สรุป Ruth Porat ผู้บริหาร Google เยือนไทย จะลงทุนอะไรในไทยบ้าง ? | Techsauce

สรุป Ruth Porat ผู้บริหาร Google เยือนไทย จะลงทุนอะไรในไทยบ้าง ?

วันที่ 30 ก.ย. 2024 Ruth Porat ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุนบริษัท Alphabet และ Google ได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้าพบ และหารือร่วมกับ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถือเป็นการเข้าหารือกับรัฐบาลไทยติดต่อกันเป็นปีที่สองติดต่อกันเพื่อสานต่อภารกิจ Leave no Thai Behind ของ Google ประเทศไทย 

โดยครั้งนี้ Google ได้ประกาศแผนการลงทุนกว่า 3.6 หมื่นล้านบาทให้ทราบภายในวาระเยือนไทยครั้งนี้ด้วย Techsauce ขอสรุปแผนการลงทุนล่าสุดของ Google ในปี 2024 ไว้ดังนี้

สร้าง Data Center และ Cloud Region แห่งแรกในไทย

การลงทุนครั้งนี้เป็นการต่อยอดการลงทุนของ Google ตลอด 12 ปีที่ดำเนินการในประเทศไทย ย้อนกลับไปเมื่อปี 2022 ผลิตภัณฑ์และโครงการต่างๆ ของ Google สนับสนุนการจ้างงานในประเทศกว่า 250,000 ตำแหน่ง และสร้างผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ภาคธุรกิจไทยกว่า 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.38 แสนล้านบาท

โดย Google จะลงทุนสร้าง Data Center แห่งแรกในนิคมอุตสาหกรรม WHA จังหวัด ชลบุรี และ Cloud Region ในกรุงเทพฯ เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานคลาวด์ที่เพิ่มมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทั่วโลก โดย Data Center และ Cloud Region จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่ให้บริการ Google Cloud รวมรองรับการใช้งานนวัตกรรม AI และบริการต่างๆ ของ Google เช่น Google Search, Google Maps และ Google Workspaces

นอกจากนี้การมี Data Center ในไทยจะช่วยให้บริการด้านดิจิทัลมีความเชื่อถือยิ่งขึ้น รองรับการขยายขอบเขตบริการได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีความเร็วสูงขึ้น โดย Google ระบุว่า การลงทุนครั้งนี้จะช่วยสร้างงานกว่า 14,000 ตำแหน่งโดยเฉลี่ยต่อปี ตั้งแต่ปี 2025-2029 และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ไทยประมาณ 1.4 แสนล้านบาทแก่ GDP ภายในปี 2029

ลงทุนใรโครงการด้านความรู้เท่าทัน AI (AI Literacy)

อีกไม่นาน Google จะครบรอบ 13 ปีในประเทศไทย โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา Google ได้ฝึกอบรมคนไทยไปกว่า 3.6 ล้านคนทั้งนักเรียน นักการศึกษา ผู้ประกอบการ SME และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ 

และเพื่อเป็นการต่อยอด Google ได้วางแผน และสนับสนุนการลงทุนทักษะด้าน AI ในประเทศไทยผ่านองค์กรในประเทศ โดยตั้งเป้าส่งเสริมคนไทยจำนวน 150,000 คนในปี 2026 ผ่านโครงการดังนี้

พัฒนา LLM ให้เข้าใจบริบทภาษาไทย

Google จะสานต่อ Project SEALD (Southeast Asian Languages in One Network Data) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับ AI Singapore หน่วยงานด้านการวิจัย และนวัตกรรมระดับชาติของสิงคโปร์เพื่อให้ AI ครอบคลุม เข้าถึงได้ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

โดย Google จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ชุดข้อมูลภาษาไทยแบบโอเพนซอร์สเพื่อใช้ในการฝึกโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model : LLM) ซึ่งจะช่วยให้โมเดลภาษาเข้าใจบริบททางวัฒนธรรม และทรงประสิทธิภาพมากขึ้น

ผลักดันเศรษฐกิจให้มีความพร้อมด้าน AI

Google ได้จัดตั้งหลักสูตรการพัฒนาบุคคลากรที่มีความสามารถด้าน AI ผ่านโครงการต่างๆ ที่ได้ร่วมมือกับรัฐฯ และภาคอุตสาหกรรม รายละเอียดดังนี้

Samart Skills - หลักสูตรออนไลน์ที่ได้รับการรับรองของ google โดยให้การฝึกอบรมทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการ และเป็นแหล่งความรู้สำหรับนักเรียน และผู้ที่ต้องการเปลี่ยนสายอาชีะ

AI Essentials - หลักสูตรช่วยให้คนในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เรียนรู้ทักษะเกี่ยวกับ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

Gemini Academy - โครงการฝึกอบรมครูเกี่ยวกับทักษะด้าน AI ตลอดจนวิธีใช้ gemini และ AI อย่างปลอดภัย และรับผผิดชอบ โดย Google เปิดเผยว่า ผู้เรียนกว่า 96% เห็นด้วยว่า AI ช่วยสนับสนุนในด้านการสอน โดยในตอนนี้มีครูผ่านการฝึกอบรมด้านทักษะ AI แล้วมากกว่า 20,000 คน

ส่งเสริมด้านการเข้าถึง AI เพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะ

Google กำลังสำรวจเทคโนโลยี AI รูปแบบใหม่ๆ อย่างรับผิดชอบเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงให้กับผู้คน โดยในตอนนี้มีโซลูชัน Automated Retial Disease Assesment (ARDA) ที่ใช้ AI คัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอตาซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่อาจทำให้เกิดตาบอดถาวร

Google ระะบุว่า ตอนนี้ไทยมีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 4.5 ล้านราย ในจำนวนนี้ 1 ใน 3 มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตา แถมประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์ มีจักษุแพทย์ทั่วประเทศราว 1,500 คนและผู้เชี่ยวชาญด้านจอตาเพียง 250 คน ทำให้โปรเจ็กต์ ARDA จะเข้ามาช่วยวิเคราะห์ได้แบบเรียลไทม์ในความแม่นยำระดับเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านจอตา ซึ่งในตอนนี้มีคนไทยมากกว่า 50,000 คนได้รับการคัดกรองจาก ARDA แล้ว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...