, Codelgnition และ Piant ซึ่งเป็น startups ที่ช่วยสร้างศูนย์กลางเทคโนโล ยีที่บังกาลอร์

อ้างอิง TechCrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Jitasa.care เครื่องมือประสานความช่วยเหลือ เหตุน้ำท่วม ด้วยน้ำใจคนไทย

ปัจจุบัน Jitasa.care ได้ถูกนำกลับมาใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย และพื้นที่ภาคเหนือ...

Responsive image

เปิดศึก Chip War เกาหลีใต้ จีน สหรัฐฯ ล่าสุดคนใน Samsung ขโมยพิมพ์เขียวชิปให้จีน

ตำรวจเกาหลีใต้ได้จับกุมอดีตเจ้าหน้าที่บริษัท Samsung Electronics จำนวน 2 รายในข้อกล่าวหาขโมยเทคโนโลยีมูลค่ากว่า 4.3 ล้านล้านวอน (1.07 แสนล้านบาท) เพื่อสร้างโรงงานผลิตชิปที่เลียนแบบ...

Responsive image

ศึกชิงความเชื่อมั่น ดาวเทคอาเซียนต้องพิสูจน์ เมื่อนักลงทุนต้องการเห็นกำไร

ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังสั่นคลอน หลายบริษัทเทคในภูมิภาคอย่าง Grab, GoTo และ Sea กำลังดิ้นรนอย่างหนักเพื่อรักษาความเชื่อมั่นของนักลงทุนท่...